The Road in The Sky

เรื่องไม่ลับอาชีพนักบินกับสาระเบาๆเพื่อนักเดินทาง

Air India Tail Strike

16 Feb 2020:Airbus A321 ของแอร์อินเดียต้องทำ early rotation เพื่อหลบรถยนต์และคนที่อยู่บนรันเวย์ ทำให้ส่วนท้ายของเครื่องบินครูดไปกับพื้นและเกิดความเสียหายหลบรถยนต์และคนที่อยู่บนรันเวย์ ทำให้ส่วนท้ายของเครื่องบินครูดไปกับพื้นและเกิดความเสียหาย Early rotation หมายความว่า ความเร็วยังไม่มากพอที่เครื่องบินจะเกาะอากาศแต่ทำการดึงเชิดหัวเครื่องบินขึ้น ทำให้เครื่องบินไม่ลอยขึ้นแต่การดึงหัวเครื่องบิน (rotate) ที่ความเร็วยังไม่ถึง Vr นี้หัวเครื่องบินก็อาจจะเชิดขึ้นมาได้ (increase pitch) และจะเชิดขึ้นเรื่อยจนกระทั่งส่วนหางของเครื่องบินเขี่ยกับพื้น ถ้าความเร็วของเครื่องบินยังเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นมากพอเครื่องบินก็จะลอยขึ้นสู่อากาศได้ สภาพที่เห็นในรูปข้างบนนี้ แม้ว่าจะดูเหมือนไม่หนักเท่าไหร่ เป็นรอยครูดไปทางยาวๆแค่นั้นแต่ในความเป็นจริงแล้วการที่ tail section กระแทกหรือครูดไปกับพื้นแบบนี้นั้นจะต้องทำการการตรวจสภาพโครงสร้างของเครื่องบินส่วนของลำตัวทั้งหมด เพราะมันอาจจะได้รับความเสียหายบิดเบี้ยว เพราะหากโครงสร้างของเครื่องบินบิดเบี้ยว จะมีผลต่อความแข็งแรงทางโครงสร้างของเครื่องบินเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสิทธิภาพของระบบการรักษาความดันอากาศภายในเครื่องบิน (aircraft pressurization) และอาจมีปัญหาอื่นๆเกิดขึ้นตามมาภายหลังได้อีก เช่น น้ำมันรั่ว ท่อไฮดรอลิคแตก เป็นต้น การพิทักษ์เครื่องบินหลังเกิดอุบัติเหตุ หลังจากเกิดเหตุในทำนองนี้แล้วเครื่องบินจะถูกพิทักษ์เพื่อทำการสอบสวน คำว่า พิทักษ์นี้ในภาษาทางการใช้คำว่า aircraft in custody ซึ่งระยะเวลาในการที่จะพิทักษ์เครื่องบินจะนานเท่าไหร่นั้นก็ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและขั้นตอนของหน่วยงานสืบสวนสอบสวนอุบัติเหตุของอากาศยานของประเทศที่เกิดเหตุ เหตุเกิดที่ Pune International Airport ประเทศอินเดีย หน่วยงานสืบสวนฯ ของอินเดียจะเป็นผู้เข้าในพื้นที่และทำการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เมื่อมั่นใจว่าได้ข้อมูลที่ครบถ้วนดีแล้ว สายการบินจึงจะนำเครื่องบินลำดังกล่าวไปซ่อมบำรุงได้ #airindia #แอร์อินเดีย#a321 #earlyrotation#apilotbook #apilotclub ร่วมสนับสนุน A Pilot Club ให้ดำเนินงานต่อไปได้ ซื้อหนังสือ A Pilot Book และเสื้อยืด Pilothttps://shop.line.me/@a-pilotติดตามไลน์นะครับhttps://line.me/R/ti/p/%40a-pilot Ref: The Statesman […]

