Tag: United Airlines

ลำตัวเครื่องบินเหมือนหลอดกระดาษ

เครื่องบินลงกระแทกอย่างแรง ทำให้ลำตัวเครื่องบินเกิดความเสียหาย การกระแทกพื้นจากการลงสนามที่ผิดพลาดอาจเกิดได้หลายสาเหตุปัจจัย อาทิ การที่สภาพอากาสไม่ดีทำให้การลงสนามมีความยากเพิ่มขึ้นและนักบินไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทันจนเกิดการสัมผัสพื้นที่แรงกว่าปกตอ หรือจากการที่นักบินบังคับเครื่องบินผิดพลาดประมาณว่า ประสบการณ์น้อย ฝีมือยังไม่ดี บินไม่เก่งว่างั้นก็ได้ ภาพด้านล่างนี้จากเครื่องบิน 767 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เป็นเครื่องบินรุ่นเก่า และใช้งานมานานกว่า 30 ปี จะว่าไปการที่เครื่องบินเก่าไม่ใช่ปัญหาเพราะระบบการบำรุงรักษานั้นค่อนข้างเข้มงวดอยู่แล้วเรื่องการกำกับมาตรฐานความปลอดภัย แต่กรณีที่ลงกระแทกแรงๆ จนเกินกว่าที่โครงสร้างเครื่องบินถูกออกแบบและกำหนดเป็นมาตรฐานไว้ เช่น มากว่า 4G 5G หรือเท่าไหร่ก็แล้วแต่ เครื่องบินเก่าย่อมทนแรงหรือลิมิตต่ำกว่าเครื่องบินลำใหม่ๆแน่นอน กรณีการกระแทกรุนแรง ในบางครั้งก็ถึงขนาดว่าล้อของเครื่องบินกระแทกทะลุเข้ามาภายในลำตัว หรือทำให้เกิดน้ำมันรั่ว ปีกแตก หรืออย่างภาพนี้คือ ลำตัวยู่ยี่ เพราะการกระแทกโดยที่ส่วนของลำตัวถูกสะบัด เหมือนเราสะบัดหลอด ถ้าเราสะบัดหลอดไปกระแทกหรือสัมผัสสิ่งของหลอดก็จะเกิดการพับ ถ้าเป็นหลอดพลาสติกเราอาจไม่เห็นรอยพับเพราะความยืดหยุ่นของพลาสติกทำให้มันกลับคืนสู่สภาพเดิม ลำตัวเครื่องบินเหมือนหลอดกระดาษ เพราะความยืดหยุ่นจะต่ำกว่าพลาสติก หากหักพับแล้วไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ ภาพจาก https://onemileatatime.com/ AIRCRAFT MADE A HARD LANDING AND POST FLIGHT INSPECTION REVEALED DAMAGE TO THE FUSELAGE สายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ วันที่ 29 กรกฎาคม 2566 ลงกระแทกพื้นรุนแรง hard landing จนกระทั่งเกิดความเสียหายของลำตัวอ่านข่าวจากavheraldonemileatatime

