อยากเป็นนักบินต้องทำอย่างไร

บทความจากหนังสือ A Pilot Book สั่งซื้อหนังสือ m.me/apilotbook 
หรือ Shopee

To become a pilot อยากเป็นนักบินต้องทำอย่างไร

ปัจจุบันอาชีพนักบินเปิดกว้างมากขึ้น สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัย หรือคณะที่ไม่ได้มีหลักสูตรการบิน สามารถเป็นนักบินพาณิชย์ได้ โดยการสมัครเป็นนักบินฝึกหัดกับสายการบินต่าง ๆ ที่จะมีการประกาศรับสมัครนักบิน อยู่เรื่อย ๆ เราเรียกการรับสมัครนักบินในกลุ่มนี้ว่า “Student Pilot” กลุ่ม Student Pilot นั้น หากผ่านการคัดเลือก บริษัทก็จะส่งตัวไปเข้ารับการฝึกเพื่อเป็นนักบินกับโรงเรียนการบินต่างๆ ที่มีข้อตกลงไว้กับบริษัท การฝึกก็จะเป็นไปตามลำดับขั้นตอนเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรีหลังจากนั้นจึงจะบรรจุเข้าเป็นพนักงานของสายการบินและเข้ารับการฝึกตามมาตรฐานของแต่ละสายการบินต่อไป ส่วนข้อกำหนดในการรับเข้าทำงานนั้นก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละสายการบิน รวมทั้งข้อผูกมัดหลังจากฝึกบินเสร็จแล้วก็แตกต่างกันไป เช่น หากฝึกเสร็จแล้ว ต้องทำการบินกับบริษัทฯ ไม่น้อยกว่า กี่ปี หรือหากลาออกก่อนกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ในสัญญาผูกพันจะต้องชดใช้ค่าเล่าเรียนที่บริษัทฯออกให้ก่อนเป็นเงินเท่าไหร่ เป็นต้น หรือบางสายการบินอาจใช้วิธีหักเงินเดือนเพื่อคืนค่าเล่าเรียนที่บริษัทออกให้ 

ปัจจุบันมีหลายมหาวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรต่าง ๆ เกี่ยวกับนักบินพาณิชย์พร้อมกับปริญญาบัตรวิชาชีพไม่ว่าจะเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือ คณะวิทยาศาสตร์ โดยนักศึกษาที่จบหลักสูตรนักบินพาณิชย์จะต้องผ่านการฝึกบินโดยโรงเรียนการบินที่ทำพันธสัญญาร่วมกับมหาวิทยาลัย ซึ่งโรงเรียนการบินเหล่านั้นก็ต้องได้รับรองจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยด้วย ดูรายชื่อโรงเรียนการบินที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานการการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้ที่นี่

https://www.caat.or.th/th/archives/24859

กลุ่มนักศึกษาที่จบหลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรีเหล่านี้ สามารถสมัครเข้าคัดเลือกเพื่อเป็นนักบินกับสายการบินได้ เราเรียกนักบินกลุ่มนี้เรียกว่า “Qualified Pilot” 

Qualified pilot หมายถึงคนที่มีประสบการณ์การบินมาแล้วระดับหนึ่ง มีใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี จากการเรียนกับมหาวิทยาลัยหรือจ่ายเงินเรียนกับโรงเรียนการบินเองค่อย ๆ เก็บสะสมชั่วโมงบินและการสอบวัดศักย์ต่าง ๆ ครบถ้วนจนได้ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี หรือ CPL:Commercial Pilot License 

ในแต่ละปีสายการบินต่าง ๆ จะประกาศรับนักบินที่ผ่านการสะสมชั่วโมงและผ่านการฝึกจนได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรีแล้วแบบนี้ประมาณปีละหนึ่งครั้ง (ระยะหลัง ๆ ประกาศรับมากกว่า หนึ่งครั้งต่อปี) มีศัพท์เฉพาะเพื่อความเข้าใจอีกประเภทเกี่ยวกับการสมัครนักบินประเภท qualified pilot คือ “type rating” และ “non type rating” การรับสมัครนักบินแบบนี้ เป็นลักษณะของการย้ายสายการบิน กล่าวคือ กลุ่มนักบินที่มีประสบการณ์กับสายการบินมาก่อนแล้ว

on type rating หมายความว่า มีประสบการณ์การบินของเครื่องบินแบบที่สายการบินต้องการนำไปใช้งาน หรือมีการฝึกให้ได้ศักย์การบินเฉพาะแบบมาแล้ว ซึ่งกรณีหลังนี้จะต้องเข้ารับการฝึกหลังในเครื่องฝึกบินจำลองของเครื่องบินแบบนั้น ๆ ให้ครบหลักสูตรจึงจะได้รับการรับรอง Type Rating

https://www.youtube.com/c/SoponPhikanesuan

มาเรีย โอซาว่า

Demo Slot Here

อย่างไรก็ตาม Qualify pilot เมื่อเข้าบริษัท ก็ต้องฝึกตามมาตรฐานการฝึกบินของสายการบินใหม่อีกครั้ง ไม่ใช่ว่าเข้าไปแล้วบินได้เลย ตัวอย่างเช่น นักบินจากสายการบิน A บินเครื่องบินแบบ Airbus A320 อยู่แล้ว แต่จะไปสมัครสายการบิน B ซึ่งใช้เครื่องบินแบบ A320 เหมือนกัน ไม่ใช่ว่า ย้ายบริษัทแล้วจะทำการบินได้ในทันที ต้องไปผ่านการฝึกอบรมจากสายการบิน B อีกครั้ง แต่อาจจะใช้เวลาสั้นกว่าคนที่ไม่เคยบินเครื่องบิน A320 มาก่อน เป็นต้น

