The Road in The Sky

เรื่องไม่ลับอาชีพนักบินกับสาระเบาๆเพื่อนักเดินทาง

สภาพอากาศกับการบิน

ธรรมชาติที่เป็นภัยอันตรายสำหรับการบิน (Natural Hazard) อย่างแรกที่ทุกคนนึกถึงน่าจะหนีไม่พ้น เมฆฝน ฟ้าคะนองที่ทำให้สภาพอากาศมีความแปรปรวน ความจริง ลมและฝน ต้องแยกเป็นอันตรายคนละประเภท แต่ตอนที่มันอยู่ร่วมกันความอันตรายเพิ่มขึ้นเนื่องจากความรุนแรงจากการปลดปล่อยพลังงานของเมฆ แต่ก็ไม่ใช่เมฆทุกก้อนจะต้องเป็นอันตรายเสมอไปครับ เรื่องเมฆนี้คงเล่ายาวเป็นอีกตอนหนึ่งได้ เอาเป็นว่า พายุฝนเป็น Hazard อันดับต้นๆของการบิน โดยเฉพาะเมฆ Thunderstorms ที่เป็น Microburst  พายุทราย หรือหมอกที่ปกคลุมหนาๆก็ถือเป็น Hazard หิมะและน้ำแข็งที่เกาะตามพื้น หรือที่เครื่องบินโดยเฉพาะบริเวณผิวปีกด้านบนเป็นอันตรายต่อสมรรถนะของเครื่องบิน แต่มีความเสี่ยงหรือ risk คนละแบบ ภูเขาไฟระเบิดก็มีอันครายจากเถ้าถ่านของภูเขาไฟที่อาจทำให้เครื่องยนต์ดับได้ หรือ สึนามิและแผ่นดินไหว เป็น hazard ทั้งนั้น แต่ผลกระทบอาจมีน้อยกว่า เพราะจะทำความเสียหายเฉพาะที่สนามบินและเครื่องบินที่อยู่ที่พื้น ภัยทางธรรมชาติเหล่านี้เป็นสิ่งที่ป้องกันให้ไม่เกิดขึ้นไม่ได้ แต่หลีกเลี่ยงได้ในบางกรณี ยังมีอันตรายจากธรรมชาติแต่ไม่ใช่ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งที่ ถือเป็นภัยอันดับต้นๆต่อการปฏิบัติการบิน และเป็น hazard ที่ป้องกันไม่ได้ ทำได้อย่างมากแค่ควบคุมและทำได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น (แต่ก็ทำได้ยากหรือไม่เห็นผลอย่างเป็นจริงเป็นจัง) นก ถือ เป็น hazard ตัวสำคัญที่สามารถทำให้เกิดความสูญเสียตั้งแต่น้อยมาก คือ เสียว ไปจนถึงทำให้เครื่องบินตก หรือ เสียหายบินต่อไม่ได้ สภาพทางวิ่ง (runway condition) แบบไหนที่ยากลำบากที่สุดในการลงสนาม คำตอบเป็นเรื่องยากมาก ๆ ที่จะระบุ เอาเป็นว่า ผมพูดกว้าง ๆ คร่าว ๆ เพื่อไม่ให้ผดส.ตกใจ และหวาดระแวงมากเกินไป เพราะเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของนักบินที่จะระแวดระวังเป็นพิเศษในแต่ละกรณีของการร่อนลงสู่สนาม ก่อนอื่นต้องอ่านบทนำเพื่อความเข้าใจตรงกันก่อนครับว่า การนำเครื่องบินลงสู่สนาม แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก […]

