Category: Aviation update

สัญญาณเตือน อุบัติเหตุและการล่มสลายขององค์กร

22 Oct 22 ความตกต่ำของวัฒนธรรมความปลอดภัยหรือ Safety Culture นั้นเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เพราะว่าปัจจัยในการบ่อนทำลายมาตรฐานการปฏิบัติงานนั้นมีมากกว่าวิธีการในการรักษามาตรฐาน หากองค์กรใดก็ตาม (ไม่จำเป็นต้องเป็นสายการบินเท่านั้น) เกิดภาวะ {เงียบ ไว้ ปลอดภัยกว่า} หมายความว่า เมื่อใดก็ตามที่การพูดถึงข้อบกพร่องในการทำงาน กลายเป็นผลเสียต่อตัวเองและหรือเพื่อนร่วมงาน พนักงานทุกคนจึงเลือกการนิ่งเสียดีกว่า หรือ เงียบไว้ก็คงไม่เป็นไรหรอก ประมาณว่าทุกคนเน้นที่เอาตัวเองรอดไปวันๆหนึ่ง อย่าได้ปริปากเพราะอาจทำให้เพื่อนเดือดร้อน หรือทำให้ตัวเองยุ่งยากกับชีวิตมากขึ้น สุดท้ายก็เลยเลือกที่จะ นิ่ง สงบเงียบ แม้ว่าจะเห็นข้อบกพร่องที่อาจทำให้เกิดอันตราย ก็เลือกที่จะอยู่เฉย กลัวซวยไปด้วยทำนองนั้น วิธีเอาตัวรอดหรือวัฒนธรรมแบบนี้นั้น สุดท้ายแล้วก็จะทำให้เกิดการบ่มเพาะโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงเพราะไม่มีใครเปิดเผยหรือรายงานเมื่อพบเห็นเหตุการณ์ที่ไม่ปกติหรือข้อบกพร่องที่เป็นภัย ตัวอย่างเช่น การที่นักบินนำเครื่องบินลงสนามแบบ hard landing เครื่องบินไม่พังก็จริง แต่ต้องบันทึกข้อมูลในสมุดปูมเดินทางเพื่อให้ช่างทำการตรวจสอบ หรือต้องทำการตรวจเช็คข้อมูลว่าเครื่องบินลงสนามโดยมีแรงกระแทกไม่เกินค่าที่กำหนดก่อนที่จะทำการบินได้ต่อไป หากนักบินไม่ลงข้อมูลไว้ แล้วมีนักบินชุดต่อไปมาบินเครื่องบิน เครื่องบินลำนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุในเวลาต่อมาได้ เช่น ถังน้ำมันรั่ว หรือระบบฐานล้อเก็บไม่ได้ เป็นต้น Dangerous Silence จึงเป็นสภาวะที่องค์กรต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้น โดยการส่งเสริมให้มีการรายงานสิ่งที่พบเห็นเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการป้องกันและพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานนั่นเอง แล้วรายงานยังไงจึงจะปลอดภัย เรื่องนี้จะไปโยงถึงการปลูกฝังวัฒนธรรมการรายงาน (reporting culture) โดยที่จะต้องยึดหลักการพิจารณาโดยไม่คาดโทษ เน้นไปที่การป้องกันเหตุไม่พึงประสงค์ในอนาคต โดยการส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจตรงกันเรื่อง Just culture ซึ่งทั้งฝ่ายบริหารและพนักงานจะต้องยึดมั่นในหลักการเดียวกันโดยมุ่งไปที่วิเคราห์ว่าสาเหตุของเรื่องที่เกิดนั้นมีเจตนาที่ดีเป็นที่ตั้ง เพื่อเป้าหมายสูงสุดในการพัฒนา safety culture นั่นเอง Dangerous Silence คือ สัญญาณเตือนถึงอุบัติเหตุที่กำลังจะเกิดขึ้น จนอาจทำให้เกิดการล่มสลายขององค์กร

