ใครบ้างที่บินได้

“ใครบ้างที่บินได้”

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (เรียกย่อ ๆ ว่า กพท.) เป็นหน่วยงานกำกับดูแลและออกกฏระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของการบินทั้งด้านการพาณิชย์และการเดินอากาศของบุคคลทั่วไป

ประเทศต่าง ๆ ทุกประเทศล้วนมีหน่วยงานที่ถูกระบุให้เป็นผู้กำกับดูแลด้านกิจการการบินฝ่ายพลเรือน (Civil Aviation Authority หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า CAA)
CAA ของแต่ละประเทศคือผู้ควบคุมดูแลกิจกรรมด้านการบินทุกประเภทที่ไม่ใช่ทางทหาร (และอาจรวมถึงการขนส่งทางทหารบางประเภทด้วย)
CAA ยังมีหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยของสนามบินและสายการบินต่าง ๆ ในประเทศตนเอง และสายการบินของประเทศอื่นที่บินมาลงในประเทศของตนเองโดยหมายรวมถึง บุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบินทุกประเภทที่ต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานโดยกพท.

pilot license


กล่าวถึงนักบินทุก ๆ ประเภท ที่ขับขี่เครื่องบินที่เป็นอากาศยานหนักกว่าอากาศ (Heavier-Than-Air carrier)
นักบินต้องมีใบอนุญาตกำกับ ซึ่งระบุชนิดของอากาศยานที่สามารถขับขี่ได้เป็นการเฉพาะและความสามารถของตัวนักบินว่าได้รับการฝึกบินด้านใดมาบ้าง

ผมขอพูดถึงเฉพาะในส่วนของใบอนุญาตขับขี่เครื่องบินปีกตรึง (Fixed Wing)
(เขียนแล้วแปลก ๆ แต่เป็นภาษาที่ใช้เรียกทั่ว ๆ ไปเพื่อแบ่งแยกประเภท)
ในส่วนของเฮลิคอปเตอร์ เรียกว่า เครื่องบินปีกหมุน (Rotary Wing) ซึ่งผมไม่มีความชำนาญก็ขอไม่กล่าวถึงครับ

การให้ใบอนุญาตใบขับขี่เครื่องบิน fixed wing นั้น มีระดับของความเชี่ยวชาญคร่าว ๆ ดังนี้

การบินส่วนตัว (Private Pilot License: PPL) คือ สามารถบินเครื่องบินลำเล็ก ๆ เครื่องยนต์เดียวได้
ถือเป็น basic ขั้นเริ่มต้นของการบินพลเรือน
ผู้ขับขี่สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการบินของตนเองได้
โดยการสะสมชั่วโมงบิน และการฝึกบินกับครูการบินตามสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น
การบินกลางคืน ต้องฝึก Night Takeoff-Landing
การฝึกบินด้วยเครื่องวัดภายในห้องนักบินอย่างเดียว (โดยไม่มองออกนอกเครื่องบินเลย) เราเรียกว่า Instruments Rating: IR
PPL ที่ไม่ผ่านการฝึก Instuments Rating คือ บินได้เฉพาะเวลาที่ท้องฟ้าแจ่มใส ไม่สามารถบินในสภาพทัศนวิสัยต่ำกว่า 5 กิโลเมตรได้
(VMC: Visual Meteorological Condition)

(VMC: ทัศนวิสัยมากว่า 5000 เมตร ไม่มีเมฆที่ความสูงต่ำ
สภาพอากาศที่ไม่เป็น VMC เราเรียกว่า IMC: Instruments Meteorological Condition ซึ่งนักบินต้องมี Instruments Rating ด้วยจึงจะบินได้)

สาเหตุที่ต้องฝึก Instuments Flying เพราะว่า การบินในสภาพอากาศปิด หรือ Limited Visibility นั้น
นักบินจะไม่สามารถมองเห็นเส้นขอบฟ้า (Horizon)
ซึ่งเป็นเส้นระดับตามธรรมชาติ ที่ทำให้นักบินรู้ว่าเครื่องบินบินระดับอยู่หรือไม่
หากมองไม่เห็นเส้นขอบฟ้า นักบินต้องบินด้วยเครื่องวัดที่อยู่ภายในเครื่องเท่านั้น
และเป็นการป้องกันการหลงสภาพอากาศ (Virtigo) (อันนี้ค่อยเขียนกันใหม่เรื่องการบินในสภาพอากาศตอนต่อไป)

(ความจริงขอบฟ้าไม่เป็นเส้นตรง มันเป็นเส้นโค้ง เพราะโลกเรามันกลม แต่เมื่อเทียบสเกลเวลาที่บินที่ความสูงต่ำ ๆ แล้ว ขอบฟ้าจะเป็นเส้นตรง แต่ถ้าบินสูงมากกว่า 3-40,000 ฟุตขึ้นไปแล้ว จะเริ่มเห็นขอบฟ้าเป็นเส้นโค้งอย่างชัดเจนขึ้น)