นักบินที่ 3

Boeing B747-200/300 มีชื่อเรียกว่า Jumbo Classic เครื่องบิน B747 classic นั้นออกมาทำการบินตั้งแต่เมื่อ 50 ปีที่แล้ว โดยใช้นักบินจำนวน 3 คน โดยนักบินคนที่ 3 นั้นไม่ได้ทำหน้าที่บังคับเครื่องบิน แต่ทำหน้าที่ดูแลระบบต่างๆของเครื่องบินทั้งหมด แผงที่เห็นในรูปแรก คือ แผงหน้าปัดในการควบคุมระบบต่างๆของเครื่องบิน B747 ตั้งแต่ระบบ hydraulic ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำมัน ระบบปรับอากาศ ทุกอย่าง คูณสี่ หมด เพราะว่ามี 4 เครื่องยนต์ เราเรียกนักบินที่ 3 ว่า System Operator หรือ Flight Engineer คำว่า Flight Engineer จึงหมายถึง นักบิน (Flight Crew) ที่ทำหน้าที่ควบคุมแผงควบคุมระบบต่างๆ หรือนักบินที่ 3 นั่นเองหลังจากที่ Boeing ผลิต B747-400 ออกมาทำการบิน แผงนี้ก็ถูกแทนที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์และใช้นักบินแค่เพียงสองคน ในส่วนของค่ายแอร์บัสก็เช่นเดียวกัน เครื่องบิน A300B4 เป็นเครื่องบินที่ใช้นักบิน 3 คนเช่นกัน และหลังจากที่ A300-600 ออกมาก็เหลือนักบินเพียงสองคน โดยใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมแผงของ system operator (เป็นการสิ้นสุด “กัปตันสามแผง” รออ่านใน 20,000hours) เครื่องยนต์เครื่องบินนอกจากใช้คำว่า engine […]

โรลส์-รอยซ์ฉลองครบรอบ 25 ปีเครื่องยนต์เทรนท์ และแผนสำหรับอนาคต

ปีนี้สำหรับโรลส์-รอยซ์เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองความสำเร็จของเครื่องยนต์ตระกูลหนึ่งที่พลิกโฉมการเดินทางของมนุษยชาติ – เครื่องยนต์ที่มาพร้อมความแข็งแกร่งทนทานและวางใจได้ ทำให้สายการบินทั่วโลกสามารถสร้างมาตรฐานให้กับบริการใหม่ ๆ ขึ้น เมื่อยี่สิบห้าปีที่แล้ว – ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2538 – เครื่องยนต์เทรนท์เครื่องแรกได้ถูกติดตั้งในเครื่องบินแอร์บัส A330 ลำแรก และได้ทำการบินเพื่อส่งมอบให้กับสายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิกในฮ่องกง นับแต่นั้นมา เทรนท์ได้เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวแห่งความสำเร็จด้านการบินระดับโลก เรื่องราวที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 25 ปี ของเครื่องยนต์ตระกูลเทรนท์: มีชั่วโมงบินรวมกว่า 145 ล้านชั่วโมง ซึ่งเทียบเท่ากับการเดินทางจากโลกไป-กลับดวงอาทิตย์ถึง 390 รอบ ขนส่งผู้โดยสารประมาณ 3.5 พันล้านคนที่เดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดพักผ่อน หรือทริปสำหรับธุรกิจ และไปจนถึงภารกิจปฏิบัติการเพื่อมนุษยธรรม ได้รับการสนับสนุนรับรองจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันมีผู้ใช้เครื่องยนต์เทรนท์ 132 รายทั่วโลก เปลี่ยนโฉมให้กับธุรกิจของโรลส์-รอยซ์จากที่มีส่วนแบ่งการตลาดเครื่องบินลำตัวกว้างด้วยตัวเลขเพียงหลักเดียว ทะยานสูงไป จนวันนี้เกือบจะทุก ๆ 1 ใน 2 ลำของเครื่องบินลำตัวกว้างจะติดตั้งและบินด้วยเครื่องยนต์เทรนท์ ปีที่แล้ว เครื่องบิน Aeroflot A330 ที่ขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์เทรนท์ 700 ได้ถูกบันทึกสถิติโลกด้านชั่วโมงบินต่อเนื่องโดยทำการบินได้ถึง 50,000 ชั่วโมงโดยไม่ต้องยกเครื่องหรือซ่อมแซมครั้งใหญ่ เครื่องยนต์ตระกูลเทรนท์ทั้งเจ็ดรุ่นประกอบด้วยเทรนท์ 500, เทรนท์ 700, เทรนท์ 800, เทรนท์ 1000, เทรนท์ XWB และเทรนท์ 7000 โดยแต่ละรุ่นเป็นผู้นำตลาดสำหรับเครื่องบินที่ออกแบบมารองรับโดยเฉพาะ หรือเป็นเครื่องยนต์แรกที่ใช้กับเครื่องบินรุ่นนั้น ๆ หรือในบางกรณีก็เป็นทั้งสองอย่างที่กล่าวมา เดือนนี้เป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 25 ปีของการส่งมอบเครื่องยนต์เทรนท์เครื่องแรก ซึ่งจริง ๆ แล้วยังนับว่าไม่ถึงครึ่งของเรื่องเทรนท์ด้วยซ้ำ เพราะยังมีการผลิตเครื่องยนต์เทรนท์อย่างต่อเนื่องตามความต้องการของตลาด เมื่อสิบปีที่แล้วมีเครื่องยนต์เทรนท์  1,500 เครื่องให้บริการ และตัวเลขในวันนี้ก็มากกว่า 4,000 เครื่องแล้ว และในเวลาอีกสิบปีจะเพิ่มจำนวนไปอยู่ที่ประมาณ 7,500 เครื่อง เครื่องยนต์เทรนท์ผลิตในสหราชอาณาจักร สิงคโปร์ และเยอรมนี พร้อมรองรับและทำการบินต่อไปอีกหลายทศวรรษ คริส โชเลอร์ตัน ประธาน – ฝ่ายการบินพาณิชย์ของโรลส์-รอยซ์ กล่าวว่า “ผมขอขอบคุณลูกค้าและพันธมิตรของเราทุกรายที่ให้ความมั่นใจและวางใจในเครื่องยนต์เทรนท์มาโดยตลอด และใช้เครื่องของเราในการสนับสนุนเครือข่ายการบินทั่วโลก ซึ่งเครือข่ายนี้เองเปิดโอกาสให้ผู้โดยสารมากมายได้รับประสบการณ์การเดินทาง เปิดโลกที่น่าเหลือเชื่อ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเราต้องฝ่าฟันอุปสรรคและความท้าทายนานัปการจวบจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ และเรายังคงมุ่งมั่นเป็นอย่างยิ่งที่จะจัดการกับปัญหาใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องยนต์ตระกูลเทรนท์จะยังคงความโดดเด่นและเป็นผลิตภัณฑ์แห่งคุณภาพต่อไป “เครื่องยนต์เทรนท์ถูกสร้างขึ้นด้วยความมานะ บากบั่น ไม่ย่อท้อในการเป็นผู้บุกเบิก – เพื่อทำให้เครื่องยนต์ของเรามีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้เราค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ในการทำการบินที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น และจิตวิญญาณนั้นจะยังคงปรากฎอยู่ในโครงการรุ่นต่อ ๆ ไปของเรา เช่น เครื่องยนต์สาธิต UltraFan® และโปรเจกต์ด้านการพัฒนาระบบไฟฟ้าของเรา” มีการสั่งซื้อเครื่องยนต์เทรนท์อีกหลายพันเครื่องในช่วงทศวรรษที่กำลังจะมาถึงและโรลส์-รอยซ์พร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต […]

