Tag: โบอิ้ง

The Queen B747: Paris

#1 The Queen จากประสบการณ์ของผม “จะไปปารีส” #เหตุการณ์ครั้งหนึ่ง#TheQueen#b747 ตอนที่เกิดเหตุการณ์นี้ ผมยังเป็นนักบินที่สองที่มีอาวุโสทางการบินพอสมควรแล้ว และนักบินที่หนึ่งคือกัปตันท่านหนึ่งซึ่งท่านเสียชีวิตไปนานแล้ว ขออนุญาตนำมาเล่าสู่กันอ่านเป็นซีรีส์เรื่องราวแรกของ “The Queen จากประสบการณ์ของผม” วันนั้นเป็นไฟลท์ปารีสกลางวัน โบอิ้ง 747-400 มีกำหนดเดินทางจากกรุงเทพฯ (ดอนเมือง) ไปกรุงปารีส สนามบิน Paris-Charles de Gaulle (CDG) ปารีสมีหลายสนามบินแต่หลักๆจะใช้ ปารีส-ชาร์ล เดอ โกล วันนั้นจำได้แม่นๆว่า อากาศดีมาก ท้องฟ้าแจ้มใส่สุดๆ แต่ก็ร้อนสุดๆเช่น น้ำหนักวิ่งขึ้นค่อนข้างมาก หมายถึงเครื่องบินต้องแบกน้ำหนักตัวและผู้โดยสารที่เต็มลำ และเที่ยวบินนี้ต้องใช้น้ำมันเยอะกว่าปกติเพราะเป็นไฟลท์กลางวัน สำหรับระหว่างทางก็เกี่ยวกับลมฟ้าอากาศ ความกดอากาศ ฯลฯ ระยะทางภาคพื้นนั้นเท่ากันกับตอนกลางคืนแหละ แต่ระยะทางบินผ่านอากาศสูงกว่าเที่ยวบินกลางคืน (ESAD= Equivalent Still Air Distance) สรุปคือบินนานกว่า ใช้น้ำมันมากกว่าเที่ยวบินกลางคืน เที่ยวบินนี้เกือบๆจะถึง MTOW (Maximum Takeoff Weight) เพราะอุณหภูมิสูงทำให้สมรรถนะของเครื่องยนต์ในการวิ่งขึ้นต่ำลง การใช้ระยะทางวิ่งบนรันเวย์ก็จะเกือบๆสุดสนาม โดยที่มี V1 ห่างจาก Vr หลายสิบ knots V1 คือ decision speed หรือจะเรียกว่า critical speed ก็ได้ อธิบายง่ายๆคือ ความเร็วที่ V1 ต้องตัดสินใจว่าจะหยุดหรือจะไป ถ้าเลย V1 คือห้ามหยุด […]

