Tag: hard landing

ลำตัวเครื่องบินเหมือนหลอดกระดาษ

เครื่องบินลงกระแทกอย่างแรง ทำให้ลำตัวเครื่องบินเกิดความเสียหาย การกระแทกพื้นจากการลงสนามที่ผิดพลาดอาจเกิดได้หลายสาเหตุปัจจัย อาทิ การที่สภาพอากาสไม่ดีทำให้การลงสนามมีความยากเพิ่มขึ้นและนักบินไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทันจนเกิดการสัมผัสพื้นที่แรงกว่าปกตอ หรือจากการที่นักบินบังคับเครื่องบินผิดพลาดประมาณว่า ประสบการณ์น้อย ฝีมือยังไม่ดี บินไม่เก่งว่างั้นก็ได้ ภาพด้านล่างนี้จากเครื่องบิน 767 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เป็นเครื่องบินรุ่นเก่า และใช้งานมานานกว่า 30 ปี จะว่าไปการที่เครื่องบินเก่าไม่ใช่ปัญหาเพราะระบบการบำรุงรักษานั้นค่อนข้างเข้มงวดอยู่แล้วเรื่องการกำกับมาตรฐานความปลอดภัย แต่กรณีที่ลงกระแทกแรงๆ จนเกินกว่าที่โครงสร้างเครื่องบินถูกออกแบบและกำหนดเป็นมาตรฐานไว้ เช่น มากว่า 4G 5G หรือเท่าไหร่ก็แล้วแต่ เครื่องบินเก่าย่อมทนแรงหรือลิมิตต่ำกว่าเครื่องบินลำใหม่ๆแน่นอน กรณีการกระแทกรุนแรง ในบางครั้งก็ถึงขนาดว่าล้อของเครื่องบินกระแทกทะลุเข้ามาภายในลำตัว หรือทำให้เกิดน้ำมันรั่ว ปีกแตก หรืออย่างภาพนี้คือ ลำตัวยู่ยี่ เพราะการกระแทกโดยที่ส่วนของลำตัวถูกสะบัด เหมือนเราสะบัดหลอด ถ้าเราสะบัดหลอดไปกระแทกหรือสัมผัสสิ่งของหลอดก็จะเกิดการพับ ถ้าเป็นหลอดพลาสติกเราอาจไม่เห็นรอยพับเพราะความยืดหยุ่นของพลาสติกทำให้มันกลับคืนสู่สภาพเดิม ลำตัวเครื่องบินเหมือนหลอดกระดาษ เพราะความยืดหยุ่นจะต่ำกว่าพลาสติก หากหักพับแล้วไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ ภาพจาก https://onemileatatime.com/ AIRCRAFT MADE A HARD LANDING AND POST FLIGHT INSPECTION REVEALED DAMAGE TO THE FUSELAGE สายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ วันที่ 29 กรกฎาคม 2566 ลงกระแทกพื้นรุนแรง hard landing จนกระทั่งเกิดความเสียหายของลำตัวอ่านข่าวจากavheraldonemileatatime

