Tag: learn to fly

Airmanship

จากบทความเรื่อง “Airmanship ฉบับโสภณ” หนังสือ A Pilot Book by Captain Sopon Phikanesuan (ซื้อหนังสือได้ที่ shopee และ facebook page (ลาซาด้าไม่ได้วางจำหน่าย) คำว่า Airmanship แปลตามพจนานุกรม หมายถึง ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ และวิธีการทำงานที่ทำให้การควบคุมเครื่องบินมีความปลอดภัย อันนี้ผมพยายามแปลตรง ๆ ดู ตามหนังสือเขาว่าไว้ว่า Airmanship ประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ ทักษะในการทำงานและรวมถึงความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบิน (Skill) ความเชี่ยวชาญหรือประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงความสามารถในการนำความรู้ไปใช้งาน (Proficiency) และความมีระเบียบวินัยในการปฏิบัติงาน (Discipline) ผมว่าเขียนตามหลักวิชามันน่าเบื่อ เหมือนเอาหนังสือมาแปลให้อ่าน เขียนตามความเข้าใจและที่อยากให้คนอ่านเข้าใจดีกว่า (ว่าแล้วก็ปิดตำรา และมาต่อกันที่ความเข้าใจส่วนตัวละกันครับ) ถ้าจะให้อธิบายความหมายจากความรู้สึกส่วนตัวจริง ๆ ไม่อิงตำราหรือหนังสือที่ไหน Airmanship ผมขอแปลว่า  “กึ๋น” ครับ สั้น ๆ เลย Airmanship มันคือ กึ๋นในการทำงานของนักบิน มันเป็นตัวบอกว่า นักบินคนนั้น เป็นนักบินที่ดีหรือไม่ มีการทำงานที่มีช่องโหว่แห่งอุบัติเหตุหรือไม่ จริง ๆ การบินเป็นอะไรที่ง่ายและไม่ซับซ้อน ถ้ารู้และเข้าใจ รวมทั้งรู้ศักยภาพของตัวเองด้วย (อันสุดท้ายนี่สำคัญมาก) การบินเพื่อให้ทุก ๆ เวลามีความเสี่ยงภัยน้อยที่สุด หรือลดดีกรีความรุนแรงของปัญหาให้เร็วที่สุดและมากที่สุด การบินเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย และมีความซับซ้อนมากที่สุดเช่นกัน โดยเฉพาะกับนักบินที่ยังขาด Airmanship ที่ดี และอีกพวกคือพวกที่มีความมั่นใจไร้สติ (Overconfidence) พวกนี้มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุมากที่สุด เพราะอาจจะทำอะไรที่เป็นการแหกกฏ […]

นักบินหญิงในอินเดีย

8 ตุลาคม 2565 รู้หรือไม่ อินเดียมีนักบินผู้หญิงเป็นสัดส่วนมากที่สุดในโลกเลยทีเดียว อินเดียมีนักบินเป็นผู้หญิงถึง 12.4% ซึ่งนับว่ามากกว่าอัตราเฉลี่ยของทั่วโลกถึงสองเท่า ตัวอย่างเช่น แอร์ฟรานซ์มีนักบินหญิงอยู่ประมาณ 7% Lufthasa และ KLM มีเพียง 6%เท่านั้น ของไทยมีเท่าไหร่ไม่ทราบนะครับ ต้องลองถามทาง CAAT ดู สำนักข่าวยูโรนิวส์ออกวิดีโอสัมภาษณ์กัปตัน Zoya กัปตันหญิงของสายการบินแอร์อินเดีย เผื่อจะเป็น inspirations ให้กับน้องๆที่อยากเป็นนักบินลองไปดูกันครับ

การลงสนาม (ที่ไม่ปลอดภัย)