แต่ถ้านักบินจากสายการบิน A ที่บินเครื่องบิน B747 แล้วจะย้ายไปบินกับสายการบิน B ซึ่งมีแต่เครื่องบินแบบ A320 ก็สามารถทำได้ โดยผ่านการฝึกบินกับสายการบิน B ใหม่อีกครั้งซึ่งอาจใช้เวลาหรือขั้นตอนการฝึกยาวหน่อย กรณีแบบนี้เรียก non type rating 

ทั้ง type และ non type จะมีข้อกำหนดเรื่องประสบการณ์การบินกับเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่อื่นๆเพิ่มขึ้น เช่น ชั่วโมงบินขั้นต่ำ 3000 หรือ 5000 ชม. มีใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก (ATPL: Airline Transport Pilot License)

ใบสำคัญแพทย์ ด้านเวชศาสตร์การบิน ระดับหนึ่ง (Class one Medical Document) ใบรับรองความสามารถทางภาษาอังกฤษ ระดับ 4 (English language proficiency level 4 or above) และ อื่น ๆ แล้วแต่ทางสายการบินจะกำหนด

ประมาณ เกือบ ๆ 10 ปีมานี้ มีการย้ายบริษัทของนักบินสูงมาก โดยเฉพาะช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมาสายการบินแห่งชาติส่งออกนักบิน ทั้ง type rating และ non type rating ไปบินกับสายการบินแถวตะวันออกกลาง ยิ่งในระยะหลัง ๆ นี้ก็มีออกจากสายการบินหนึ่ง ไปสายการบินหนึ่ง ภายในประเทศไทยเอง เรื่องแบบนี้ จะยังคงเกิดขึ้นอยู่อีกเรื่อย ๆ เพราะการผลิตนักบินยังไม่เพียงพอกับความต้องการของสายการบิน ตลาดต่างประเทศรอบ ๆ บ้านเรา ทั้งจีน เกาหลี ไต้หวัน เวียดนาม พม่า อินโดนีเซีย ฯลฯ

ยังต้องการนักบินไทยฝีมือดี ๆ มากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ 

แม้กระทั่งในอเมริกาเองก็ขาดแคลนนักบินเช่นกัน ประมาณการความต้องการนักบินจากการสำรวจประเมินผลโดยบริษัท โบอิ้ง คาดว่า ในช่วงปี 2014-2033 ทั่วโลกต้องการนักบินจำนวนทั้งสิ้นถึง 533,000 คน และในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก ต้องการนักบินถึง 216,000 คน หรือคิดเป็น 41% ของทั้งโลก

ถ้าประเทศไทยยังคงเดินหน้าในธุรกิจการบินต่อไปได้โดยไม่สะดุด เชื่อว่าส่วนแบ่งการตลาดทางธุรกิจด้านนี้คงไม่น้อย เพราะไทยถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางด้านการบิน ด้วยตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะแก่การเป็นศูนย์กลางด้านการบินในภูมิภาค แต่การพัฒนายังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร 

(ปัจจุบันหลังจากที่ กรมการบินพลเรือนถูกยุบไปและตั้งสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยขึ้นมาทำหน้าที่จนกระทั่งสามารถดำเนินการกำกับดูแลมาตรฐานของสายการบินที่จดทะเบียนในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี จนกระทั่งสามารถปลดธงแดงออกจากหน้าชื่อของประเทศไทยได้แล้วนั้น การพัฒนาของธุรกิจการบินของไทยน่าจะมีโอกาสที่จะเติบโตได้มากขึ้นและเป็นไปอย่างรวดเร็ว)

หนังสือ A Pilot Book ทั้ง 5 เล่ม ราคา 1999 บาท ค่าส่ง 70 บาท
สั่งทาง Shopee
มีบริการเก็บเงินปลายทาง
ราคาหนังสือแต่ละเล่ม (รวมค่าส่งแล้ว)
A Pilot เล่มแรก ปกดำ ราคา 479 ฿
A Pilot Part II ราคา 349 ฿
A Pilot Part III ราคา 379 ฿
Aviation A-Z ราคา 429 ฿
20000 Hours 549 ฿

กลับหน้าแรก

ติดตามเฟสบุ๊ค A Pilot Club ที่นี่ www.facebook.com/apilotbook

Comments are closed
0
0