ความเห็นต่อร่างนโยบายการบินพลเรือน

ร่างนโยบายการบินพลเรือน

สรุปความคิดต่อร่างฯ เขียนไว้เพื่อเตือนความจำ 30 มิถุนายน 2565
(แชร์ไว้เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับการบินพลเรือน)

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 ได้มีโอกาสรับเชิญเข้าร่วมพิเคราะห์ให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างนโยบายการบินพลเรือนฉบับแรกของไทย ความที่นโยบายเป็นแผนระยะเวลานานถึง 15 ปี ความคาดหวัง (ส่วนตัว) คือน่าจะเห็นแนวคิดในการพัฒนาระบบการบินพลเรือนของประเทศไทยในภายภาคหน้า หลังจากที่ได้อ่านซ้ำไปซ้ำมาร่างฯที่ได้รับการเผยแพร่เพื่อรับข้อคิดเห็นแล้ว จึงตัดสินใจตกลงเข้าร่วมให้ความเห็นในวันจัดงาน

งานเสวนาระดมความคิดเห็นที่มีต่อ “ร่างประกาศคณะกรรมการการบินพลเรือน เรื่อง นโยบายด้านการบินพลเรือนของประเทศ พ.ศ. 2565-2580” … นโยบายด้านการบินพลเรือนฉบับแรกของประเทศไทย!!!

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 1300-1700 ณ ห้องประชุมแคแสด อาคารกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (ตึกอธิการบดี)  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยเครือข่ายวิชาการด้านการบินพลเรือน

NTCAD เครือข่ายเพื่อการพัฒนาการบินพลเรือนของประเทศไทย

ในงานเปิดด้วย Zoom VDO conference โดยผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนกล่าวปูพื้นคร่าวๆและแถลงต่อโดยรองผู้อำนวยการฯ ถัดมาเป็นเครือข่ายวิชาการท่านอาจารยจากม.เกษตร ม.ธรรมศาสตร์ และผม (นักวิชาการอิสระ)

สรุปคร่าวๆข้อมูลที่ผมนำเสนอไปในช่วงแรกเรื่อง Aviation Initiatives 

-การมีเครื่องบินที่บังคับจากระยะไกล (Remote Pilot)

-การมีหอบังคับการบินที่บังคับจากระยะไกล (Remote ATC)

-จากการติดตามศึกษาเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม CORSIA-State Action Plan ของหลายๆประเทศ เน้นนโยบายการลดการปลดปล่อยก๊าซ CO2 กันในหลายรูปแบบ และหนึ่งในหัวข้อที่ประเทศผู้นำทางการบินอย่าง อังกฤษ อเมริกา ญี่ปุ่น ได้กล่าวถึงการผลักดันในการใช้น้ำมันชนิดใหม่ที่เรียกว่า SAF (Sustainable Aviation Fuel)

SAF ได้รับการทดลองใช้กับเครื่องบินและเครื่องยนต์หลายประเภททั้ง Airbus และ Boeing เครื่องยนต์ RollsRoyce Trent 1000 ขึ้นบินโดยใช้เชื้อเพลิงชนิดนี้ทำการบินกับโบอิ้ง 747 ต่อไปน้ำมัน SAF จะถูกผลักดันให้ใช้อย่างแพร่หลายเพราะมันสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซ CO2 ได้อย่างมีนัยสำคัญ เพราะน้ำมัน SAF นั้นถูกผลิตจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว ไขมันสัตว์และสาหร่ายบางชนิด คือผลิตจากของเหลือใช้ทั้งหมด (made from 100% waste and resudues) และไม่มีส่วนในการปล่อย Sulphur ในอากาศด้วย ปัจจุบัน SAF อาจจะมีราคาสูงแต่เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะสามารถพัฒนาเพื่อใช้ทดแทนน้ำมันได้จริงๆ ข้อดีที่สุดที่ทุกฝ่ายพยายามผลักดัน เพราะ SAF ลดการปล่อยก๊าช คาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ และ อนุภาคขนาดเล็ก (particular matters) ที่เราเรียกกันว่า PM 2.5 