A321 ลงสนามรุนแรง ล้อทะลุเข้าห้องโดยสาร

เมื่อวันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมาเครื่องบิน A321 ของสายการบิน Nordwind ประสบอุบัติเหตุจากการลงสนามอย่างรุนแรงศัพท์การบินเรียกว่า Hard Landing ที่สนามบิน Antalya ในประเทศตุรกี ตามข้อมูลจาก Air Safety Investigation ที่กล่าวถึงรายละเอียดในเบื้องต้นเอาไว้นั้นสันนิษฐานได้ว่า เครื่องบินกระแทกพื้นอย่างแรงในครั้งแรกเนื่องจาก “ลมเฉือน”(Windshear) ผมคิดเอาเองว่าเครื่องบินน่าจะกระดอนขึ้นมาเป็น high bounce กัปตันตัดสินใจ Go around (ทำถูกต้องแล้ว) เมื่อเครื่องบินขึ้นไปแล้ว คงรู้แล้วว่าเครื่องบินเสียหายล้อเสียหาย จึงทำการบิน low pass ให้หอบังคับการบินช่วยส่องกล้องส่องทางไกลทำการ visual checkหลังจากนั้น hydraulic system เสียทั้งสองระบบ (คงจะเป็นเพราะการกระแทกครั้งแรก)จึงรีบกลับมาลงอีกครั้ง สรุปไม่รู้ว่า ครั้งที่สองนั้น กว่าจะกลับมาลงสนามได้อีกครั้งนั้นมีความ ทุลักทุเลขนาดไหน และการลงสนามครั้งนี้ hard landing ซ้ำด้วยหรือเปล่าแต่เท่าที่ดูจากรูป เครื่องบินอยู่ในสภาพที่แย่มาก บริเวณล้อหัวภายนอกเครื่องบินยู่ยี่ และยางแตกไปเรียบร้อย นักบินเที่ยวบินนี้เหนื่อยครับ ดูข้อมูลจาก Air Safety Investigation เกี่ยวกับเที่ยวบินนี้ Date: Friday 10 January 2020 Time: ca 07:35 Type: Airbus A321-231 (WL) Operator: Nordwind Airlines Registration: VQ-BRS C/n / msn: […]

ถูกต้องหรือไม่ เดลต้าดันน้ำมันทิ้งใส่โรงเรียน

สายการบินเดลต้าแอร์ไลน์ของอเมริกา ประสบเหตุฉุกเฉิน หลังจากวิ่งขึ้นจากสนามบินลอสแองเจลีสที่ประเทศสหรัฐอเมริกาหลังจากวิ่งขึ้นไปไม่นานแล้วเครื่องบินประสบเหตุขัดข้อง ทำให้ต้องขอหอบังคับการบินเพื่อกลับมาลงฉุกเฉินโดยทำการทิ้งน้ำมัน ตามภาษาการบินเรียกว่า Fuel Jettison ที่ต้องทิ้งน้ำมันออกจากเครื่องบินก็เพื่อที่จะลดน้ำหนักของเครื่องบินลงให้อยู่ในพิกัดน้ำหนักที่กำหนดสำหรับการร่อนลงจอด (MLDW-Maximum Landing Weight)  ก่อนที่จะร่อนลงจอดเครื่องบินจะต้องมีน้ำหนักน้อยกว่า MLDW หากร่อนลงโดยน้ำหนักเกินพิกัด MLDW เครื่องบินอาจจะมีปัญหาที่โครงสร้างลำตัวและที่ฐานล้อได้ คล้าย ๆ กับการบินลงสนามแบบ Hard Landing ซึ่งจะทำให้โครงสร้างของเครื่องบินมีปัญหา(ดูโพสต์นี้ครับ A321 ลงสนามรุนแรง ล้อทะลุเข้าในห้องโดยสาร ) เหตุการณ์ของสายการบินเดลต้านี้เกิดขึ้นเหนือ Los Angles ซึ่งด้านล่างของบริเวณที่มีการทิ้งน้ำมันนั้นเป็นบริเวณชุมชน มีโรงเรียนที่เด็กเด็กยังเรียนหนังสืออยู่ ละอองของน้ำมันที่หล่นลงมาทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบ การที่น้ำมันมันยังไม่ระเหยไปในอากาศให้หมด อาจเป็นเพราะว่า ความสูงของเครื่องบินในขณะที่ทำการทิ้งน้ำมันนั้น บินที่ความสูงต่ำเกินไปหรือความชื้นในอากาศขณะนั้นมีสูงมาก ๆ อากาศมีความอิ่มตัวมากอยู่แล้ว น้ำมันจึงระเหยได้น้อย แนวทางปฏิบัติมีการกำหนดว่าการที่จะ dump fuel นั้นจะมีข้อกำหนดเรื่องของความสูงและพิกัดของพื้นที่ที่สามารถทำการทิ้งน้ำมันได้เพื่อที่จะให้น้ำมันที่ปล่อยลงมาจากเครื่องบินนั้นระเหยไปในอากาศไม่ตกลงสู่พื้น ประสบการณ์ส่วนตัวผมเคยจะต้องทิ้งน้ำมันเพื่อที่จะลดน้ำหนักของเครื่องบินให้ต่ำกว่า MLDW 2 ครั้ง ครั้งแรกกรุงเทพจะไปปารีส เครื่องยนต์หมายเลข 1 ดับระหว่างกำลังถึงความเร็วที่จะต้องเชิดหัวขึ้น (After V1) ครั้งที่สองคือ กรุงเทพไปซิดนีย์ ฐานล้อของเครื่องบินพับเก็บได้ไม่สนิทเนื่องจากระบบประตูของล้อมีปัญหา ทั้งสองเคสจึงต้องขอกลับมาลงที่สนามบินดอนเมือง และสุวรรณภูมิ (เคสแรกสุวรรณภูมิยังสร้างไม่เสร็จ) การทิ้งน้ำมันจะใช้การเปลี่ยนทิศทางของท่อน้ำมันให้ไปไหลออกที่ปลายปีกของเครื่องบิน โดยมีอัตราในทิ้งน้ำมันแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่ามีน้ำมันอยู่ในถังกี่ถังและมี pump ทำงานอยู่กี่ตัว ถ้าจำไม่ผิด 747-400 อยู่ที่ราว ๆ 2.5 ตันต่อนาที (เดลต้าเป็นเครื่องบิน 777-200) ถ้ามีน้ำมันทุกถังและ fuel pump ทำงานทุกตัวการจะทิ้งน้ำมัน 80 […]