Unwonted Landing การลงสนามที่ไม่ปกติ ไม่ธรรมดา หรือไม่เป็นที่น่าพอใจ ไม่อยากให้เป็นหรือไม่อยากให้เกิดขึ้น ในปกติเวลาเครื่องบินทำการบินลงสนาม เครื่องบินต้องมีการลดความเร็วให้พอเหมาะที่จะทำการสัมผัสพื้นรันเวย์และทำการเบรคเพื่อหยุดให้ปลอดภัย ซึ่งหมายถึงการใช้กำลังเครื่องยนต์ที่เหมาะสมกับน้ำหนักเครื่องบินและการเตรียมการเกี่ยวกับ configulations ต่างๆของเครื่องบินเช่น การเพิ่มพื้นที่ผิวปีก (กาง flaps) , arm* autobrake, arm spoilers/speedbrakes, กางฐานล้อ (landing gears) เป็นต้น เมื่อเครื่องบินพร้อมที่จะลงสนามคือระบบต่างๆถูกตั้งค่าให้พร้อม เรียกว่า landing configulation (*Arm หมายถึงการสั่งให้ระบบนั้นๆพร้อมที่จะทำงานเมื่อเงื่อนไขครบ อาทิเช่น การ arm autobrake ระบบเบรคจะทำงานในทันทีที่ล้อสัมผัสพื้นและเกิดการหมุนของล้อที่ความเร็วที่กำหนด ไม่ใช่การจับล้อเอาไว้ให้หยุดตั้งแต่อยู่บนอากาศเพราะหากล้อไม่หมุนในขณะสัมผัสพื้นจะทำให้หน้ายางถูกเฉือนหายไปและทำให้ยางแตกได้ในที่สุด การ arm spoilers/speedbrakes ก็เช่นเดียวกัน spoilers หรือ speedbrakes จะทำงานเมื่อเงื่อนไขในการทำงานครบตามที่ระบบตั้งไว้) เวลาลงสนามถ้าสภาพอากาศดี ทัศนวิสัยเยี่ยม ลมสงบ หัว-ลำตัว-หาง ของเครื่องบินก็จะมีทิศทางเป็นแนวเดียวกับรันเวย์ เมื่อถึงขอบสนามเครื่องบินก็จะค่อยๆผ่อนความเร็วและค่อยๆเชิดหัวขึ้นเล็กน้อยเพื่อเข้าสู่ท่าทางในการสัมผัสพื้น เมื่อล้อสัมผัสพื้นแล้วก็จึงเริ่มเบรคเพื่อลดความเร็วลงสู่ safe taxi speed ก่อนที่จะออกจากรันเวย์เข้าสู่ทางขับ (taxiway) (เรื่องคำศัพท์ต่างๆ มีอธิบายในหนังสือ Aviation A-Z หนังสือเล่มที่ 4 ของ A PILOT BOOK ครับ) ถ้าลมมีกำลังแรงแต่มีทิศทางที่มาตรงๆ เครื่องบิน(นักบิน) ก็จะต้องปรับกำลังเครื่องยนต์เพื่อรักษาความเร็วตามที่คำนวณไว้ (ความเร็วมากหรือน้อยสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวของเครื่องบินขณะนั้น) หากความเร็วลมมากเกิน 10-15 knots (แล้วแต่แบบ) ค่า […]

วินาทีที่เริ่มต้นชีวิตการเป็นนักบินอาชีพ

วินาทีที่ศูนย์จุดศูนย์ศูนย์หนึ่ง ในอาชีพนักบิน ตอนที่ผมสอบสัมภาษณ์กับ professor ในช่วงคัดเลือกเป็นนักบินฝึกหัดของการบินไทย (ปี 1992) ในระหว่างการพูดคุยนั้นมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ฝรั่งถามผมว่า คุณเป็นนักวิทยาศาสตร์คิดดีแล้วหรือที่จะมาเป็นนักบิน ผมไม่รู้หรอกว่าฝรั่งที่สัมภาษณ์ผมนั้น เค้าตั้งใจถามเพราะอยากรู้คำตอบจริงๆหรือว่าแค่อยากจะลองเชิงดูว่า เราจะตอบคำถามเค้าอย่างไร ผมมองว่าเค้าต้องการดูวิธีการเรียบเรียงคำตอบ เพื่อที่จะลองปะติดปะต่อเรื่องราวหลายๆอย่างจากข้อมูลคะแนนที่ได้ทำข้อสอบไปเมื่อวาน (ขอไม่พูดถึงเรื่องการสัมภาษณ์ ให้อ่านจากเล่มก่อนหน้านี้โดยเฉพาะเล่ม Part III ครับ) บทความจากหนังสือ 20000 Hours หนังสือ A pilot book เล่มที่ 5 ผมคิดในใจแบบนี้ครับ ไม่ว่าเค้าจะมีวัตถุประสงค์ในการถามว่าอย่างไร แต่การตอบของเราคือ ตอบตามความเป็นจริงเสมอ ผมคิดเอาไว้แบบนั้นตั้งแต่ก่อนที่จะเข้าสัมภาษณ์แล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า ถ้าเราเป็นตัวเราการสอบผ่านการคัดเลือกหมายความว่า เราเหมาะสมที่จะทำสิ่งนั้น (ตามความเห็นของผู้สัมภาษณ์) วันนั้นผมจึงตอบ professor ไปตามตรงว่า “ยังไม่รู้” ครับ ในตอนนั้น ผมยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเครื่องบินและการบินเลยจริงๆครับ เครื่องบินหน่ะรู้จัก สายการบินก็รู้จัก ก็แค่นั่งรถผ่านสนามบินดอนเมืองแล้วมองเห็นฝ่ายซ่อมบำรุงอากาศยานของบริษัทการบินไทย ตอนเป็นเด็กก็แค่นึกอยู่ในใจว่า เครื่องบินมันลำใหญ่จัง มันไปลอยอยู่บนฟ้าได้ยังไง  วันที่ผมพูดคุยกับ professor ผมเคยขึ้นเครื่องบินแค่เพียงครั้งเดียวในชีวิต เป็นการอยู่ใกล้ชิดเกี่ยวกับเครื่องบินมากที่สุด คือการขึ้นเครื่องบินจากสนามบินจังหวัดเลยเพื่อกลับมากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นวันหลังจากที่มีเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ทำให้การลงทะเบียนเรียนปริญญาโทถูกเลื่อนออกไป ตัวผมและเพื่อนซึ่งกำลังรับงานช่วยสำรวจธรณีพื้นฐานอยู่ที่พื้นที่ในจังหวัดเลยและหนองคาย ซึ่งเป็นพื้นที่แหล่งเป้าหมายในการทำเหมืองทองคำในอนาคต เขียนไหลออกนอกทางไปเรื่อยครับ กลับมาที่การขึ้นเครื่องบินครั้งแรก ผมออกจะตื่นเต้นมากด้วยซ้ำตอนที่ขึ้นเครื่องบินวันนั้น จำได้ว่าเป็นเครื่องบินใบพัดลำไม่ใหญ่มาก ตอนนั้นไม่รู้จริงๆว่ามันคือเครื่องบินรุ่นอะไร  ตอนที่นั่งอยู่บนเครื่องระหว่างที่บินกลับมาสนามบินดอนเมืองก็ยังคิดไปเรื่อยเกี่ยวกับเครื่องบิน แล้วสักพักก็มีเสียงกัปตันประกาศว่าเครื่องบินจะต้องล่าช้าเล็กน้อยเพราะมีเครื่องบินมาลงสนามพร้อมๆกัน ผมก็จึงได้รู้สึกว่า เครื่องบินมันบินวนมาที่เดิมจริงๆ  ตรงนี้ทำให้คิดว่า แล้วนักบินเค้ารู้ได้ยังไงว่ะ ว่าสนามบินมันอยู่ตรงไหน บินวนไปวนมาตั้งหลายรอบแล้ว  “ถนนบนฟ้ามันขีดเส้นไว้ยังไงกัน” เร่ิมนับวินาทีที่  “ศูนย์จุดศูนย์ศูนย์หนึ่ง”  […]

