Tag: อยากเป็นนักบิน

คนขนกระเป๋าล่าฝันการเป็นนักบินจนสำเร็จ

เริ่มจากการเป็นพนักงานขนถ่ายสัมภาระที่ทำงานใต้ท้องเครื่องบิน จัสติน มูตาวัสสิม เป็นนักบินผิวสีแอฟริกันอเมริกันที่อายุ 27 ปีที่ Delta Air Lines และบันทึกความฝันในวัยเด็กว่าต้องการเป็นนักบินที่เดียวกับสายการบินนั้นที่เคยทำงานเป็นพนักงานช่วยโหลดกระเป๋าตู้บนเครื่องบิน (ramp agent) เมื่ออายุ 5 ปี ความสนใจของมูตาวัสสิมในการบินเริ่มต้นจากครั้งแรกที่เขาได้ขึ้นเครื่องบินและได้เข้าไปสำรวจห้องคอกพิท (cockpit) บนเครื่องบิน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเขาต้องการเป็นนักบินเสมอ อย่างไรก็ตาม เส้นทางที่นำไปสู่เป้าหมายของเขาเริ่มมีความไม่ชัดเจนขึ้นในบางช่วง เมื่อครูประถมของเขาที่เป็นทหารอากาศสหรัฐ (US Air Force) ให้ข้อมูลที่ผิดพลาดว่าต้องมีสายตาสมบูรณ์เป็นเงื่อนไขหนึ่งในการเป็นนักบิน จึงทำให้มูตาวัสสิมที่ต้องสวมแว่นในช่วงเวลานั้นเขาแทบล้มเลิกความฝันที่จะอยากเป็นนักบิน ดังนั้นหลังจบการศึกษาในระดับมัธยมปลาย มูตาวัสสิมเลือกจะไปเริ่มต้นอาชีพในด้านการกระจายข่าวสารทางสื่อ และได้มีงานทำเป็นบางอย่าง เขามีความสุขกับงานนั้น แต่ก็ยังคงนึกถึงงานที่เกี่ยวข้องกับการบิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความฝันที่จะเป็นนักบินของเขา งานเกี่ยวกับการบินคงจะช่วยเติมเต็มความสุขในชีวิตให้กับเขาได้มากขึ้น แม้ว่าจะไม่ได้เป็นนักบินก็ตาม หลังจากผ่านไปปีหนึ่ง Mutawassim ตัดสินใจเลิกการศึกษาที่มหาวิทยาลัยและเข้าทำงานเป็นพนักงาน Ramp Agent ในการโหลดและขนส่งกระเป๋าเดินทางที่ Delta Air Lines เมื่อปี 2014 ความสนใจของเขาในการบินกลับคืบหน้ามากขึ้น เขาได้ทำงานและเลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็วและได้กลายเป็นผู้ดูแลและผู้สอนให้แก่พนักงานที่ทำงานเกี่ยวกับภาคพื้น แต่เขายังไม่ล้มเลิกในการตามความฝันของเขาที่จะกลายเป็นนักบินในเวลานั้น ชีวิตของ Mutawassim เริ่มเปลี่ยนแปลงในปี 2016 เมื่อเขารู้จัก Ivor Martin ซึ่งเป็นนักบินที่เป็นผู้มีสีผิวดำเช่นเดียวกับเขา มาร์ตินได้เสนอที่จะเป็นที่ปรึกษาให้กับเขาเมื่อเขาได้แชร์เรื่องความฝันอันยาวนานของเขาว่าเขาอยากที่จะเป็นนักบิน ด้วยความสนับสนุนจากมาร์ติน Mutawassim สามารถทำใบอนุญาตขับขี่เครื่องบินได้ในเวลาน้อยกว่าหนึ่งปี (เก่งมาก เร็วมาก) ในปี 2018 เขาเริ่มงานเป็นนักบินสำหรับการบินภูมิภาคและการบินระดับเริ่มต้น ในปี 2022 เขาได้รับโอกาสในการสมัครเป็นนักบินที่ Delta หลังจากทราบว่าบริษัทไม่ต้องการให้นักบินจะต้องเป็นผู้ที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีอีกต่อไป หลังจากเรียนอบรมเพียงไม่กี่เดือน เขาจึงได้กลายเป็นนักบินของ Delta อย่างเป็นทางการ […]

