Tag: 737max

โบอิ้ง 737 max

ไม่ใช่แค่สายการบินที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19บริษัทผลิตเครื่องบินอย่างโบอิ้งเองก็โดนกระหน่ำซ้ำเติมหนักหน่วงไม่แพ้กัน เครื่องบิน B737 max มียอดสั่งซื้อกว่า 5000 ลำในช่วงที่เปิดตัวออกสู่ตลาดเมื่อปี 2018และหลังจากที่ออกทำการบินและมีเครื่องบินตกไปสองลำในเวลาไล่เลี่ยกัน ทำให้ B737 max ถูก ground ทั่วโลกจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาหนึ่งปีพอดิบพอดี แน่นอนว่าเมื่อไม่มีความเชื่อมั่น การสั่งซื้อจึงไม่เกิดขึ้น แต่ทุกสายการบินก็ยังมีการยื้อเพื่อรอดูท่าทีว่าจะออกมาอย่างไร B737 max จะขึ้นบินอีกครั้งได้หรือไม่ แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้สถานการณ์ของสายการบินทั่วโลกเริ่มสั่นคลอนธุรกิจการบินต้องทำการปรับกลยุทธและแนวโน้มที่จะมีการล้มหายตายจากไปของหลายสายการบินน่าจะเกิดขึ้นในปีนี้ โบอิ้งเองจึงได้รับผลกระทบเพิ่มเข้าไปอีกล่าสุดเครื่องบินโบอิ้ง 737 max ถูกบอกเลิกการสั่งซื้อเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์เพียงเดือนเดียวถึงกว่าครึ่งร้อย จนถึงปัจจุบัน B737 max ถูกระงับการบินไปหนึ่งปีแล้ว และก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้กลับมาบินขึ้นฟ้าอีกครั้งเมื่อไหร่ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม โบอิ้งก็มีความพยายามที่จะจัดการกับปัญหานี้โดยเร็ว และแถลงข่าวว่าจะเริ่มสายการผลิตเครื่องบินโบอิ้ง 737 max อีกครั้งในเดือนพฤษภาคม ที่จะถึงนี้ Table 1: Boeing 737 MAX cancellations February 2020 (Source: AeroAnalysis)

โบอิ้งยอมรับเองว่า คงอีกนานกว่าจะได้ขึ้นบินอีก

โบอิ้งยอมรับว่า แม้ว่า B737 max จะได้รับอนุญาตให้ทำการบินใหม่ได้ (ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้นะครับ) โบอิ้งก็อาจต้องใช้เวลาอีกหลายไตรมาสกว่าที่จะนำเครื่องบิน B737 max ขึ้นบินได้ใหม่ วีดีโอจาก The Fortune อ่านข่าวจาก the fortune โบอิ้งตรวจพบปัญหาเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ของเครื่องบิน B737 max เพิ่มเติมอีกเมื่ออาทิตย์ที่แล้วและก็คงจะดำเนินการแก้ไขไปในคราวเดียว ปัจจุบันมีเครื่องบินโบอิ้ง 737max กว่า 700 ลำที่จอดทิ้งอยู่ตามลานจอดเครื่องบินในสนามบินทั่วโลก การถูกห้ามขึ้นบินของเครื่องบิน B737max สร้างผลกระทบต่อสายการบินไม่น้อยไปกว่าบริษัทโบอิ้งเอง เครื่องบินรุ่นที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท กลับกลายเป็นเครื่องบินที่สร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของบริษัทโบอิ้งอย่างที่ไม่สามารถประเมินมูลค่าได้ รอวันที่ B737max จะสามารถฝ่าด่านการตรวจสอบเพื่อให้บินขึ้นฟ้าได้อีกครั้งครับผมเชื่อว่าหลังจากที่ปรับปรุง (อย่างจริงจังและจริงใจ) และผ่านการตรวจสอบที่เข้มข้น (และละเอียดยิบ) แล้วมันจะเป็นเครื่องบินที่ดีที่สุดที่เราจะใช้เดินทางบนอากาศได้อย่างปลอดภัย THE STANDARD ถอดออกมาเป็นบทความอย่างน่าสนใจ อ่านรายละเอียดดูครับ เบรคจากเรื่อง 737max ไปดูเครื่องบินรุ่นใหม่ที่แอร์บัสประกาศพัฒนาขึ้นในอนาคตกัน Maveric เป็น new innovation ของแอร์บัสที่เพิ่งประกาศและเปิดตัวที่สิงคโปร์แอร์โชว์วันนี้ เรามาดู interior ที่แอร์บัสโฆษณาเจ้า Maveric กัน อ่านเรื่อง Maveric จาก Forbeshttps://www.forbes.com/sites/marisagarcia/2020/02/11/what-it-will-be-like-flying-on-airbus-blended-wing-maveric-aircraft/#1a712ca66526 เจ้า Airbus Maveric นี้มีชื่อเรียกรูปร่างที่แปลกตาของมันว่า blended wing ซึ่งหมายความว่า ลำตัวกับปีกนั้นผสมผสานกันแบบแยกไม่ออก ดูวีดีโอนี้ครับคอนเซ็ปต์ blended wing ของ KLM