ลูกไฟหล่นออกจากปีกเครื่องบิน B777 ของยูไนเต็ดแอร์ไลน์

21 Sep 2022 เครื่องบินโบอิ้ง 777 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์เที่ยวบิน UA149 บินขึ้นจากสนามบินนิวยอร์ค Newark ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อไปเมืองเซาท์เปาโล ประเทศบราซิล ในทันทีที่เครื่องบินลอยขึ้นสู่อากาศขณะที่กำลังพับเก็บฐานล้อของเครื่องบิน (retracting landing gear) ก็เกิดประกายไฟร่วงหล่นลงมาจากบริเวณปีกด้านซ้ายของเครื่องบินลำดังกล่าว โดยมีผู้ถ่ายวิดีโอสั้นในขณะเกิดเหตุขึ้นได้ (ดูคลิป) คลิปวิดีโอจากทวิตเตอร์ @AeroXplorer หลังเกิดเหตุนักบินของเที่ยวบิน UA149 ได้แจ้งว่าเครื่องบินเกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบไฮโดรลิคและจำเป็นจะต้องกลับไปลงสนามบิน เครื่องบินโบอิ้ง B777 ไต่ระดับขึ้นไปที่ความสูง 24,000 ฟุตและไปบินวนอยู่เหนือมหาสมุทรแอตแลนติกกว่าหนึ่งชั่วโมง ก่อนที่จะกลับมาลงสนามบินนิวยอร์คที่เพิ่งบินขึ้นไป โดยใช้เวลาบิน 2 ชั่วโมง 3 นาที เหตุการณ์ในลักษณะนี้นักบินจำเป็นจะต้องทำการบังคับเครื่องบินให้ปลอดภัยเป็นลำดับแรก ปัญหาของระบบไฮดรอลิคที่เสียหายนั้นอาจไม่ได้ทำให้การควบคุมเครื่องบินยากลำบากขึ้นมากนัก ขึ้นอยู่กับว่าระบบไหนที่เสีย ปกติบนเครื่องบินจะมีการแยกระบบไฮดรอลิกออกเป็นหลายๆส่วน (system) เพื่อไม่ให้เสียหายไปพร้อมกันทั้งหมดจนไม่สามารถควบคุมเครื่องบินได้ ดังนั้นความรุนแรงของเหตุการณ์นี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าความเสียหายของระบบไฮดรอลิคนั้นสร้างความปั่นป่วนให้กับระบบอื่นๆของเครื่องบินมากน้อยแค่ไหน เพราะระบบไฮดรอลิคนั้นจะเป็นตัวช่วยในการทำงานของหลายๆส่วน (แยกระบบไฮดรอลิค) เช่น landing gear หรือระบบพับและกางฐานล้อ , flight controls เป็นระบบความคุมการบังคับท่าทางต่างๆของเครื่องบิน หรือระบบเบรค ซึ่งแต่ละระบบเหล่านั้นจะมีระบบไฮดรอลิคมากกว่าหนึ่งระบบในการเข้าช่วยในการทำงาน ประมาณว่า มีสายไฮดรอลิคหลายเส้นและแต่ละเส้นแยกออกจากกัน เมื่อนักบินพบว่าเกิดปัญหา ก็จะต้องนำเครื่องบินไปบินวนในบริเวณใดบริเวณหนึ่งอย่างเช่นกรณีนี้ บินวนอยู่เหนือทะเล และทำขั้นตอนใน malfunction checklist เพื่อที่จะวิเคราะห์ต่อไปว่า ระบบใดอีกบ้างที่ถูกลดทอนประสิทธิภาพไปเนื่องจากการสูญเสียระบบไฮดรอลิคไป หากหลายๆระบบถูกกระทบ checklist ก็จะมีความยุ่งยากในการจัดการไปด้วย และโดยเฉพาะหากน้ำหนักของเครื่องบินนั้นเกินกว่าน้ำหนักลงสนามสูงสุด (Maximum Landing Weight) การเผาผลาญน้ำมันให้น้ำหนักน้อยลงก็มีความจำเป็น หรือในเครื่องบินบางแบบก็สามารถที่จะทิ้งน้ำมันออกไปทางด้านปลายปีกได้ด้วยเรียกว่า fuel jettisoning […]

สายการบินที่ปลอดภัยที่สุดประจำปี 2022

สายการบินที่ปลอดภัยที่สุดประจำปี 2022 The World’s Safest Airlines for 2022 เว็บไซต์ AirlineRating.com ทำการประเมินเพื่อจัดอันดับสายการบินชั้นนำของโลกเป็นประจำทุกปีได้ ประกาศผลการพิจารณา 20 ลำดับสายการบินที่ทำการบินปลอดภัยที่สุดในโลกประจำปี 2022 โดยพิจารณาจาก อุบัติเหตุ (accident) ของสายการบินในรอบ 5 ปี อุบัติการณ์ร้ายแรง (seriuos incident) ในรอบ 2 ปี การผ่านการตรวจสอบมาตรฐานสายการบินโดยองค์กรของรัฐ มาตรการความปลอดภัยของสายการบิน ค่าเฉลี่ยอายุของเครื่องบินที่ใช้ทำการบิน และ มาตรการความปลอดภัยที่เกี่ยวเนื่องกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 และผลการประเมินถูกประกาศออกมาดังนี้ 1. สายการบินแอร์นิวซีแลนด์ (Air New Zealand) 2. สายการบินเอธิฮัด (Etihad Airways) ของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 3. สายการบินกาตาร์แอร์เวย์ (Qatar Airways) 4. สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ (Singapore Airlines) 5. สายการบินแทปแอร์โปรตุกัล (TAP Air Portugal) 6 สายการบินเอสเอเอส (SAS) 7 สายการบินแควนตัส (Qantas) 8 สายการบินอลาสก้าแอร์ไลน์ (Alaska Airlines) 9. สายการบินอีวาแอร์ (EVA air) 10. สายการบินเวอร์จิ้นออกสเตรเลีย เวอร์จิ้นแอตแลนติค (Virgin Australia/Atlantic) […]

0
0