โบอิ้งยอมรับเองว่า คงอีกนานกว่าจะได้ขึ้นบินอีก

โบอิ้งยอมรับว่า แม้ว่า B737 max จะได้รับอนุญาตให้ทำการบินใหม่ได้ (ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้นะครับ) โบอิ้งก็อาจต้องใช้เวลาอีกหลายไตรมาสกว่าที่จะนำเครื่องบิน B737 max ขึ้นบินได้ใหม่ วีดีโอจาก The Fortune อ่านข่าวจาก the fortune โบอิ้งตรวจพบปัญหาเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ของเครื่องบิน B737 max เพิ่มเติมอีกเมื่ออาทิตย์ที่แล้วและก็คงจะดำเนินการแก้ไขไปในคราวเดียว ปัจจุบันมีเครื่องบินโบอิ้ง 737max กว่า 700 ลำที่จอดทิ้งอยู่ตามลานจอดเครื่องบินในสนามบินทั่วโลก การถูกห้ามขึ้นบินของเครื่องบิน B737max สร้างผลกระทบต่อสายการบินไม่น้อยไปกว่าบริษัทโบอิ้งเอง เครื่องบินรุ่นที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท กลับกลายเป็นเครื่องบินที่สร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของบริษัทโบอิ้งอย่างที่ไม่สามารถประเมินมูลค่าได้ รอวันที่ B737max จะสามารถฝ่าด่านการตรวจสอบเพื่อให้บินขึ้นฟ้าได้อีกครั้งครับผมเชื่อว่าหลังจากที่ปรับปรุง (อย่างจริงจังและจริงใจ) และผ่านการตรวจสอบที่เข้มข้น (และละเอียดยิบ) แล้วมันจะเป็นเครื่องบินที่ดีที่สุดที่เราจะใช้เดินทางบนอากาศได้อย่างปลอดภัย THE STANDARD ถอดออกมาเป็นบทความอย่างน่าสนใจ อ่านรายละเอียดดูครับ เบรคจากเรื่อง 737max ไปดูเครื่องบินรุ่นใหม่ที่แอร์บัสประกาศพัฒนาขึ้นในอนาคตกัน Maveric เป็น new innovation ของแอร์บัสที่เพิ่งประกาศและเปิดตัวที่สิงคโปร์แอร์โชว์วันนี้ เรามาดู interior ที่แอร์บัสโฆษณาเจ้า Maveric กัน อ่านเรื่อง Maveric จาก Forbeshttps://www.forbes.com/sites/marisagarcia/2020/02/11/what-it-will-be-like-flying-on-airbus-blended-wing-maveric-aircraft/#1a712ca66526 เจ้า Airbus Maveric นี้มีชื่อเรียกรูปร่างที่แปลกตาของมันว่า blended wing ซึ่งหมายความว่า ลำตัวกับปีกนั้นผสมผสานกันแบบแยกไม่ออก ดูวีดีโอนี้ครับคอนเซ็ปต์ blended wing ของ KLM