ลำตัวเครื่องบินเหมือนหลอดกระดาษ

เครื่องบินลงกระแทกอย่างแรง ทำให้ลำตัวเครื่องบินเกิดความเสียหาย การกระแทกพื้นจากการลงสนามที่ผิดพลาดอาจเกิดได้หลายสาเหตุปัจจัย อาทิ การที่สภาพอากาสไม่ดีทำให้การลงสนามมีความยากเพิ่มขึ้นและนักบินไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทันจนเกิดการสัมผัสพื้นที่แรงกว่าปกตอ หรือจากการที่นักบินบังคับเครื่องบินผิดพลาดประมาณว่า ประสบการณ์น้อย ฝีมือยังไม่ดี บินไม่เก่งว่างั้นก็ได้ ภาพด้านล่างนี้จากเครื่องบิน 767 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เป็นเครื่องบินรุ่นเก่า และใช้งานมานานกว่า 30 ปี จะว่าไปการที่เครื่องบินเก่าไม่ใช่ปัญหาเพราะระบบการบำรุงรักษานั้นค่อนข้างเข้มงวดอยู่แล้วเรื่องการกำกับมาตรฐานความปลอดภัย แต่กรณีที่ลงกระแทกแรงๆ จนเกินกว่าที่โครงสร้างเครื่องบินถูกออกแบบและกำหนดเป็นมาตรฐานไว้ เช่น มากว่า 4G 5G หรือเท่าไหร่ก็แล้วแต่ เครื่องบินเก่าย่อมทนแรงหรือลิมิตต่ำกว่าเครื่องบินลำใหม่ๆแน่นอน กรณีการกระแทกรุนแรง ในบางครั้งก็ถึงขนาดว่าล้อของเครื่องบินกระแทกทะลุเข้ามาภายในลำตัว หรือทำให้เกิดน้ำมันรั่ว ปีกแตก หรืออย่างภาพนี้คือ ลำตัวยู่ยี่ เพราะการกระแทกโดยที่ส่วนของลำตัวถูกสะบัด เหมือนเราสะบัดหลอด ถ้าเราสะบัดหลอดไปกระแทกหรือสัมผัสสิ่งของหลอดก็จะเกิดการพับ ถ้าเป็นหลอดพลาสติกเราอาจไม่เห็นรอยพับเพราะความยืดหยุ่นของพลาสติกทำให้มันกลับคืนสู่สภาพเดิม ลำตัวเครื่องบินเหมือนหลอดกระดาษ เพราะความยืดหยุ่นจะต่ำกว่าพลาสติก หากหักพับแล้วไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ ภาพจาก https://onemileatatime.com/ AIRCRAFT MADE A HARD LANDING AND POST FLIGHT INSPECTION REVEALED DAMAGE TO THE FUSELAGE สายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ วันที่ 29 กรกฎาคม 2566 ลงกระแทกพื้นรุนแรง hard landing จนกระทั่งเกิดความเสียหายของลำตัวอ่านข่าวจากavheraldonemileatatime

เครื่องยนต์ใหม่ของเครื่องบิน บี-52

ตั้งแต่การทดสอบเริ่มต้น โรลส์-รอยซ์ได้ออกมาเปิดเผยภาพแรกของเครื่องยนต์แบบเทอร์โบแฟน F130 ในการติดตั้งทวินพ็อดเพื่อเข้าแทนเครื่องยนต์ TF33 ที่ล้าสมัยและใช้ในการบินของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา B-52H Stratofortress ในปัจจุบัน โรลส์-รอยซ์เผยภาพเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงเครื่องบินนี้ในเวลาหลายปี ซึ่งการพยายามให้ B-52 ได้เครื่องยนต์ใหม่เป็นเรื่องที่มีตำนานมากกว่าสิบปี แถมโรลส์-รอยซ์ออกมาประกาศว่า การทดสอบเครื่องยนต์ F130 ภายใต้โครงการ CERP (Commercial Engine Replacement Program) ของกองทัพอากาศสหรัฐ กำลังดำเนินการที่พื้นที่ทดสอบกลางแจ้งของบริษัทที่ศูนย์อวกาศเนสซาในรัฐมิสซิสซิปปี การทดสอบรอบนี้จะเน้นไปที่กระแสอากาศแรงข้ามทิศทางและการยืนยันว่าระบบควบคุมดิจิตอลของเครื่องยนต์สามารถทำงานตามที่ต้องการได้ การประเมินค่านี้ยังเป็นครั้งแรกที่เครื่องยนต์ F130 ได้รับการทดสอบในการติดตั้งทวินพ็อด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของแผนการปรับปรุง B-52 ที่จะเห็นเครื่องบินเหล่านี้ที่มีเครื่องยนต์ปัจจุบัน 8 เครื่องที่ติดตั้งอยู่ในรูปแบบทวินพ็อดเดียวกันถูกเปลี่ยนด้วย F130 จำนวนเท่ากัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง 4 ทวินพ็อดที่ประกอบด้วย 2 nacelles จะบรรจุ F130 8 เครื่องทั้งหมด บริษัทหลักของโครงการ B-52 คือ โบอิ้ง รับผิดชอบดูแลการผสมเครื่องยนต์และโปรแกรมการปรับปรุงทั้งหมดของเครื่องบิน โรลส์-รอยซ์กล่าวว่าผลลัพธ์จากการทดสอบเบื้องต้นเป็น “ดีมาก” และข้อมูลการทดสอบเพิ่มเติมที่รวบรวมได้จะถูกวิเคราะห์เพิ่มเติมตลอดหลายเดือนข้างหน้า สุดท้ายเครื่องยนต์จะถูกผลิตที่โรงงานขนาดใหญ่ของโรลส์-รอยซ์ในอินเดียนาโพลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา

Boeing B777 ไม่ตอบสนองการบังคับของนักบิน

เรื่องใหม่เมื่อ 5 เมษายน 2565 สายการบินแอร์ฟรานซ์เดินทางจาก นิวยอร์คกลับไปปารีส เกิดเหตุไม่ปกติซึ่งเชื่อว่าเป็น serious incident เพราะว่าเครื่องบิน B777 ของแอร์ฟรานซ์ ไม่ยอมตอบสนองการบังคับของนักบิน (ข่าวว่างั้น)รอติดตามว่าเป็นอะไร เครื่องบินมีปัญหาหรือแค่ human errorฟังเสียงดูครับ (ต้องอ่าน)ATC กับนักบินพูดภาษาฝรั่งเศสตอบโต้กันเป็นเรื่องปกติของที่ฝรั่งเศสครับ

สรุปข้อมูลอุบัติเหตุเที่ยวบิน MU5735

สรุปคลิปเดียวเหตุกาณ์เครื่องบินตก คลิปสุดท้ายNon-disclosure of records คือข้อมูลอะไรบ้างที่ห้ามเปิดเผยทำไมต้องตรวจสอบดีเอนเอ DNA identificationหลังจากเจอกล่องดำแล้วก็ต้องรอข้อมูลที่จะเผยแพร่ออกมาอย่างเป็นทางการกันครับ #b737 #simulator #MU5735 #chinaeastern #เครื่องบินตก อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่า เกิดจากนักบินต้องการฆ่าตัวตายหรืออาจเกิดจากปัญหาที่มาจากโครงสร้างของเครื่องบินครับ ข้อมูลต่างๆที่ได้รับมานั้นอาจมีข้อผิดพลาดสาเหตุการตกของเครื่องบินจึงต้องเป็นข้อมูลจากกล่องดำ #blackbox เท่านั้นวิดีโอนี้ไม่มีเจตนาชี้นำสาเหตุของเครื่องบินตกแต่อย่างใด Please accept my deepest condolences for the loss of MU5735. กดติดตามช่องยูทูป Captain Sopon https://www.youtube.com/c/SoponPhikanesuanมีความเห็นอย่างไรเขียนไว้นะครับ จะพยายามเข้ามาตอบทุกคอมเม้นต์ครับSupport The Channel Buy Me A Coffee https://www.buymeacoffee.com/captsoponWebsite http://www.apilotclub.com หากสนใจหน้งสือ A Pilot Book ทั้ง 5 เล่มสั่งซื้อหนังสือผ่าน shopee https://shopee.co.th/apilotbook***ไม่มีวางจำหน่ายตามร้านหนังสือขายออนไลน์ทาง Shopee หรือ เฟสบุ๊คเพจเท่านั้นดูหนังสือในรูปแบบอีบุ๊คได้ที่https://www.ookbee.com/shop/book/bd9048fe-183b-4115-b661-06658591b91d/a-pilot-2nd-edition#apilotclub #captsoponขอขอบคุณ DAA สถาบันการบินมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เอื้อเฟื้อสถานที่และอุปกรณ์เครื่องฝึกบินจำลอง B737 ครับ FB: DAA สถาบันการบิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://facebook.com/daa.dpuดูคลิปอื่นๆที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุสายการบินไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ในห้องนักบินเห็นภาพอย่างไรรวมคลิปทั้งหมดแบบไม่ตัดต่อhttps://youtu.be/VHdGf28hj1Eมุม 90 องศา https://youtu.be/gzvd3wWhJ18มุม 50 องศาhttps://youtu.be/GFAm_c0i5mAเครื่องยนต์ดับทั้งสองเครื่องhttps://youtu.be/eynPlykX2REลองอีกทีกับมุม 90 องศาhttps://youtu.be/HCDaKtjxcFoภาพจากเก้าอี้นักบินhttps://youtu.be/WbbmM1e0VHEรวมคลิปhttps://youtu.be/VHdGf28hj1Ehttps://youtu.be/m2mpjz75bgg ติดตามยูทูปช่อง Captain Sopon https://www.youtube.com/c/SoponPhikanesuanเว็บไซต์ http://www.apilotclub.com/

0
0