เอาใจช่วยโบอิ้ง จริง ๆ นะ

เอาใจช่วยโบอิ้ง จริง ๆ นะครับ สื่อของอเมริกันเค้าก็ตามขุดคุ้ยกันสุด ๆ เลย ช่วงหลังมานี้ก็ยังคงมีข่าวออกมาเกี่ยวกับข้อความในอดีตที่มีการสื่อสารภายในบริษัท โบอิ้ง ในระหว่างที่มีการผลักดันให้เครื่องบิน B737max ได้รับการ certified โดยเนื้อหาเป็นลักษณะของการกดดันให้ regulator (หมายถึง FAA) อนุมัติเกี่ยวกับการฝึกนักบินของ B737max โดยไม่ต้องเข้าฝึกใน Simulator ข่าวระบุว่า email เป็นร้อยๆ email ระหว่าง ช่างกับวิศวกรของโบอิ้ง ลองฟังครับ หมายเหตุ เครื่องบินรุ่นใหม่ก่อนที่จะสามารถนำออกมารับผู้โดยสารได้ จะต้องมีมาตรการการตรวจสอบหลายอย่างก่อนที่จะอนุมัติให้บินรับส่งผู้โดยสารได้ ยกตัวอย่างเช่น B777x ที่เพิ่งขึ้นบินทดสอบเป็นครั้งแรกเมื่อไม่กี่วันก่อนนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการรับรองความสมควรเดินอากาศของเครื่องบิน (Airworthiness) ดูโพสต์ B777xกระบวนการรับรองหลักสูตรในการฝึกนักบินใหม่ ก็เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการรับรองความปลอดภัยของเครื่องบินด้วยเช่นกัน Boeing employees boasted about bullying regulators to approve the now-grounded 737 Max without requiring pilots to undergo simulator training while others raised safety concerns and complained about lax standards, according to a trove of internal documents the […]

737 Max MCAS (ตอน Stabilizer)

ก่อนที่จะทำความเข้าใจคำว่า MCAS เรามาดูคำว่า Stabilizer กันก่อน Stabilizer เวลาที่เราพูดถึงคำนี้โดด ๆ มักจะหมายถึงตัว Horizontal Stabilizer ซึ่งคือบริเวณส่วนหางของเครื่องบินที่มีลักษณะเหมือนปีกแต่มีขนาดเล็กกว่า วางตัวในแนวนอนสำหรับส่วนที่เหมือนปีกครึ่งเดียวและวางในแนวตั้งนั้นเรียกว่า “Vertical Stabilizer” ในบทความนี้ผมจะพูดถึง horizontal stabilizer โดยเรียกสั้น ๆ ว่า “stabilizer” นะครับ Stabilizer นั้น ตัวมันมีหน้าที่ทำให้เกิดสมดุลย์ทางอากาศพลศาสตร์ของเครื่องบินในระหว่างเครื่องบินบินอยู่บนอากาศ การขยับของ stabilizer จะเป็นการปรับกระแสอากาศหรือแรงที่เกิดขึ้นต่อเครื่องบิน จะเรียกว่าทำให้เกิดการปรับมุมก้มเงยของเครื่องบิน ให้หัวเชิดหรือให้ก้มลงต่ำก็ได้ เป็นตัวควบคุม pitching moment โดยที่จุดหมุนของเครื่องบินคือบริเวณลำตัวส่วนที่ยึดติดกับปีกคือบริเวณที่น้ำหนักของเครื่องบินตกอยู่ตรงนั้น เราเรียกมันว่า Center of Gravity จะเห็นว่าในรูปด้านล่างนี้ บริเวณที่เป็น stabilizer นั้นเค้าเขียนว่า tail lift คือมันเป็น lift ที่กดลงด้านล่าง (เพื่องัดให้หัวเครื่องบินเชิดขึ้นมา) Stabilizer นั้นสามารขยับปรับมุมขึ้นลงได้หลายองศา ถ้าดูจากรูป figure 11จะเห็นว่า มีการเขียนว่า APL NOSE DOWN และ APL NOSE UP หมายถึงAirplane Nose Down/UP คือการปรับองศาของ stabilizer ไปทางนั้นจะทำให้หัวของเครื่องบิน ก้มต่ำลงหรือเชิดหัวขึ้นแล้วแต่ทิศทางที่ปรับ ส่วนวิธีการปรับมุมของ stabilizer นั้นมี 3 วิธีคือ-ปรับโดยอัตโนมัติ เมื่อเครื่องบินอยู่ในโหมดการบินอัตโนมัติ […]

0
0