ลืมเรื่องหน้ากากอนามัยกับถุงมือไปได้เลย

ลืมเรื่องหน้ากากอนามัยกับถุงมือไปได้เลย เพราะมันไม่ได้ช่วยป้องกันเราจากการติดเชื้อโคโรนาไวรัสบนเครื่องบิน หน้ากากอนามัยไม่ได้ช่วยป้องกันการติดเชื้ออย่างที่หลายคนเข้าใจ หน้ากากอนามัยมันใช้ป้องกันเชื้อได้จริงๆแค่ตอนที่มีคนมาไอใส่หน้าเราเท่านั้นและถ้ามีคนไอหรือจามใส่หน้าเรา เชื้อโรคมันก็เข้าทางตาได้อยู่ดีครับ จริงๆแล้วหน้ากากอนามัยนั้นมันออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อ คนที่ป่วยนะครับควรจะต้องใส่หน้ากากอนามัย ถ้าอย่างนั้นแล้ว อากาศบนเครื่องบิน จะทำให้ติดเชื้อได้ง่ายไหม? ไวรัสลอยมากับอากาศไง “เรื่องนี้เป็นการเข้าใจที่ผิด เราคิดกันไปเองว่ามันจะเป็นอย่างนั้นระบบปรับอากาศบนเครื่องบินนั้นแตกต่างจากระบบปรับอากาศตามบ้านหรือตามออฟฟิศมากครับ ระบบอากาศภายในเครื่องบินนั้นมีทั้งการอัดอากาศและการขยายตัวของอากาศผ่านระบบ pressurization system ก่อนจะเข้าสู่ระบบปรับอุณหภูมิของอากาศ และมันมีระบบกรองอากาศที่ช่วยยับยั้งเชื้อโรคเป็นมาตรฐานอยู่บนเครื่องบินอยู่แล้ว ระบบการกรองนั้นจะช่วยกรองทั้งฝุ่นทั้งเชื้อโรคที่เชื่อว่าสามารถกรองได้ถึง 99.97 %เพราะฉะนั้น โอกาสติดเชื้อโรคที่ลอยมาจากระบบปรับอากาศบนเครื่องบินจึงเป็นไปได้น้อยมากหรือแทบไม่มีเลยครับ” “การไอ จาม หรือได้รับสัมผัสโดยตรงของสารคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้มากกว่า” ถ้าอย่างนั้นแล้วที่นั่งหรือเก้าอี้นั่ง ที่พักแขน พนักเก้าอี้ หรือถาดรองอาหาร อุปกรณ์ทั้งหลายนี้มีโอกาสไหมที่จะมีเชื้อโรคฝังหรือติดอยู่ ??? พอเราไปนั่งหรือสัมผัสก็ทำให้ติดเชื้อ เชื้อโรคมีชีวิตอยู่บนเก้าอี้ได้ไม่นานครับ ไวรัสหรือพวกเชื้อโรคไม่ชอบอยู่บนสิ่งไม่มีชีวิตหรือพื้นที่แห้ง การทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆเหล่านี้ตามปกติก็เพียงพอแล้ว แต่ในช่วงนี้เห็นแต่ละสายการบินจะมีการทำความสะอาดเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษอีกด้วยก็ถือเป็นสิ่งที่ดี ในทางปฏิบัติหากในเที่ยวบินใดมีการสังเกตเห็นหรือมีโอกาสรับผู้โดยสารที่มีการไอหรือจามการทำความสะอาดเป็นพิเศษรอบๆบริเวณนั้นก็ถือว่าเป็นมาตรการที่เพียงพอในการควบคุมเชื้อโรคแล้ว การจับมือกันติดเชื้อโรคง่ายกว่าเสียอีกนะครับ งั้นตกลงต้องทำยังไงล่ะถึงจะทำให้เราเดินทางบนเครื่องบินได้อย่างปลอดภัย ?? อย่างแรกเลยคือ ไม่ต้องไม่ล้วงหรือสัมผัสอะไรที่ไม่จำเป็น อันนี้ทำให้เราลดโอกาสที่จะสัมผัสโดนเชื้อโรคโดยตรง แม้ว่ามันจะมีโอกาสน้อยมากก็ตาม ล้างมือบ่อยๆ บนเครื่องบินอาจจะไม่สะดวกนักที่จะล้างบ่อยๆ การเช็ดมือด้วยทิชชู่เปียกก็อาจช่วยได้บ้าง แต่ไม่ดีเท่า ผมคิดว่าไม่ถึงกับต้องใส่ถุงมือยางหรอกนะครับ เพราะฉะนั้น ประเด็นทีสำคัญมากๆก็คือ “อย่าเอามือที่ไม่สะอาดหรือยังไม่ได้ล้างมือไปสัมผัสใบหน้า ปากหรือจมูก” การใส่หน้ากากอนามัยเป็นแค่การป้องกันการโดนละอองของสารคัดหลั่งที่พุ่งมาหาเราโดยตรงเท่านั้น และถ้าจะใส่ต้องใส่ให้ถูกต้อง อย่ากลับด้าน และดึงให้ลงมาคลุมที่ใต้คางด้วยครับผมเห็นสายการบินหนึ่งลงรูปโฆษณาแต่ให้นางแบบใส่หน้ากากไม่ถูกต้อง ในชีวิตประจำวันก็ขอให้ ล้างมือบ่อยๆ หมั่นตรวจวัดอุณหภูมิของร่างกาย ถ้าอุณหภูมิสูง เรามีโอกาสติดเชื้อก็ควรไปรพ.ทันที หลีกเลี่ยงพื้นที่ชุมชนหากเป็นหวัดต้องใส่หน้ากากป้องกันการแพร่เชื้อให้ผู้อื่นอย่าจับใบหน้า ปากและจมูกด้วยมือที่ไม่สะอาด การล้างมือนั้นเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดนะครับ อันนี้ขอให้ระลึกไว้เสมอ ล้างมือบ่อยๆเพราะมันช่วยล้างไวรัสออกไปจากมือเรา  การใช้แอลกอฮอล์เจลหรือการใช้ทิชชูเปียกที่ผสมแอลกอฮอล์ก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่ากับการล้างมือ ขอให้ทุกท่านเดินทางโดยสวัสดิภาพครับ กัปตันโสภณ พิฆเนศวรผู้เล่าเรื่องการบินA Pilot Club

