Tag: เรียนบิน

PAPI Light คืออะไร

Papi ย่อมาจาก Precision Approach Path IndicatorVASI ย่อมาจาก Visual Approach Slope Indicatorติดตามรายละเอียดจากยูทูปวิดีโอครับกดติดตามช่องยูทูป Captain Sopon https://www.youtube.com/c/SoponPhikanesuan Support The Channel Buy Me A Coffee https://www.buymeacoffee.com/captsopon Wหากสนใจหน้งสือเกี่ยวกับการบิน การสอบและการเป็นนักบิน มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเครื่องบินและการเดินทางทางอากาศ เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปและผู้ที่อยู่ในสายอาชีพเกี่ยวกับเครื่องบิน หนังสือมีจำหน่ายออนไลน์เท่านั้นไม่มีวางแผงตามร้านครับ สั่งซื้อหนังสือผ่าน shopee https://shopee.co.th/apilotbook ดูหนังสือในรูปแบบอีบุ๊คได้ที่ https://www.ookbee.com/shop/book/bd9048fe-183b-4115-b661-06658591b91d/a-pilot-2nd-edition #apilotclub #captsopon คำบรรยายวิดีโอ auto-generated จากยูทูปครับ วันนี้เดี๋ยวเราจะมาพูดถึงคำว่า PAPI กันจากที่ผมพูดถึงบ่อยๆเวลาที่เราดูรายละเอียดของสนามบินแต่ละสนามบิน และแล้วผมก็มันคือชี้ให้ดูข้อมูลของมุม มุมของตัวปรับอิลัยว่าเป็นมุมเท่าไหร่ แล้วมันโคนโอเคหรือสัมพันธ์กันกับตัว glide path ดีเส้นดีเส้นเกรเดียนของการทำให้ โพสหรือเปล่าถ้ามัน น่ามันมีมุมที่ตรงกันโดยส่วนใหญ่มักจะมี มุมของปาปี้ Like เนี่ยมันจะตรงกันกับตัว โพสต์มีเส้นเกรเดียนอ่า ที่ที่เราทำการลดระดับลงเพื่อที่จะให้ หลังจากที่เห็นนั้นเวลาแล้วก็สามารถที่จะ เกาะตัวปลาปี้เป็นไกด์แดงลงไปได้คำถามก็ พูดถึงอยู่บ่อยๆหลายๆครั้งก็เลยอยากจะเอา ตัวอย่างของ สปาปี้และรายละเอียดของมันเข้าๆว่ามันจะ ใช้ประโยชน์ยังไงมันคือคือมันคือไฟตรงไหน ของ รันเวย์อะไรอย่างนี้นะครับเดี๋ยวเรามาดู ข้อมูลเพิ่มเติมกันในส่วนของ ข้อมูลนี้เราผมจะใช้จากตรง หัวข้อมูลจากทางวิกิพีเดียนะครับก็จะไม่ ได้พูดถึงรายละเอียดในเรื่องของลักษณะ โครงสร้างการทำงานของมันแต่ละพูดถึงการ ใช้วิโยชน์แล้วก็ดูหน้าต่างมันว่าเราจะ ใช้ประโยชน์จาก จับบาร์บี้ตรงไหนแล้วมันสามารถบอกอะไรให้ กับนักบิน ก็ได้บ้างแล้วก็ หน้าตาเป็นยังไงเราเริ่มต้นจากตรงหน้าตา ของตัวปลาพี่ไลค์ก่อนนะครับภาพนี้มันจะ ไม่ค่อยสวยชัดนะเท่าไหร่จะเห็นว่ามันจะมี ไฟ […]

