คลอดบนเครื่องบินอันตราย?

คุณหมอคนนี้ชื่อ Alena Fedchenko เป็นชาวยูเครน ทำคลอดให้กับหญิงชาวไทยบนเครื่องบินของสายการบิน Qatar Airways ในระหว่างการเดินทางจากกรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ มายังกรุงเทพฯ ประเทศไทย
เหตุการณ์นี้ทำให้เครื่องบินต้องเปลี่ยนเส้นทางเพื่อลงจอดที่เมืองกัลกัตตา ในประเทศอินเดีย
เป็นเวลาเกือบสองชั่วโมง

เล่าคร่าว ๆ เท่านี้ครับ เรามาดูกันว่า กฏการบินเค้าว่าไว้อย่างไร

ข้อแรก หญิงมีครรภ์ จะมีข้อกำหนดว่าจะต้องมีอายุครรภ์ไม่เกินที่สายการบินกำหนด ซึ่งสากลระบุว่า อายุครรภ์ไม่เกิน 36 สัปดาห์ ตัวอย่างเช่น

สายการบินกาตาร์ กำหนดว่า ถ้าอายุครรภ์เกิน 35 สัปดาห์กับอีก 1 วัน กาตาร์ก็ขอไม่รับขึ้นเครื่อง

Beginning of 36th week and beyond (35 weeks + 1 day and beyond)
Qatar Airways cannot accept expectant mothers in their 36th week of pregnancy or beyond for travel.”

https://www.facebook.com/aPilotBook

screenshot from Qatar website

ลองดูช่องอื่น ๆ ด้วยครับ
ถ้าระหว่าง 33-35 สัปดาห์ คุณแม่ท้องแรก กับคุณแม่ที่เคยมีลูกมาก่อนแล้วไม่ใช่ลูกคนแรก ข้อกำหนดเรื่องอายุครรภ์จะต่างกัน คนเคยคลอดลูกมาก่อน โอกาสจะคลอดง่าย (คล่อง) กว่าประมาณนั้นครับ และมีข้อกำหนดเรื่องของใบแพทย์ที่จะต้องนำไปแสดงด้วยตอนที่เช็คอิน คุณแม่ที่ไม่ใช่ท้องแรก Qatar ให้เดินทางได้ถ้าอายุครรภ์ไม่ถึง 32 สัปดาห์ และต้องมีใบรับรองแพทย์

อายุครรภ์ต่ำกว่า 28 สัปดาห์ ไม่มีข้อห้าม แต่แนะนำว่าให้พกใบรับรองแพทย์ไปยืนยันด้วย กรณีที่ท้องโตมองเห็นชัดแล้ว พนักงานก็จะได้มั่นใจไม่ต้องมาสงสัยและต้องตรวจสอบให้หงุดหงิดกันทั้งสองฝ่ายครับ

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรปรึกษากับสายการบินให้แน่ชัดว่าจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ใช้อย่างไร เมื่อไหร่ เช่น ใบรับรองแพทย์ต้องออกมาไม่เกินกี่วันเป็นต้น เพื่อความปลอดภัยของตนเองและลูกนะครับ
ลองคิดเล่น ๆ ดูนะครับว่า เด็กแรกเกิดอายุไม่ถึง 7 วัน สายการบินยังไม่รับขึ้นเครื่องบินเลยนะครับ อย่างสายการบิน Qatar เค้าก็บอกต้องมีอายุ 8 วันขึ้นไป แสดงว่าลูกเราจะต้องมีความเสี่ยงนะครับ ลอง search คำว่า Newborn babies policy ดูครับ

จริง ๆ สายการบินเค้าเป็นห่วงความปลอดภัยของผู้โดยสารทุกคนและต้องการให้ทุกคนได้รับความสะดวกสบาย เพราะไม่ใช่ว่าทุกเที่ยวบินจะมีหมอเดินทางอยู่บนเครื่องบิน และไม่ใช่ทุกการคลอดลูกนั้นจะง่าย หากเป็นเคสที่ยุ่งยากขึ้นมา เช่น เด็กไม่กลับหัว หรือรกพันคอเด็ก บนเครื่องบินไม่มีอุปกรณ์ทำคลอดที่จะเป็นก็จะเป็นอันตรายทั้งแม่และเด็กได้

รวมถึงนักบินและลูกเรือก็จะวุ่นวายกับการจัดการเรื่องนี้ แทนที่จะจัดการการบริการหรือเรื่องอื่น ๆ ส่วนนักบินก็ต้องมาวางแผนและคิดว่าจะเอายังไง สนามบินไหนใกล้ที่สุด มีบริการพยาบาลที่สนามบินพร้อมไหม ต้องเปลี่ยนเส้นทางหรือไม่ ติดต่อประสานงานยุ่งไปหมด (นึกภาพออก)

ผู้โดยสารทั้งลำก็คงจะพลอยลุ้นไปด้วย แต่ก็คงเซ็งนิดหน่อยที่การเดินทางจะต้องสะดุด แต่ก็คิดในใจแหละว่า มันเป็นเหตุสุดวิสัย (จริงๆ?)