ขอให้ชาวโคราชปลอดภัย

เหตุกราดยิงที่ห้าง Terminal 21 สาขาโคราช มีผู้บาดเจ็บเยอะมาก โรงพยาบาลอาจจะต้องการเลือดนะครับ คนที่มีเลือดเป็นกลุ่มเลือดหายาก ฝากติดตามข่าวสารกันด้วยใครอยู่ใกล้หรือสะดวกไปบริจาคเลือดที่โรงพยาบาลหรือติดตามข่าวสารจากรัฐด้วยนะครับ ส่วนคนร้าย ก็ขอให้ทางตำรวจจับตัวให้ได้โดยเร็วที่สุดครับ ต่างชาติออกข่าวใหญ่เลย อันนี้จาก CNN

นักบินอวกาศหญิงที่ถือสถิติอยู่ปฏิบัติภารกิจในอวกาศนานที่สุดในโลก

ยินดีต้อนรับกลับบ้าน Christina Hammock Kochนักบินอวกาศหญิงที่ถือสถิติอยู่ปฏิบัติภารกิจในอวกาศนานที่สุดในโลก “longest single spaceflight by a woman” วันนี้มีการเผยแพร่ภาพการกลับมาของทีมนักบินอวกาศ 3 คน โดยแคปซูลลงจอดที่ทางตอนใต้ของประเทศคาซัคสถาน หนึ่งในสามนักบินอวกาศเป็นนักบินอวกาศหญิงที่ได้รับความสนใจเป็นข่าวพาดหัวแทบทุกสื่อใหญ่ในวงการ เพราะถือว่าเธอเป็นผู้ทำภารกิจอยู่บนอวกาศในหนึ่งเที่ยวบินอวกาศในฐานะนักบินอวกาศหญิงนานที่สุดในโลก คือ 328 วัน (longest single spaceflight)นอกจาก คริสตินา คอช แล้วยังมีนักบินอวกาศอีกสองคนคือ อเล็กซานเดอร์ (ไม่เขียนไทยดีกว่ากลัวอ่านผิด) Alexander Skvortsov of the Russian space agency Roscosmos (ชาวรัสเซีย) and Luca Parmitano of the European Space Agency (ชาวอิตาลี) กลับมาจาก International Space Station พร้อมกันในครั้งนี้ด้วย แต่ได้รับความสนใจน้อยกว่าเธอคนนี้ คริสตินา แฮมม๊อค คอช มาดูประวัติของเธอกัน ทำไมผู้คนต้องสนใจ คริสตินา คอช ถูกคัดเลือกให้เข้าโครงการของนาซ่าเมื่อปี 2013 หรือ ประมาณ 7 ปีที่แล้ว โดยได้รับการฝึกเป็นนักบินอวกาศเมื่อกรกฏาคม 2015 คริสตินา จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกาเธอถูกวางตัวให้ปฏิบัติหน้าที่นี้แล้วตั้งแต่ตอนเริ่มภารกิจ แล้ววันนี้ของเธอก็มาถึง วันที่ได้กลับมาเหยียบแผ่นดินที่เรียกว่า Earth (ดูเรื่องราวน่าสนใจบนอวกาศของเธอได้ใน twitter ด้านล่างนี้) Christina […]

0
0