737 ล้อพับขณะลงจอด

B737-400 Landing Gear Collapsesเครื่องบินโบอิ้ง 737-400 ของสายการบิน Avior Airlines เกิดขัดข้อง ฐานล้อด้านขวาพังเสียหายระหว่างลงสนามที่ Bogota ประเทศโคลัมเบียเมื่อ 22 พ.ย. รันเวย์ถูกปิดชั่วคราวและทำการอพยพผู้โดยสารออกจากเครื่องบินได้อย่างปลอดภัยโดยมีบางส่วนมีอาการตื่นตระหนกจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในภาพจะเห็นมีการฉีดโฟมเพื่อป้องกันการเกิดการติดไฟ (ignite) เพราะเครื่องยนต์นั้นครูดกับพื้น และไม่แน่ใจว่าถังน้ำมันนั้นแตกรั่วปล่อยน้ำมันออกมาหรือไม่ RFFS จึงทำการพ่นโฟมเอาไว้ก่อน ส่วนสาเหตุยังไม่มีการระบุว่าเกิดจากอะไร เป็นการลงสนามแบบ hard landing หรือ bounce landing หรือไม่ ถ้ายังจำกันได้ เครื่องบินของรัสเซียที่มอสโคเมื่อหลายเดือนก่อน ลงสนามแล้วเกิด repetitive bounce ทำให้เครื่องบินครูดไปกับพื้นและเกิดไฟลุกไหม้ทั้งลำ B737-400 เป็นซีรีส์กลาง ๆ ของเครื่องบิน B737 ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็น New Generation ที่มักจะใช้คำต่อท้ายว่า B737NG ซึ่งหมายถึง -600, 700, 800, 900 ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็น Max ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่ขึ้นมีกำลังมากขึ้น แต่เป็นรุ่นที่มีปัญหามากที่สุดและทำให้มีผลกระทบด้านชื่อเสียงของบริษัทโบอิ้งมากที่สุด ปัจจุบัน Boeing 737Max ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นบิน ก็คงต้องรอดูกันต่อไปว่าจะทำอย่างไร #apilotclub #apilotbook #หนังสือนักบิน https://www.aviation24.be/airlines/avior-airlines/boeing-737-400-suffers-right-main-landing-gear-collapse-after-landing-at-bogota-colombia/ สั่งซื้อหนังสือ A Pilot Book ได้ที่https://shopee.co.th/apilotbook กลับหน้าแรก

0
0