Takeoff หรือ Landing

Takeoff หรือ Landing 

อันไหนยากง่ายกว่ากัน 

และอันไหนมีความเสี่ยงสูงกว่า

คนส่วนใหญ่มักรู้สึกว่าการร่อนลงจอด (Landing) มีความเสี่ยงสูง แต่ในทางทฏษฏีและสถิติด้านการบินแล้วการวิ่งขึ้นจากสนามบิน(Takeoff) นั้นมีความเสี่ยงมากกว่าค่อนข้างมาก การ Landing นั้นจริงอยู่ว่าสำหรับนักบินแล้วยากกว่าการ Takeoff  เพราะการ Landing นักบินต้องบังคับเครื่องบินจากอากาศลงสู่พื้น คิดแบบเชิงเปรียบเทียบคือ จากพื้นที่กว้างๆบนฟ้าลงมาสู่พื้นดินแคบๆ เพียง 40-60 เมตรแต่การ takeoff คือบังคับเครื่องบินจากพื้น Runway ขึ้นสู่ท้องฟ้าที่กว้างใหญ่ มันเป็นความรู้สึกเชิงเปรียบเทียบเท่านั้น

จริงอยู่ที่การ Landing ต้องใช้ทักษะในการบังคับเครื่องบิน (Flying skill) มากกว่าตอน takeoff และต้องทำงานหลายอย่างพร้อมๆกัน (Multi-Tasking skill) เพื่อให้เครื่องบินลงสู่พื้นและหยุดอย่างปลอดภัยบน runway

ปัจจัยเรื่องฝน ฟ้า อากาศและลมที่พัดแรงล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้นักบินทำงานยากขึ้น

แต่ปัจจัยต่างๆนั้น ก็ถูกกำหนด หรือจำกัด (Limitation) กำกับเอาไว้ เพื่อให้การ Landing สามารถทำได้อย่างปลอดภัยด้วยสมรรถนะความสามารถของเครื่องบินและนักบินที่จะทำการบินได้ (Performance and Capability) ตัวอย่างเช่น

ความแรงของลมที่ขวางสนาม ไม่เกิน 30 หรือ 40 knots แต่ก็มีเรื่องสัมประสิทธิแรงเสียดทานของยางที่กระทำกับผิวของ runway (Braking co-efficient) ประมาณว่า ถ้าพื้น runway ลื่นมากก็จะมี limit x-wind landing ต่ำลง (เครื่องบินแต่ละแบบมี limit x-wind ที่แตกต่างกัน แล้วแต่ว่าได้รับการ certified จากบริษัทผู้ผลิตเท่าไหร่)

  ทัศนวิสัย (Visibility) ทั้งด้านแนวตั้ง (Vertical) และแนวนอน (Horizontal) แต่โดยส่วนใหญ่ เมื่อเรากล่าวถึง Visibility เดี่ยว ๆ จะหมายถึง ทัศนวิสัยแนวนอนหรือแนวราบ การร่อนลงสู่สนาม (Approach to Land) นั้น มีวิธีการบินหลายแบบแล้วแต่การออกแบบและข้อจำกัดในการออกแบบการทำ approach ซึ่งเกี่ยวข้องกับสภาพภูมิประเทศเป็นหลัก เปรียบเทียบง่าย ๆ เหมือนว่า ตัดถนนหลายสาย เข้าหาตัวเมือง และบางเส้นทางของถนนอาจมีข้อจำกัดในเรื่องของความกว้างใหญ่ของถนนหรือวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทำทางว่าคุ้มค่าแก่การลงทุนหรือได้ใช้ประโยชน์เต็มที่หรือไม่แค่ไหน อาทิเช่น