การฝึกเครื่องบินเล็กสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการฝึกบังคับเครื่องบินคือ
การฝึก Force Landing
Force Landing คือ การบินด้วยแรงยกที่กระทำกับผิวปีก (Force: แรง ในทางฟิสิกส์)
โดยไม่ได้เกิดจากกำลังของเครื่องยนต์ในการดึงหรือดันเครื่องบินไป

พูดง่าย ๆ คือ เครื่องยนต์ดับไประหว่างที่บินอยู่ในอากาศ
และลอยอยู่ได้ด้วยแรงยกที่เกิดจากโมเมนตัมที่เครื่องบินแหวกอากาศระหว่างร่วงลงสู่พื้น
หนึ่งในการออกแบบอากาศยานขนาดเล็กคือ ความสามารถในการร่อนหรือลอยอยู่ในอากาศได้ด้วยความเร็วต่ำ
เพื่อให้นักบินมีเวลาพอที่จะหาพื้นที่ว่างในการนำเครื่องบินร่อนลงสู่พื้น อย่างที่ว่างกลางทุ่งนา ชายทะเล หรือถนน
(แต่อาจจะเจอรถยนต์ปาดตัดหน้า นึกว่าเครื่องบินจะขอวัดด้วย)

Multi-Engine Rating คือ การบินเครื่องบินที่มีมากกว่า 1 เครื่องยนต์ ทำให้สามารถบินข้ามน้ำข้ามทะเลได้ไกลขึ้น
เครื่องบินเครื่องยนต์เดี่ยว ไม่สามารถบินออกห่างจากฝั่งได้ไกลกว่า xxxxxx ไมล์


การบินเดินทาง (cross-country) คือ การบินไปไกล ๆ (ไกลหูไกลตา) หลายร้อยกิโลเมตร
ความสำคัญของการบินเดินทางคือ การวางแผนการบิน การเลือกเส้นทาง การเลือกสนามบินระหว่างทางเพื่อเป็นจุดแวะเติมน้ำมัน การศึกษาสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ โดยคำนึงถึงข้อจำกัดของเครื่องบินที่เราใช้ในการเดินทางเป็นหลัก
ถือเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญมากของการจบหลักสูตรนักบินพาณิชย์ (Commercial Pilot License: CPL)

การฝึกทั้งหมดที่กล่าวมา
มีข้อจำกัดว่า ต้องผ่านการฝึกในแต่ละอย่าง เป็นเวลาอย่างน้อยกี่ชั่วโมง (ซึ่งผมจะไม่กล่าวถึงรายละเอียดตรงนั้น จริง ๆ คือ จำไม่ได้ครับ)
หลังจากจบทุก ๆ บทเรียนนั้นแล้ว
ก็พร้อมที่จะเข้ารับการฝึกของบริษัท ตามที่เขึยนไว้ในโพสต์ก่อนหน้านี้
“กว่าจะเป็นกัปตัน”


“ใคร ๆ ก็บินได้” จริง ๆ ครับ
แต่ทุกคนต้องผ่านการฝึกและการเรียนตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่ระบุไว้ตามกฏระเบียบข้อบังคับของ
สำนักงานการบินพลเรือน (มีศักย์การบินในแต่ละสภาวะที่ปฏิบัติการบิน)

(หมายเหตุ: ปัจจุบัน การฝึกอาจจะมีรายละเอียดและขั้นตอนปลีกย่อยมากกว่านี้ ตามกฏระเบียบข้อบังคับใหม่ ๆ ของกพท. และหลาย ๆ มหาวิทยาลัยก็จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีพร้อมหลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี (Commercial Pilot License) ค่าใช้จ่ายประมาณ 3 ล้านกว่าบาทครับ)

——————————————————————————-
อ่านเรื่องก่อนหน้านี้

กว่าจะเป็นนักบินการบินไทย
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10204207024518870&set=a.1118218958734.19645.1324823845&type=1

“กว่าจะเป็นกัปตันการบินไทย” ตอนแรก
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10204168505955930&set=a.1118218958734.19645.1324823845&type=1

“ทุกคนควรอ่านก่อนเครื่องบินบินขึ้น”
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10204085217113761&set=a.1118218958734.19645.1324823845&type=1

“ขึ้นเครื่องบิน อย่าเมาเหล้า”
https://www.facebook.com/Capt.sopon/posts/10203932070685196

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกระเป๋าถือขึ้นเครื่องบิน
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10203908372972768&set=a.1118218958734.19645.1324823845&type=1

การบินในสภาพอากาศ ตอนที่ 3
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10204030301020893&set=a.1118218958734.19645.1324823845&type=1

การบินในสภาพอากาศ ตอนที่ 2
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10203964279730402&set=a.1118218958734.19645.1324823845&type=1

การบินในสภาพอากาศ ตอนที่ 1
https://www.facebook.com/Capt.sopon/posts/10203953296775835 

See less

Edit

Comments are closed
0
0