Turbulence

Turbulence

เครื่องบินลอยอยู่บนอากาศได้ด้วยกระแสลมที่ผ่านปีก การที่จะบินได้ราบเรียบนุ่มนวล Smooth as Silk มีองค์ประกอบหลายอย่าง นอกเหนือจากประสบการณ์และความปราณีตของนักบินในการบังคับเครื่องบินแล้ว ปัจจัยหลัก คือ สภาพแวดล้อมในขณะนั้น ณ ที่บริเวณที่เครื่องบิน ๆ ผ่าน เช่น การเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และการเปลี่ยนแปลงของทิศทางและความเร็วลม เป็นต้น

Cockpit B747-400

ถ้าระดับการเปลี่ยนแปลงของ ความกดอากาศ อุณหภูมิ ทิศทางและความเร็วลม มีอัตราการเปลี่ยนไม่มากนัก (Gradually Change) เครื่องบินสามารถปรับทิศทางการบังคับเพื่อรองรับสถานการณ์เหล่านั้นได้ไม่ยาก การสั่นสะเทือนจึงไม่รุนแรง  ทางการบินมีการแบ่งระดับการสั่นสะเทือน เนื่องจากการบินผ่านสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงนี้ว่า Turbulence ถ้าแปลเป็นไทย ก็ประมาณว่า “ความวุ่นวาย อลหม่าน โกลาหล หรือปั่นป่วน”

Turbulence เกิดได้หลายที่ หลายเวลา และหลายสาเหตุ อย่างเช่น ในก้อนเมฆชนิดต่าง ๆ จะมีความรุนแรงแตกต่างกันเมื่อเครื่องบินบินผ่านหรือบางทีอาจเป็น Clear Air Turbulence อากาศใส ๆ ดูเหมือนไม่มีอะไรแต่มีการสั่นสะเทือนเนื่องจากเป็น Ridge or Trough of Pressure Gradient เป็นร่องหรือเป็นสันที่เป็นช่วงที่เกิดการเปลี่ยนของความกดอากาศอย่างมาก (นึกภาพ หุบเหวหรือสันเขา ที่จะถูกแสดงในแผ่นที่เส้นระดับความสูงแบบแน่นๆ) นักบินทุกคนจะต้องเรียนรู้เรื่องการอ่านแผนที่ และเรียนรู้เรื่องสภาพดินฟ้าอากาศ (Meteorology) โดยเฉพาะเรื่องของเมฆ

เมฆมี อยู่ 10 ชนิด (อ่านเรื่องเมฆชนิดต่างๆ) มีเมฆบางชนิด ที่ต้องหลีกเลี่ยง เช่น CB (Cumulonimbus) หรือเมฆฝนฟ้าคะนองที่เราเห็นเป็นแท่ง ๆ เมฆ CB อันตรายมาก เนื่องจากความไม่ Stable ของสภาพอากาศ ทั้งในแง่ของ ความกดอากาศ อุณหภูมิ ทิศทางและความเร็วลม ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรเหล่านี้อย่างมากด้วยเวลาที่รวดเร็ว แต่เมฆ CB นี่ก็ไม่ธรรมดา ด้วยความที่มันก่อตัวขึ้นสูงได้ถึงหลายหมื่นฟุต บางทีมันจึงซ่อนตัวอยู่ในเมฆชนิดอื่น ๆ จนมองด้วยสายตาไม่เห็น เราเรียกกรณีนี้ว่า Embedded CB นักบินต้องใช้เรดาห์ตรวจอากาศ (Weather Radar) ในการตรวจหาระหว่างทำการบิน

ย้อนกลับมาดูผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเราเวลาบินผ่าน Unstable Air การสั่นสะเทือนหรือ Turbulence แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ

Light Turbulence 

ผู้โดยสารจะรู้สึกเขย่าเล็กน้อย ไม่ได้ทำให้รู้สึกอึดอัดมากนัก แค่รู้สึกว่าไม่ราบเรียบ การให้บริการผู้โดยสารยังสามารถทำได้ (ถ้ามั่นใจว่าไม่แรงไปกว่านี้)

Moderate Turbulence

เริ่มมีความรู้สึกไม่สบายในการนั่ง อาจมีการเหวี่ยงแล้วรู้สึกว่าสายรัดเข็มขัดต้องดึงตัวเราติดกับเก้าอี้ไว้ แก้วน้ำเลื่อนเปลี่ยนที่

Severe Turbulence

ผู้โดยสารน่าจะรู้สึกอึดอัดเนื่องจากมีการเหวี่ยงมาก อาจมีตัวลอย ถ้าไม่ได้รัดเข็มขัดนิรภัย (หลายคนคงจับเก้าอื้แน่น) น้ำกระฉอกแล้วหกออกจากแก้ว สิ่งของที่ไม่ได้รัดหรือยึดไว้ให้แน่นจะเคลื่อนย้าย 

Extreme Turbulence

อันนี้แรงสุด ๆ นักบินจะไม่สามารถบังคับเครื่องบินได้ เหมือนโดนจับเขย่า สิ่งของในห้องโดยสารก็คงไม่ต้องพูดถึงและถ้าเครื่องบินต้องอยู่ในสภาพของ extreme turbulence นานเกินไป อาจเกิดการเสียหายของโครงสร้างเครื่องบิน (Structural Damage) เรียกง่าย ๆ ว่าเครื่องบินแตกหรือหัก (ขึ้นอยู่กับสถาพความสมบูรณ์ของเครื่องบินและประสิทธิภาพในการซ่อมบำรุงของสายการบินด้วย)

Turbulence อาจหลีกเลี่ยงได้ ด้วยความรู้ ความสามารถ การสังเกต ความเข้าใจในข้อมูล และมาตรฐานในการทำการบิน ซึ่งหมายรวมถึง ประสิทธิภาพของนักบินในการทำการบินด้วย และ Turbulence  บางครั้ง อาจยากเกินกว่าที่จะคาดเดาว่า จะเกิดหรือไม่ และจะเกิดเมื่อไหร่ มีความรุนแรงแค่ไหน Turbulence ประเภทที่คาดเดาไม่ได้นั้น เกิดขึ้นไม่มากนัก แต่อาจจะมีความรุนแรงสูงมากกว่าปกติหลายเท่า ส่วนใหญ่ จะเป็น Turbulence ที่เรารู้และสามารถ detect ได้เราจึงสามารถหลบมันได้อย่างปลอดภัยหรือมีผลกระทบน้อยที่สุด

หนังสือนักบินมีทั้งหมด 5 เล่ม

สั่งซื้อหนังสือผ่าน shopee https://shopee.co.th/apilotbook

https://youtu.be/hHQwYTxaN_A

ติดตาม A Pilot Club ได้ทาง
ยูทูปช่อง Captain Sopon https://www.youtube.com/c/SoponPhikanesuan
เฟสบุ๊ค https://wwwfacebook.com/apilotbook
เว็บไซต์ http://www.apilotclub.com/
เป็นเพื่อนกับเราทางไลน์ออฟฟิศเชียล https://lin.ee/BQyGDbK
ซื้อหนังสือ A Pilot Book ได้ที่ https://shopee.co.th/apilotbook

Tags:

Comments are closed
0
0