การบินพลเรือนระหว่างประเทศ

International Civil Aviation การบินพลเรือระหว่างประเทศมีจุดกำเนิดมาจากการตกลงร่วมกันของนานาประเทศที่ได้ร่วมประชุมกันที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1944 (พ.ศ. 2487) และได้ทำสัญญาร่วมกันเกี่ยวกับภารกิจทางการบินพลเรือนระหว่างประเทศโดยใช้ชื่อว่า อนุสัญญาชิคาโก หรือ Chicago Convention

(ต่อมา ICAO ได้ทำเป็นเอกสารและให้ชื่อ Chicago Convention เป็น Doc.7300 The Convention on International Aviation)

หนึ่งปีต่อมาจึงได้เกิด United Nations หรือ UN ซึ่งเป็นองค์กรกลางสากลหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 (อนุสัญญาชิคาโก ทำขึ้นในช่วงท้ายก่อนจบสงครามโลกครั้งที่ 2) และได้ทำการก่อตั้ง International Civil Aviation Organization หรือ ICAO ขึ้น ในปี 1947 ราวๆสามปีหลังจาก Chicago Convention

ติดตามรับชมเพิ่มเติมทางวิดีโอยูทูปนี้ครับ

สั่งซื้อหนังสือ A Pilot Book ได้ที่

https://shopee.co.th/apilotbook

การบินพาณิชย์ถือว่ามีจุดเริ่มต้นการวางมาตรฐานระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการจริง ๆ ก็เมื่อ ปี 1944 หรือเมื่อ 78 ปีที่แล้ว หลังจากที่ได้มีการประชุมร่วมกันที่เมืองชิคาโก โดยประเทศไทยนั้นเข้าร่วมลงนามในสนธิสัญญานี้ด้วย โดย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

หลังจากที่มีการทำสนธิสัญญาเมื่อปี 1944 ICAO ก็ถูกก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี 1947 เพื่อเป็นตัวกลางในการวางรากฐานของการบินพลเรือนระหว่างประเทศ โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Montreal ประเทศ Canada และต่อมาก็จัดให้มีสำนักงานสาขาอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ โดยมีประเทศไทยเป็นสาขาของภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก 

วัตถุประสงค์หลักของการดำเนินงานของ ICAO คือ การวางพื้นฐานของกฏระเบียบด้านการบินให้แก่ประเทศสมาชิก 192 ประเทศ ในด้าน 

Safety, Capacity and Efficiency, Security and Facilitation, Economic Development และ Environmental Protection

ตัวอย่างข้อความใน Chicago Convention


“CONVENTION ON INTERNATIONAL CIVIL AVIATION, SIGNED AT CHICAGO, ON 7 DECEMBER 1944 (CHICAGO CONVENTION) 

Preamble

WHEREAS the future development of international civil aviation can greatly help to create and preserve friendship and understanding among the nations and peoples of the world, yet its abuse can become a threat to the general security; and 

WHEREAS it is desirable to avoid friction and to promote that cooperation between nations and peoples upon which the peace of the world depends; 

THEREFORE, the undersigned governments having agreed on
certain principles and arrangements in order that international civil aviation may be developed in a safe and orderly manner and that international air transport services may be established on the basis of equality of opportunity and operated soundly and economically; 

Have accordingly concluded this Convention to that end. “

บทนำ เพื่อโลกที่สวยงามของการบินระหว่างประเทศ

“Article 3 Civil and state aircraft 

(a) This Convention shall be applicable only to civil aircraft, and shall not be applicable to state aircraft. 

(b) Aircraft used in military, customs, and police services shall be deemed to be state aircraft. 

(c) No state aircraft of a contracting State shall fly over the territory of another State or land thereon without authorization by special agreement or otherwise, and in accordance with the terms thereof.”

ใน Article 3 จะบอกไว้ว่า Chicago convention นั้นจะบังคับใช้เฉพาะกับการบินพลเรือน ส่วนเครื่องบินทางทหาร ตำรวจและศุลกากร ไม่ถือว่าอยู่ใน Chicago Convention ให้ไปดูแลกันเองและห้ามบินข้ามน่านฟ้าคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

Article 16 Search of aircraft 

The appropriate authorities of each of the contracting States shall have the right, without unreasonable delay, to search aircraft of the other contracting States on landing or departure, and to inspect the certificates and other documents prescribed by this Convention. 

Article 16 นี่บอกไว้ชัดเลยว่า เครื่องบินสามารถถูกตรวจสอบโดย authorities ของแต่ละประเทศ ที่ทางยุโรปเรียกว่า SAFA (Safety Audit of Foreign Aircraft) ประมาณว่าเครื่องบินของประเทศไทยบินไปลงประเทศไหน authority ของประเทศนั้นสามารถขอตรวจเครื่องบินได้

ICAO ออก annex มาทั้งหมด 19 annexes (annex 19 คือ อันใหม่ล่าสุด)

Annex นั้นจะบอกถึง Standards และ Recommendation practices เพื่อให้แต่ละประเทศสมาชิกใช้เป็นโครงเพื่อร่างกฏระเบียบในการกำกับกิจการการบินพลเรือนของประเทศตนเอง

***เน้นว่าแต่ละประเทศที่เป็นสมาชิกนั้นจะต้องไปร่างกฎหมายของตัวเองโดยอิงจาก Chicago Convention และ annex ทั้ง 19

โดยที่แต่ละ annex นั้นจะมี documents มาช่วยเสริมให้เกิดความเข้าใจในวิธีการที่จะทำตาม annex ประมาณ how to

Chicago Convention นั้นกำหนดให้แต่ละประเทศสมาชิกจัดตั้ง สำนักงานการบินพลเรือนของตนเอง หรือจะเรียกว่า กรมการบินพลเรือนหรืออะไรก็แล้วแต่กฏหมายของประเทศตนบัญญัติไว้ อย่างของประเทศไทยในอดีตเรียกว่า กรมการบินพาณิชย์แล้วก็เปลี่ยนเป็นกรมขนส่งทางอากาศและก็มาเป็นกรมการบินพลเรือน ก่อนที่จะถูกยุบไปแล้วก่อตั้งเป็น 

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT: Civil Aviation Authorities of Thailand)

ประเทศอื่น ๆ ก็มีเหมือน ๆ กับเรา เช่น

FAA (Federal Aviation Administration)

EASA (European Aviation Safety Agency)

JCAB (Japan Civil Aviation Bureau)

CAAC (Civil Aviation Administration of China)

CAAS (Civil Aviation Authority of Singapore)

CASA (Civil Aviation Safety Authority) อันนี้ของประเทศออสเตรเลีย

DGCA (Directorate General of Civil Aviation, Government of India)

DCA (Department of Civil Aviation)…ตามด้วยชื่อประเทศ

เช่น DCA Myanmar เป็นต้น

สำนักงานการบินพลเรือนเหล่านี้เรียกว่าเป็น Authorities หรือ Regulator ซึ่งหมายถึง ผู้คุมกฏหรือเป็นผู้ควบคุมกำกับดูแล ทั้งหมดเป็นสมาชิกของ ICAO

เน้นเพื่อความเข้าใจครับ แต่ละประเทศนั้นเป็นสมาชิก UN (United Nation) 

ส่วนสำนักงานการบินพลเรือนนั้นเป็นสมาชิก ICAO (International Civil Aviation Organization)

Capt.Sopon P.

#aPilot #aPilotClub #aPilotBook #ChicagoConvention #ICAO #Annex

#aPilotAviationKnowledgeSeries

Comments are closed
0
0