หากสภาพอากาศที่สถานที่ตั้งของสนามบินมักเกิดสภาพอากาศที่มีทัศนวิสัยต่ำ (Low Visibility) อยู่เสมอๆ สนามบินนั้นก็จะสร้างอุปกรณ์นำร่องที่มีความละเอียดในการนำร่องมากขึ้นเพื่อสามารถนำทางให้เครื่องบินสามารถร่อนลงได้แม้ว่าทัศนวิสัยจะเกือบมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าของคนแล้วก็ตาม บางสนามบินสามารถให้เครื่องบินทำการ landing ได้ด้วย visibility เป็น ศูนย์ เลยทีเดียว และแน่นอนว่า ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษาอุปกรณ์ย่อมแพงขึ้น รวมทั้งเครื่องบินเองก็ต้องได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ที่สอดคล้องกันด้วยเช่นกัน

ย้อนกลับมาที่ค่าขั้นต่ำที่ถูกกำหนดไว้ตามวิธีการบินที่ได้รับการรับรองจากกรมการบินพลเรือน เราเรียกว่า ค่า Minimum visibility ซึ่งมีหลายค่าแล้วแต่ type of approach เช่น NDB or VOR approach, Localizer approach, ILS approach (Category I,II,III) ทุก approach นั้นมีค่า minimum ของ visibility ที่แตกต่างกัน และใช้เครื่องบินต่างแบบก็มีค่าแตกต่างกันด้วย เหมือนเราใช้ถนนเส้นไหน ทางลูกรังหรือคอนกรีต หรือใช้รถอะไรบนถนนเส้นนั้น ความเร็วของรถกับการเข้าโค้ง เป็นโค้งหักศอก เอียงรับ หรือเทออก แบบนี้เป็นต้น

สรุปๆ ถ้าทัศนวิสัยต่ำกว่าที่ได้รับอนุญาตให้บินได้เครื่องบินก็จะไม่ทำการ approach รวมทั้ง ที่ค่าความสูง ความสูงหนึ่ง นักบินต้องมองเห็นพื้น runway เพื่อให้นักบินมีทัศนวิสัยแนวเฉียง (Slant Visual Range) เพียงพอที่จะมองเห็นพื้นสนามบิน

นักบินจึงจะนำเครื่องบินลงสนามต่อไปได้ เราเรียกค่านั้นว่า Minimum Altitude หรือ Decision Altitude มีหลายแบบอีกครับ

เอาเป็นว่าเป็นค่าความสูงเหนือพื้นที่ใช้ตัดสินใจว่า จะลงได้อย่างปลอดภัย หรือจำเป็นต้องนำเครื่องบินบินขึ้นใหม่ (Go-Around) เพราะฝืนลงต่อจะไม่ปลอดภัย อีกนิดครับ ถ้าสนามบินและเครื่องบินติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถทำการบินได้ถึง ILS Cat IIIB ค่า Minimum Altitude เป็นศูนย์เลย นักบินก็ยังสามารถนำเครื่องบินลงสนามได้อย่างปลอดภัยเช่นกัน เรื่องพวกนี้นักบินต้องได้รับการฝึกฝนมาแล้วทั้งนั้นก่อนการบินจริงๆ และต้องมีความรู้ในการตรวจสอบระบบต่าง ๆ ที่ต้องทำความเข้าใจก่อนปฏิบัติงานอีกมากมาย

การลงสนามด้วย ILS Cat II approach 

วันนี้บินลงสนามด้วย Minimum Decision Height 125 feet, Runway Visual Range (RVR) 500 m มองเห็นชัดเจนเพียงร้อยกว่าเมตร แต่ด้วยระบบไฟและอุปกรณ์ที่ติดตั้งเพื่อให้นักบินมองเห็นได้ไกลขึ้นว่าส่วนไหนเป็นกึ่งกลางทางวิ่ง(Runway Centerline) เป็นขอบทางวิ่ง (Runway Edge) หรือเป็นกึ่งกลางของทางขับ (Taxiway Centerline) และขอบทางขับ (Taxiway Edge) ด้วยการใช้หลอดไฟที่มีกำลังส่องสว่างมากและให้สีที่มีความแตกต่างกันออกไป

Tags:

Comments are closed
0
0