แน่นอนว่า ทุกคนดีใจที่ แม่และเด็กปลอดภัย แต่ก็คงอดนึกไม่ได้ว่า จะดีกว่าไหมถ้าไม่ต้องลุ้นแบบนี้ ขอไม่พูดถึงแม่ของเด็กไม่ใช่ประเด็นที่เราจะไปกล่าวโทษหรือต่อว่าอะไร
ผมเพียงต้องการให้ทุกคนเข้าใจว่า อันตรายมันอยู่ตรงไหน และทำไมสายการบินจึงต้องกำหนดเงื่อนไขเอาไว้ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของแม่และเด็กนั่นแหละครับ

และนอกเหนือจากนั้นก็คือ เวลามีการเปลี่ยนเส้นทาง เปลี่ยนตาราง มันทำให้อะไรๆไม่เป็นไปตามที่วางแผน เช่น การใช้งานเครื่องบิน การใช้งานคน เวลาพักของนักบินและลูกเรือถ้าไม่เพียงพอก็ต้องยืดการพัก อาจต้องดีเลย์ไฟล์ทถัดไป หรือเปลี่ยนคนบิน ฯลฯ
ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกเพียบสำหรับการทำธุรกิจสายการบิน การควบคุมตัวแปรที่ไม่แน่นอนให้มีน้อยที่สุด คือ ช่วยให้การประมาณค่าใช้จ่ายค่อนข้างแม่นยำมากที่สุด

“เรื่องนี้ต้องสรรเสริญคุณหมอ Alena Fedchenko ครับ”

คำแนะนำของสายการบิน จะประมาณนี้
ของสายการบินกาตาร์ Qatar Airways

Can I travel on a Qatar Airways flight while pregnant?

Prior to booking your ticket, Qatar Airways recommends that you visit your doctor and inquire about your fitness to fly the length of the trip you intend to take.

For your own safety and the well being of your child, Qatar Airways will not accept expectant mothers who are pregnant from their 36th week or beyond.

Depending on the stage of your pregnancy and certain details, you may be required to carry certain medical forms.

Click here for more information on the guidelines and requirements for flying while pregnant.

Please contact your local Qatar Airways office for further inquiries. Contact details can be found in the following link https://www.qatarairways.com/en/worldwide-offices.html 

ดูของการบินไทยจาก Facebook ครับ ในเว็บการบินไทยหาข้อมูลยากจัง ขอติหน่อยครับ ค้นอากู๋ด้วยคำง่าย ๆ pregnant policy ของชาวบ้านเค้าขึ้นเต็มเลย

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์สามารถเดินทางกับการบินไทยได้หรือไม่
ได้แน่นอนค่ะ ทางเรายินดีให้บริการท่านภายใต้เงื่อนไขดังนี้

Can expectant mothers fly with THAI?
We are pleased to serve you under following safety conditions;

การบินไทยสงวนสิทธิ์เดินทางให้คุณแม่ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 36 สัปดาห์เท่านั้น ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย และหากอายุครรภ์เกิน 28 สัปดาห์ ต้องมีใบรับรองแพทย์แสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วยค่ะ

นอกจากนั้นหากคุณแม่โดยสารเที่ยวบินที่ใช้เวลาเกิน 4 ชั่วโมง จะต้องพิจารณาเรื่องอายุครรภ์ของผู้โดยสารเพื่อความปลอดภัยด้วยค่ะ ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
http://bit.ly/THAIexpectant1

ขอเรียนว่า การบินไทยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารมาเป็นอันดับแรกค่ะ

Only expectant mothers whose pregnancy has entered below the 36th week of pregnancy will be permitted to travel due to safety reasons. For expectant mothers with at least 28th week of pregnancy must obtain a medical certificate to travel issued by their attending obstetrician.

For flight that last longer than 4 hours, please see full conditions at http://bit.ly/THAIexpectant2

The safety of our passengers is our first priority

#thaiairways #safety #pregnancy

ข้อมูลเงื่อนไขอาจมีการเปลี่ยนแปลงแล้วแต่ข้อกำหนดของสายการบิน ก่อนเดินทางให้ตรวจสอบกับสายการบินทุกครั้ง

Ref: Qatar Airways
Thai Airways

หนังสือ A Pilot Book ทั้ง 5 เล่ม ราคา 1999 บาท ค่าส่ง 70 บาท
สั่งทาง Shopee
มีบริการเก็บเงินปลายทาง
ราคาหนังสือแต่ละเล่ม (รวมค่าส่งแล้ว)
A Pilot เล่มแรก ปกดำ ราคา 479 ฿
A Pilot Part II ราคา 349 ฿
A Pilot Part III ราคา 379 ฿
Aviation A-Z ราคา 429 ฿
20000 Hours 549 ฿

Comments are closed
0
0