Data Visualisation COVID-19

วันนี้วันเดียวพบยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเกือบ 15,000 คน และเสียชีวิตเพิ่ม 247 คน คิดว่าสถานการณ์กำลังใกล้พีคสุดแล้วหลังจากนี้น่าจะค่อยๆควบคุมได้ถ้าถึงจุดสูงสุดเร็ว ก็ควรจะจบได้เร็วครับ สายการบินน่าจะเจอสถานการณ์ลำบากอีกพักหนึ่ง#covid19 Data Visualisation COVID-19

11 (12 แล้ว) สายการบินปิดตัวลงในรอบ 12 ด.

อัพเดตไม่ทันกันเลยทีเดียว เพิ่มจาก 11 เป็น 12 สายการบินแล้วที่ปิดตัวในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา รายล่าสุดคือ AtlasGlobal: February 2020 จากประเทศตุรกี ข้อมูลจาก Business Insider สรุปรวบรวมสายการบินที่ต้องปิดตัวลงในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีมากถึง 11 สายการบินส่วนใหญ่เป็นสายการบินในยุโรป มีสายการบินใกล้บ้านเรามากก็คือ Jet Airways ของอินเดีย ประกาศปิดกิจการไปเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว เดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีสายการบินประกาศปิดกิจการมากที่สุดถึง 4 สายการบิน ส่วนเดือนกุมภาพันธ์ก็ไม่เบาครับ ปีที่แล้วหนึ่งสายคือ Germania และปีนี้เมื่อสองสามวันก่อนก็ Air Italia รายชื่อสายการบินที่ปิดกิจการตั้งแต่เดือนมกราคม 2019 ถึง กุมภาพันธ์ 2020 ดังนี้ California Pacific Airlines: January 2019 Germania: February 2019 Flybmi: February 2019 Fly Jamaica Airways: March 2019 Wow Air: March 2019 Jet Airways: April 2019 XL Airways: September 2019 Aigle Azur: September 2019 Adria […]

0
0