Aviation A-Z บทนำ

Aviation A-Z คำศัพท์การบินเหล่านี้ ผมตั้งใจเขียนและเรียบเรียงตามความเข้าใจและประสบการณ์การทำงาน เพื่อที่จะให้คนที่สนใจด้านการบิน คนที่เรียนบินอยู่ หรือแม้แต่นักบินที่เพิ่งเริ่มต้นการบินอาชีพได้มีโอกาสทำความเข้าใจอย่างง่าย ๆ และเก็บไว้ใช้ทบทวนความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการบินหรืออุปกรณ์การบินต่าง ๆ ที่ไม่ต้องอาศัยการอธิบายหรือจะต้องอ่านรายละเอียดมากเกินไปนักซึ่งจะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายและไม่น่าสนใจ คำอธิบายต่าง ๆ จะเป็นการใช้ภาษาง่าย ๆ ต้องการเน้นให้เกิดความเข้าใจเบื้องต้น ไม่ได้เน้นให้สามารถใช้เป็นตำราอ้างอิงหรือเคร่งในหลักวิชาการมากเกินไป ผู้อ่านจะได้รับพื้น-ฐานความเข้าใจมากขึ้น เวลาอ่านข่าวสารหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางด้านการบินและเกี่ยวกับการบินตามหน้าหนังสือพิมพ์หรือเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงในเพจ A Pilot Club เองด้วย จะทำให้การอ่านนั้นมีอรรถรสและได้ความรู้ความเข้าใจมากขึ้นไปพร้อม ๆ กัน หนังสือเล่มนี้จึงอาจไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงหรือเป็นตำราประกอบการเรียน แต่เป็นความรู้ที่ถ่ายทอดจากประสบการณ์การบินโดยตรงของผมส่งต่อให้แก่ผู้ติดตามทุก ๆ ท่านครับ กัปตันโสภณ พิฆเนศวร ธันวาคม 2561 คำศัพท์การบินในหนังสือนี้ จะอธิบายง่าย ๆ เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจการบิน เหมาะสำหรับใช้เป็นพื้นฐานความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการบินหรืออุปกรณ์การบินต่าง ๆ คำอธิบายจึงเป็นการใช้ภาษาพื้น ๆ เพราะต้องการให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการบินคร่าว ๆ ไม่ได้เน้นที่จะอธิบายโดยอิงหลักวิชาการมากเกินไปนัก เพราะฉะนั้นจึงอาจไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงอย่างเป็นทางการ ***คำศัพท์ต่าง ๆ นั้นอาจมีความหมายแตกต่างจากภาษาอังกฤษที่มีการใช้งานในกิจวัตรประจำวัน เริ่มต้นกันที่การออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษอย่าง A, B, C, D,…..Z กันก่อนครับอักษร A นั้น ในทางการบินเราจะบอกกันด้วยการออกเสียงว่า alphaB ออกเสียงว่า BravoC คือ ChalieD = DeltaE = EchoF = FoxtrotG = GolfH […]

อยากเป็นนักบินต้องทำอย่างไร

To become a pilot อยากเป็นนักบินต้องทำอย่างไร ปัจจุบันอาชีพนักบินเปิดกว้างมากขึ้น สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัย หรือคณะที่ไม่ได้มีหลักสูตรการบิน สามารถเป็นนักบินพาณิชย์ได้ โดยการสมัครเป็นนักบินฝึกหัดกับสายการบินต่าง ๆ ที่จะมีการประกาศรับสมัครนักบิน อยู่เรื่อย ๆ เราเรียกการรับสมัครนักบินในกลุ่มนี้ว่า “Student Pilot” กลุ่ม Student Pilot นั้น หากผ่านการคัดเลือก บริษัทก็จะส่งตัวไปเข้ารับการฝึกเพื่อเป็นนักบินกับโรงเรียนการบินต่างๆ ที่มีข้อตกลงไว้กับบริษัท การฝึกก็จะเป็นไปตามลำดับขั้นตอนเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรีหลังจากนั้นจึงจะบรรจุเข้าเป็นพนักงานของสายการบินและเข้ารับการฝึกตามมาตรฐานของแต่ละสายการบินต่อไป ส่วนข้อกำหนดในการรับเข้าทำงานนั้นก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละสายการบิน รวมทั้งข้อผูกมัดหลังจากฝึกบินเสร็จแล้วก็แตกต่างกันไป เช่น หากฝึกเสร็จแล้ว ต้องทำการบินกับบริษัทฯ ไม่น้อยกว่า กี่ปี หรือหากลาออกก่อนกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ในสัญญาผูกพันจะต้องชดใช้ค่าเล่าเรียนที่บริษัทฯออกให้ก่อนเป็นเงินเท่าไหร่ เป็นต้น หรือบางสายการบินอาจใช้วิธีหักเงินเดือนเพื่อคืนค่าเล่าเรียนที่บริษัทออกให้  ปัจจุบันมีหลายมหาวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรต่าง ๆ เกี่ยวกับนักบินพาณิชย์พร้อมกับปริญญาบัตรวิชาชีพไม่ว่าจะเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือ คณะวิทยาศาสตร์ โดยนักศึกษาที่จบหลักสูตรนักบินพาณิชย์จะต้องผ่านการฝึกบินโดยโรงเรียนการบินที่ทำพันธสัญญาร่วมกับมหาวิทยาลัย ซึ่งโรงเรียนการบินเหล่านั้นก็ต้องได้รับรองจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยด้วย ดูรายชื่อโรงเรียนการบินที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานการการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้ที่นี่ https://www.caat.or.th/th/archives/24859 กลุ่มนักศึกษาที่จบหลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรีเหล่านี้ สามารถสมัครเข้าคัดเลือกเพื่อเป็นนักบินกับสายการบินได้ เราเรียกนักบินกลุ่มนี้เรียกว่า “Qualified Pilot”  Qualified pilot หมายถึงคนที่มีประสบการณ์การบินมาแล้วระดับหนึ่ง มีใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี จากการเรียนกับมหาวิทยาลัยหรือจ่ายเงินเรียนกับโรงเรียนการบินเองค่อย ๆ เก็บสะสมชั่วโมงบินและการสอบวัดศักย์ต่าง ๆ ครบถ้วนจนได้ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี หรือ CPL:Commercial Pilot License  ในแต่ละปีสายการบินต่าง ๆ จะประกาศรับนักบินที่ผ่านการสะสมชั่วโมงและผ่านการฝึกจนได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรีแล้วแบบนี้ประมาณปีละหนึ่งครั้ง (ระยะหลัง ๆ ประกาศรับมากกว่า หนึ่งครั้งต่อปี) มีศัพท์เฉพาะเพื่อความเข้าใจอีกประเภทเกี่ยวกับการสมัครนักบินประเภท qualified pilot คือ “type rating” […]

0
0