อนาคตของเครื่องบินเร็วเหนือเสียง 5 เท่า

15 Oct 2022 Mach 5 Aircrafts อนาคตทางการบินกำลังมุ่งสู่การสร้างเครื่องบินที่บินได้เร็วเหนือเสียง เพื่อย่นระยะเวลาที่ต้องใช้ในการเดินทางให้สั้นลง เทคโนโลยีที่ต้องแลกมาด้วยเงินลงทุนมหาศาล และแน่นอนว่า ค่าตั๋วก็คงแพงในระดับหนึ่ง มาดูกันดีกว่าว่าจะเกิดเครื่องบินหน้าตาอย่างไรบ้าง (รายละเอียดภาษาอังกฤษกดตามลิ้งค์ที่แนบไว้ได้เลยนะครับ) #hypersonic เครื่องบินลำนี้บรรทุก 20 คน จะทำการบินจากเดิมใช้เวลาเดินทางเจ็ดชั่วโมงให้เหลือเพียง 90 นาทีเท่านั้น ทำความเร็ว 3800 ไมล์ต่อชั่วโมงและบินด้วยความเร็วมากกว่าความเร็วเสียงถึง 5 เท่า (ลอนดอนไปนิวยอร์คเคยบินกัน 7 ชั่วโมงก็จะเหลือเพียง 90 นาที) นาซ่า กำลังกระโดดเข้าร่วมวงในการวิจัยและสร้างเครื่องบินแห่งอนาคต เพื่อทำความเร็วเหนือเสียง https://www.freethink.com/technology/supersonic-flight เครื่องบินลำนี้หน้าตาคล้ายๆกับเครื่องบินคองคอร์ดเดิม แต่ที่เจ๋งกว่าคือ มันจะบินได้เร็วและไกลกว่าเดิมอย่างมาก รูปภาพเพื่อใช้แสดงหน้าตาของเครื่องบินในอนาคต

เหตุการณ์ที่อันตรายที่สุดในชีวิตการบิน

10Oct2022 เผอิญได้อ่านข่าวที่สายการบินแอร์ฟรานส์และแอร์บัสจะต้องขึ้นศาลจากเหตุการณ์เครื่องบินแอร์บัส A340 เที่ยวบิน AF447 ตกที่กลางทะเลระหว่างเดินทางจากริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิลไปกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี 2009 เที่ยวบินนี้ประสบกับพายุที่มีความรุนแรงกลางทะเลแอตแลนตกจนทำให้เสียการควบคุมและทุกคนบนเที่ยวบิน 228 คนเสียชีวิตทั้งหมด กรณีของแอร์ฟรานส์ทำให้นึกถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาและได้เขียนไว้ในหนังสือ A Pilot Book เล่มที่ 5 “20,000 hours” ผมขอเอาตอนนี้มาเขียนให้ผู้ติดตามได้อ่านกันครับ เหตุการณ์ที่อันตรายที่สุดในชีวิตการบิน กาฐมาณฑุอาจเป็นสนามบินที่บินลงยากที่สุด และมีอีกหลายสนามที่การบินลงสนามไม่ง่าย เช่น สนามบินคุนหมิง (อันเก่า) สนามบินฮ่องกง ไคตั๊ก (สนามบินนี้เลิกใช้ไปแล้ว)  การที่มันเป็นสนามบินที่นักบินทำการลงสนามยาก ไม่ได้หมายความมันจะเป็นสนามบินที่อันตรายหรือนักบินเคยมีประสบการณ์ที่เลวร้ายกับสนามบินเหล่านั้น สนามบินพาโร ของทิเบต ขึ้นชื่อว่าเป็นสนามบินที่ทำการบินลงสนามยากที่สุดในโลก แต่ก็ไม่ใช่ว่า พาโร คือ สนามบินอันตราย การอนุญาตให้เครื่องบินทำการขึ้นลงสนามบินใดๆ จะต้องมีการตรวจสอบ คน เครื่องบิน และสนามบิน หากมีข้อจำกัดด้านใดๆ ก็จะมีเรื่องของการฝึกอบรม เรื่องของขั้นตอนกำกับ เรื่องของวิธีการปฏิบัติ ฯลฯ เมื่อผ่านขั้นตอนต่างๆทั้งหมดแล้ว จึงจะอนุญาตให้ เครื่องบินลำนั้น สายการบิน (คน) ที่ผ่านการตรวจสอบ ทำการบินไปที่สนามบินนั้นๆได้ นี่คือ หลักการที่อยู่ในการกำกับดูแลด้วยระบบบริหารความปลอดภัย หรือ SMS  เพราะฉะนั้น หากดำเนินกิจกรรมผ่านระบบ SMS ได้ดีแล้ว การตรวจสอบของทางการถูกต้องเข้มงวดครบถ้วนดีแล้ว การที่ทางการอนุญาตให้ทำการบินได้ หมายความว่า สนามบินนั้น ปลอดภัย (ด้วยวิธีการหรือข้อกำหนดการปฏิบัติการที่เป็นเงื่อนไขในการบิน) สนามบินอื่นๆที่เป็นสนามบินธรรมดาๆไม่ได้มีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขทางการบินก็มีอันตรายไม่แพ้กับสนามบินยากๆ คือ […]