ความกลัว ความกังวลและความเครียด

ความเครียดกับการเป็นนักบิน สำหรับคนที่ติดตามอ่านเรื่องที่ผมเขียนตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา  ก็คงจะพอรับรู้ได้บ้างว่าการเป็นนักบินนั้นมีความเครียดเวลาที่มีสถานการณ์ไม่ปกติ แต่ “ความเครียดกับการเป็นนักบินไม่ใช่ของที่ควรอยู่คู่กัน” ก่อนอื่นผมขอนิยาม คำว่า  “ความกลัว ความกังวล ความเครียด” ตามแนวความคิดของผมแบบนี้ครับ ความกลัวเกิดจาก ความไม่รู้ หรือไม่สามารถประเมินได้ว่า จะมีอันตรายหรือรุนแรงแค่ไหน หรือจะเป็นความกลัวที่เกิดจากการคาดคะเนด้วยมโนภาพหรือจินตนาการไปต่าง ๆ นานา แบบกลัวผี โดยที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง หรือ ตรรกะตามข้อเท็จจริงใด ๆ เลยก็ได้ ความกังวลเกิดจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์ ไม่สามารถคาดเดาผลลัพธ์ หรือไม่มีข้อมูลเพียงพอให้เชื่อมั่น หรือยังยืนยันไม่ได้ ไม่เห็นด้วยตาตัวเองประมาณนี้เป็นต้น ความเครียด อาจเป็นการสะสมรวมกันของความกังวลและความกลัว โดยที่ไม่สามารถหาเหตุผลมาหักล้างหรือสนับสนุนให้เกิดความเชื่อมั่น โดยอาจมีเรื่องของเวลาเข้ามาเป็นตัวตีกรอบหรือเป็นสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลาย ๆ เรื่องรวม ๆ กัน นักบินก็เป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความกลัว ความกังวล หรือความเครียดนั้นย่อมเกิดขึ้นได้ แต่นักบินต้องมีวิธีบริหารจัดการมันให้ได้ในเวลาที่มีจำกัด โดยเฉพาะเมื่ออยู่บนเครื่องบิน นักบินต้องบริหารจัดการทั้งความกลัว ความกังวล และความเครียดได้ เอาทีละเรื่องเลยครับ “ความกลัว เกิดจากความไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง” ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบิน การแก้ปัญหาเรื่องความกลัวในการบิน ก็ต้องแก้ด้วยการศึกษาและฝึกฝนตนเองให้รู้อย่างถ่องแท้ตามลำดับขั้นตอนที่จำเป็นต้องรู้ อาทิเช่น ก่อนขึ้นบินครั้งแรก โรงเรียนการบินเค้าสอนอะไร นั่นแหละคือสิ่งที่ต้องรู้ ก่อนนั่งในเก้าอี้นักบิน เรียนให้รู้และเข้าใจ ground school ก่อนการขึ้นบินครั้งแรกคือ สิ่งจำเป็นสำหรับการขับเครื่องบิน แม้ว่าจะขึ้นบินกับครูก็ตามที ก่อนปล่อย solo ก็ต้องเรียนรู้ทฏษฎีและกฏระเบียบด้านการบินมาหมดแล้ว วงจรการบินเป็นอย่างไร downwind ห่างเท่าไหร่ เมื่อไหร่ต้อง turnbase ดูอย่างไรเพื่อเลี้ยวเข้า […]

1 2 3 9
0
0