Tag: สอบสัมภาษณ์

ทดสอบเรื่องทิศทาง

การทดสอบด้านทิศทางนั้นเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของการตรวจความสามารถในการที่จะรับรู้หรือกำหนดพิกัดที่มีส่วนใช้ในการทำความเข้าใจในการบิน อาทิเช่น ความสามารถในการอ่านแผนที่ การเข้าใจระบบนำร่องทางการบิน หรือการเข้าใจเครื่องวัดประกอบการบิน เป็นต้น เวลาสอบสัมภาษณ์นั้น เน้นไปที่การพูดคุยเป็นหลัก การที่จะมี activities บางครั้งก็อาจจะจำเป็น ตรงนี้แล้วแต่ว่าสถานการณ์ในระหว่างการสัมภาษณ์นั้นมันพาไปถึงตรงไหน วิธีการหนึ่งที่ผมใช้เป็นเทคนิคในการทดสอบเรื่องความเข้าใจด้านทิศทาง คือ การให้เขียนแผนที่ เอาแบบง่าย ๆ เลยก็แผนที่ประเทศไทยนี่หล่ะ ไม่ต้องสวยงาน แต่ก็ควรจะเป็นรูปเป็นร่างหน่อยนะครับ พอเขียนเป็นรูปประเทศไทยแล้ว ก็จะถามต่อไปที่ประเทศเพื่อนบ้าน ทิศเหนือติดกับประเทศอะไร ทิศใต้มีใครเป็นเพื่อนบ้าน ท่านผู้อ่านเชื่อไหมครับว่า มีผู้สมัครหลายคนเลยที่ไม่ทราบว่าประเทศเพื่อนบ้านเรานั้น ใครอยู่ทิศไหนของประเทศ บางคนตอบว่าทิศใต้ของไทยติดกับประเทศจีน บางคนตอบว่าทิศตะวันตกของไทยติดกับประเทศกัมพูชา หรือเวียดนามมีชายแดนติดกับประเทศไทย อะไรประมาณนั้น เรื่องของภูมิศาสตร์นั้น ผมคิดว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาความสามารถเรื่องของการเข้าใจทิศทางและรับรู้ตำแหน่ง พื้นฐานนี้จะนำไปสู่การพัฒนาการในการนำร่อง (Navigation) ซึ่งต้องประเมินหรือเข้าใจตำแหน่งและท่าทางของเครื่องบินตลอดเวลาที่ทำการบิน อีกตัวอย่างหนึ่ง อันนี้เป็นการทดสอบเรื่องทิศทางแบบง่าย ๆ คือ เหนือ-ใต้ ตะวันออก-ตะวันตก โจทย์จะเป็นแบบนี้ครับ “สมมติว่า เบื้องหน้าของคุณคือ  ทิศเหนือ  ด้านขวาของคุณจะเป็นทิศอะไร” เป็นคำถามที่ง่ายมากเลยใช่ไหมครับ เชื่อไหมครับว่า มีคนตอบไม่ได้ ที่ตอบไม่ได้ไม่ใช่เพราะว่าไม่เข้าใจ แต่เป็นเพราะความตื่นเต้นที่เกิดขึ้นในระหว่างที่สอบ ความตื่นเต้นนั้นทำให้สมาธิหรือประสิทธิภาพในการควบคุมสติถูกลดทอนลง  “เรื่องที่ว่าง่าย ๆ ก็อาจจะถึงกับนึกไม่ออกเลยทีเดียว” ลองถามให้ยากขึ้นอีกนิดครับ “ถ้าเบื้องหน้าของคุณคือ ทิศตะวันออก ถามว่าซ้ายมือของคุณคือทิศอะไร” ไม่ยากนะครับ ลองนึกภาพกันดู ทีนี้มาลองอัพเลเวลขึ้นอีกหน่อยครับ สมมติว่าคุณยืนหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เดินตรงไปสาม block แล้วเลี้ยวขวา จากนั้นเดินตรงไปอีกสอง block เลี้ยวขวาอีกครั้งหนึ่ง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา …  กรรมการอาจถามว่า ตอนนี้คุณหันหน้าไปทางทิศไหน […]

ข้อสอบนักบิน

การทดสอบหลาย ๆ อย่างที่มักจะใช้เป็นตัวทดสอบความสามารถของผู้ที่จะสอบคัดเลือก

Pilot interview

บทนี้จะเป็นส่วนที่เพิ่มเติมจากหนังสือ A Pilot เล่มแรกและเล่มสองครับ จะมีเนื้อหาเบสิค ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการสอบสัมภาษณ์ มีตัวอย่างและเทคนิคพื้นฐานบางเรื่องเพื่อแนะนำให้ผู้อ่านได้มองเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า การทดสอบบางอย่างนั้น มีที่มาที่ไปอย่างไร  บทความจากหนังสือ A Pilot Part III เนื้อหาในหนังสือบทนี้ ไม่ใช่การติวเพื่อสอบนักบินนะครับ การติวเพื่อที่จะสอบนักบินเป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งไม่อยู่ในแนวทางและไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการเขียนหนังสือเล่มนี้และ A Pilot Book ทั้งสองเล่มที่ผ่านมาครับ ปัจจุบันมีคนเปิดติวเพื่อสอบเป็นนักบินกันมากอยู่ครับ เรื่องนี้แล้วแต่ความชอบเลยครับ ส่วนตัวไม่ได้สนับสนุนหรือจะต่อต้านครับ สำหรับผม เชื่อว่าการได้รู้และเข้าใจที่มาที่ไปและมองเห็นวัตถุประสงค์ในการสอบแต่ละประเภท จะเป็นคำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับการเข้าใจจุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง และมันจะติดตัวเราไปตลอดอีกทั้งสามารถที่จะต่อยอดไปใช้กับการทำงานอื่น ๆ ได้อีกด้วย การทดสอบระหว่างสัมภาษณ์ ในการสัมภาษณ์นักบินนั้น ผู้สัมภาษณ์อาจทำการทดสอบปฏิกิริยาต่าง ๆ ของผู้ถูกสัมภาษณ์ เพื่อค้นหาว่า ผู้ถูกสัมภาษณ์นั้น มีจุดอ่อนหรือจุดแข็งตามคะแนนที่กรรมการเห็นอยู่ในมือหรือไม่ แน่นอนครับ ก่อนจะเรียกเข้ามาสัมภาษณ์ กรรมการสอบจะคุยกันสั้น ๆ จากผลคะแนนของการสอบข้อเขียนในรอบที่ผ่านมา และดูประวัติส่วนบุคคล ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน (ถ้ามี) คะแนนเรียนในแต่ละเทอม หรือ คะแนนสอบวัดระดับต่าง ๆ ที่มี เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเริ่มสัมภาษณ์ การแต่งกายการวางตัว การควบคุมอารมณ์ การควบคุมความตื่นเต้น ฯลฯ เรื่องเทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้ผมเขียนไว้แล้วในสองเล่มแรก ลองอ่านซ้ำดูนะครับ การสอบสัมภาษณ์จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการพูดคุย แต่อาจจะถูกสอดแทรกด้วยการทดสอบบางอย่างด้วย โดยการทดสอบระหว่างสัมภาษณ์นั้น อาจจะเป็นการทดสอบง่าย ๆ สั้น ๆ เพื่อสนับสนุนหรือทำให้กรรมการเกิดความมั่นใจว่า ผู้ถูกสัมภาษณ์นั้นได้คะแนนจากการสอบข้อเขียนด้านนี้มาด้วยความสามารถ ไม่ได้ฟลุ๊คตอบถูก […]

0
0