เครื่องบินชื่อ บางกอก หางกระแทกพื้น

6 Oct 2022 ไม่ใช่เครื่องบินของบางกอกแอร์เวยส์ แต่เป็นเครื่องบินโบอิ้ง 787 ของสายการบินเอธิโอเปียนแอร์ไลน์ โบอิ้ง 787-9 ของสายการบินเอธิโอเปียนแอร์ไลน์ (Ethiopian Airlines) ทะเบียน ET-AYC เครื่องบินลำนี้มีชื่อเล่นว่า “Bangkok” หรือ บางกอก เที่ยวบิน ET877 เดินทางจากเมือง Lilongwi ประเทศมาลาวี (Malawi) ไปเมือง Lubumbashi ประเทศคองโก ส่วนหางกระแทกถูไปกับพื้นอย่างแรงขณะลงสนาม วันที่เกิดเหตุไม่มีข้อมูลการรายงานสภาพอากาศอย่างเป็นทางการ (METAR) แต่จากข้อมูลที่มีการบันทึกไว้ถือว่าสภาพอากาศมีทัศนวิสัยดีและมีความเร็วลมไม่มากนักที่ 12 knots ไม่มีลมกระโชก (gust) ไม่มีฝนตก เครื่องบินลงทางด้านรันเวย์ 07 โดยมีลมเข้าทางทางทิศตะวันออก (ด้านขวาของเครื่องบิน) เมื่อพิจารณาจากสภาพอากาศแล้วถือว่าไม่น่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ tail strike มีโอกาสเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง A Pilot Club ให้ความเห็นตามนี้ครับ ในขณะลงสนามหรือ landing การเกิดหางสัมผัสพื้นหรือกระแทกพื้นนั้นเกิดจาก มุมปะทะของเครื่องบินนั้นมากเกินกว่าปกติ โดยส่วนใหญ่แล้วหากล้อของเครื่องบินสัมผัสพื้นอยู่ มุมเงยของเครื่องบินที่เรียกว่า pitch attitude นั้นจะต้องเกินกว่า 12-13 องศา (แล้วแต่แบบเครื่องบิน) บริเวณหางของเครื่องบินจึงจะลงโดนพื้น (maximum pitch attitude on ground) แต่ถ้าหากเครื่องบินยังลอยอยู่ในอากาศ การที่หางจะสัมผัสพื้นโดยที่ล้อยังไม่แตะพื้นก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ (ยากกว่า) แต่ก็เกิดขึ้นได้เมื่อเครื่องบินหมดความเร็ว (ไม่เกาะอากาศ) และหากพยายามเปิดมุมปะทะมากขึ้นโดยไม่เติมกำลังของเครื่องยนต์เข้าไปก็จะทำให้เครื่องบินร่วงลงสู่พื้นโดยที่หางแตะพื้นก่อนส่วนอื่น ซึ่งท่าทางในลักษณะนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น high […]

การฝึกทบทวนของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

วิดีโอจาก Sam Chui อันนี้เป็นของสายการบิน Turkish Airlines เขาพาไปชมการฝึกทบทวนประจำปีของพนักงานต้อนรับ ซึ่งผมมองว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจในการจะเป็นแอร์โฮสเตสในอนาคต ดูไว้จะทำให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของการเป็น cabin crew เรื่องการบริการและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารที่เดินทางนั้นเป็นเรื่องรอง เรื่องหลักคือการช่วยเหลือผู้โดยสารให้รอดชีวิตเมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆเกิดขึ้น ลูกเรือทุกคนต้องจัดการกับปัญหานั้นให้ทุเลาลงได้ในทันที ไปดูกันครับ

0
0