-Hydrogen Propulsion เครื่องยนต์ที่สันดาปด้วยเชื้อเพลิงไฮโดรเจน บริษัท แอร์บัส กำลังพัฒนาทดลองการใช้ไฮโดรเจนแทนน้ำมันปัจจุบัน วิธีนี้ถือเป็น Zero Emission คือ ไม่มีการปล่อย CO2 เลย โครงการ ZEROe ของแอร์บัสนี้จะต้องมีการปรับแต่งภายในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์เจ็ต (Cumbusion Chamber) และปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือการบรรจุไฮโดรเจนเหลว การเกิดขึ้นของการใช้พลังงานไฮโดรเจนอาจทำได้จริง แอร์บัสเชื่อว่าเค้าจะทำสำเร็จภายในปี 2035

-VTOL/eVTOL Vertical Takeoff and Landing (electric) เครื่องบินหรือยานพาหนะที่ขึ้นลงในทางดิ่ง และ

-UAS Unmanned Aircraft System รวมถึงโดรน ทั้ง VTOL และ UAS ถือเป็นนวัตกรรมที่จะมาแรงในอนาคตและถึงขึ้นที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจการขนส่งทางอากาศในทุกรูปแบบ ผมทิ้งคำถามไว้ในหัวข้อนี้ว่า ประเทศไทยเรานั้นมีขึ้นตอนวิธีการในการส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมการบินนี้อย่างไร จะเรียกว่าประเทศเรานั้นส่วนของ General Aviations แถบไม่มีการเจริญเติบโตเลย หาก VTOL มีการผลิตอย่างแพร่หลาย แต่กฏหมายของประเทศไม่เอื้อให้เกิดขึ้น โอกาสที่นักธุรกิจหรือ start-up ของไทยจะเข้าสู่การแข่งขันจึงแทบเป็นไปไม่ได้เลย เอาง่ายๆเลยว่า Regulations and Certifications ทำอย่างไร มีวิธีการแล้วหรือยัง

ต่อมาเป็นช่วงการแสดงความคิดเห็นต่อร่างนโยบายฯ 

ผมได้รับเกียรติให้เสนอความเห็นเป็นคนแรกและได้นำเสนอในภาพรวมของร่างนโยบายฯฉบับนี้ว่า

นโยบายซึ่งจะเป็นแผนระยะยาวถึง 15 ปีนั้นควรครอบคลุมทุกภาคส่วนของการบินพลเรือน เนื้อหาภายในร่างฯนั้น ไม่ครอบคลุมการพัฒนาส่วนราชการอีกสองส่วนที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาการบินพลเรือน ได้แก่

AAIC Aircraft Accidents and Incidents Investigation Committee ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ร้ายแรงภายในราชอาณาจักร หากหน่วยงานนี้ไม่ได้รับการส่งเสริมให้มีศักยภาพจึงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะพัฒนาการบินพลเรือนให้ครบวงจร เพราะการสืบหาสาเหตุเพื่อป้องกันอุบัติเหตุในอนาคตนั้นเป็นหลักสำคัญยิ่งต่อวงจรความปลอดภัยทางการบิน จะเห็นวาคะแนนในส่วนนี้ตามการตรวจสอบมาตรฐานโดย ICAO นั้น ประเทศไทยได้คะแนนไม่ถึง 50% ด้วยซ้ำ และชัดเจนว่าหน่วยงานยังไม่ได้รับการสนับสนุนให้เพิ่มศักยภาพ (เราไม่สามารถค้นหารายงานการสอบสวนเหตุการณ์ต่างๆทางการบินที่เกิดขึ้นในประเทศไทยได้เลย)

อีกหนึ่งหน่วยงานคือ SAR (Search and Rescue) ควรบรรจุแผนพัฒนาลงไปด้วยเช่นกัน

Aviation Security ถูกมองข้ามไป 

ภัยคุกคามในการบินพลเรือนในเรื่องต่างๆ (Aviation Security) ไม่ถูกพูดถึงเลยในร่างนโยบายฉบับนี้ มีเพียงการขอกำลังพลในหน้า 6 ข้อ 3 (Unruly Pax, Airport Security Bleached etc.) Security นั้นเปรียบเสมือนรั้วของบ้านหากไม่แข็งแรงภัยคุกคามจะเข้าทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อการปฏิบัติการได้ทุกเมื่อ 

ด้าน Environmental Pretection ก็ขาดความสำคัญในเชิงนโยบาย ควรกล่าวถึงมลภาวะอื่นๆด้วย เช่น มลพิษทางอากาศ Particular Matter (PM 2.5) และการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนเชื้อเพลิง (ใน CORSIA State Action Plan ของหลายประเทศเน้นเรื่องการใช้ Sustainable Aviation Fuel (SAF) แม้ว่าปัจจุบันจะยังมีต้นทุนการผลิตสูง แต่การวิจัยพัฒนาจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหากเอกชนเข้าร่วมศึกษาในเชิงธุรกิจ และรัฐควรให้การสนับสนุนเพื่อประโยชน์ของชาติ 

นโยบายฯควรมีแผนการกระจายความเจริญด้านการบินไปยังภูมิภาค ผ่านการพัฒนาสนามบินในแต่ละพื้นที่ ไม่จำเป็นที่สนามบินหลักจะต้องถูกกำกับโดย AOT เท่านั้น กรมท่าอากาศยานควรได้รับการสนับสนุนเพื่อกระจายการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว หรืออาจให้สัมปทานกับเอกชนเข้ามาบริหารสนามบินได้เช่นเดียวกับในหลายประเทศ 

การกำกับฯ ในหน้า 2 ข้อ 4 โดย กำหนดให้ CAAT เป็นผู้รับผิดชอบกำกับนโยบายฯนั้น อาจไม่สามารถครอบในส่วนของ AAIC และ SAR ได้

สุดท้ายคือ นโยบายฯ มุ่งเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสายการบินเป็นหลักไม่กล่าวถึงส่วนอื่นๆทางการบินเลย การบินพลเรือนนั้นไม่ใช่แค่ธุรกิจแอร์ไลน์ การบินเพื่อการกีฬา การบินเพื่อการเกษตร การท่องเที่ยว ฯลฯ 

ส่วนของ General Aviation นั้นสามารถร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้ไม่น้อยไปกว่าสายการบิน และในขณะเดียวกันก็สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาบุคลากรทางการบินเพื่อป้อนให้กับธุรกิจการบินพลเรือนได้มากขึ้นด้วย (การจ้างงานบุคลากรการบินเพิ่มขึ้น)  และโดยเฉพาะเรื่องอากาศยานขึ้นลงทางดิ่ง (VTOL/eVTOL) และการใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAS) ควรมีแผนการรับรองและแผนการพัฒนาเพื่อรับมือกับนวตกรรมในส่วนนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทของไทยสามารถเริ่มพัฒนาและเข้าแข่งขันกับตลาดโลกได้โดยเร็ว

นอกจากนั้นเป็นการให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อความในร่างฯ ผมเขียนโน้ตกำกับไว้ตามรูป
ความเห็นเหล่านี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์ได้บ้างไม่มากก็น้อย
กัปตันโสภณ พิฆเนศวร
นักบิน (วิชาการ) อิสระ

เสวนาผ่านการระดมความคิดต่อร่างนโยบายการบินพลเรือนฉบับแรกของไทย ห้องประชุมแคแสด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และผ่านแอปพลิเคชั่นซูม
หนังสือนักบินมีทั้งหมด 5 เล่ม

สั่งซื้อหนังสือผ่าน shopee https://shopee.co.th/apilotbook

https://youtu.be/hHQwYTxaN_A

ติดตาม A Pilot Club ได้ทาง
ยูทูปช่อง Captain Sopon https://www.youtube.com/c/SoponPhikanesuan
เฟสบุ๊ค https://wwwfacebook.com/apilotbook
เว็บไซต์ http://www.apilotclub.com/
เป็นเพื่อนกับเราทางไลน์ออฟฟิศเชียล https://lin.ee/BQyGDbK
ซื้อหนังสือ A Pilot Book ได้ที่ https://shopee.co.th/apilotbook

Tags:

Comments are closed
0
0