Aviation A-Z คำศัพท์การบินตัวอักษร D Delta

Deadhead  deadhead/dead head หรือบางทีก็เรียกกันอีกอย่างว่า passive crew หมายถึง นักบินและ/หรือพนักงานต้อนรับที่เดินทางไปด้วยบนเที่ยวบินโดยไม่ได้ทำหน้าที่ในระหว่างไฟลท์ แต่เดินทางไปเพื่อทำหน้าที่หลังจากไฟลท์หรือเดินทางกลับบ้าน กล่าวถึงเฉพาะด้านนักบินเพื่อให้เห็นภาพถึงสถานการณ์ที่ต้องเดินทางเป็น dead head กันครับ ปกตินักบินจะบินเครื่องบินได้เฉพาะแบบ เช่น คนที่บิน B777 ก็บินได้เฉพาะ B777 นักบิน B747 ก็บินได้เฉพาะ B747 นักบิน B777 แม้ว่าจะเคยบิน B747 มาก่อนอยู่ ๆ วันนี้จะบิน B747 เลยไม่ได้ (นักบินนั้นถูกกำหนดตามกฎหมายให้บินเครื่องบินได้เพียงแบบเดียว หากจะบินเครื่องบินสองแบบต้องมีการขออนุมัติและมีมาตรการการฝึกและกำกับดูแลเพิ่มเติม ดังนั้นส่วนใหญ่แล้วสายการบินจะให้บินเพียงแบบเดียวเท่านั้นเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงปัญหา ไม่ให้เกิดความสับสนและทำให้เกิดข้อบกพร่องในด้านคุณภาพการบิน)  การทำงานของนักบินจะมีการกำหนดระยะเวลาทำงานสูงสุดที่สามารถทำได้ต่อวัน ซึ่งก็คือประมาณ 11-13 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่เริ่มต้นทำงานและโดยปกติแล้วเที่ยวบินที่เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามเมืองต่าง ๆ ในยุโรปนั้นจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมงขึ้นไป ดังนั้น เมื่อไปถึงนักบินจึงบินกลับมาเลยไม่ได้ จะต้องลงนอนพักผ่อนที่ปลายทางก่อนที่จะทำการบินกลับ(ดูช่วงเวลาการพักผ่อนขั้นต่ำด้านล่าง) ส่วนเครื่องบินนั้นจะเดินทางรับผู้โดยสารกลับมาเลยในวันเดียวกันนั้นโดยใช้นักบินอีกชุดหนึ่งที่ไปถึงก่อนหน้าแล้ว 1 วัน (ขึ้นอยู่กับตารางการบินและการจัดการด้านการเคลื่อนย้ายกำลังพลด้วย) เรามาดูตัวอย่างกันชัด ๆ ว่าเมื่อไหร่ต้องมี dead head  หากวันที่ 1 เครื่องบิน B777 บินไปที่สนามบิน A นักบินก็จะลงนอนค้างคืนเพื่อพักผ่อนก่อนที่จะต้องบินกลับ  แต่หากวันที่ 2 จำเป็นต้องใช้เครื่องบิน B747 บินไปที่สนามบิน A นักบิน B777 ที่บินไปถึงเมื่อวันที่ 1 […]

Aviation A-Z บทนำ

Aviation A-Z คำศัพท์การบินเหล่านี้ ผมตั้งใจเขียนและเรียบเรียงตามความเข้าใจและประสบการณ์การทำงาน เพื่อที่จะให้คนที่สนใจด้านการบิน คนที่เรียนบินอยู่ หรือแม้แต่นักบินที่เพิ่งเริ่มต้นการบินอาชีพได้มีโอกาสทำความเข้าใจอย่างง่าย ๆ และเก็บไว้ใช้ทบทวนความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการบินหรืออุปกรณ์การบินต่าง ๆ ที่ไม่ต้องอาศัยการอธิบายหรือจะต้องอ่านรายละเอียดมากเกินไปนักซึ่งจะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายและไม่น่าสนใจ คำอธิบายต่าง ๆ จะเป็นการใช้ภาษาง่าย ๆ ต้องการเน้นให้เกิดความเข้าใจเบื้องต้น ไม่ได้เน้นให้สามารถใช้เป็นตำราอ้างอิงหรือเคร่งในหลักวิชาการมากเกินไป ผู้อ่านจะได้รับพื้น-ฐานความเข้าใจมากขึ้น เวลาอ่านข่าวสารหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางด้านการบินและเกี่ยวกับการบินตามหน้าหนังสือพิมพ์หรือเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงในเพจ A Pilot Club เองด้วย จะทำให้การอ่านนั้นมีอรรถรสและได้ความรู้ความเข้าใจมากขึ้นไปพร้อม ๆ กัน หนังสือเล่มนี้จึงอาจไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงหรือเป็นตำราประกอบการเรียน แต่เป็นความรู้ที่ถ่ายทอดจากประสบการณ์การบินโดยตรงของผมส่งต่อให้แก่ผู้ติดตามทุก ๆ ท่านครับ กัปตันโสภณ พิฆเนศวร ธันวาคม 2561 คำศัพท์การบินในหนังสือนี้ จะอธิบายง่าย ๆ เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจการบิน เหมาะสำหรับใช้เป็นพื้นฐานความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการบินหรืออุปกรณ์การบินต่าง ๆ คำอธิบายจึงเป็นการใช้ภาษาพื้น ๆ เพราะต้องการให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการบินคร่าว ๆ ไม่ได้เน้นที่จะอธิบายโดยอิงหลักวิชาการมากเกินไปนัก เพราะฉะนั้นจึงอาจไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงอย่างเป็นทางการ ***คำศัพท์ต่าง ๆ นั้นอาจมีความหมายแตกต่างจากภาษาอังกฤษที่มีการใช้งานในกิจวัตรประจำวัน เริ่มต้นกันที่การออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษอย่าง A, B, C, D,…..Z กันก่อนครับอักษร A นั้น ในทางการบินเราจะบอกกันด้วยการออกเสียงว่า alphaB ออกเสียงว่า BravoC คือ ChalieD = DeltaE = EchoF = FoxtrotG = GolfH […]

Pilot interview

บทนี้จะเป็นส่วนที่เพิ่มเติมจากหนังสือ A Pilot เล่มแรกและเล่มสองครับ จะมีเนื้อหาเบสิค ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการสอบสัมภาษณ์ มีตัวอย่างและเทคนิคพื้นฐานบางเรื่องเพื่อแนะนำให้ผู้อ่านได้มองเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า การทดสอบบางอย่างนั้น มีที่มาที่ไปอย่างไร  บทความจากหนังสือ A Pilot Part III เนื้อหาในหนังสือบทนี้ ไม่ใช่การติวเพื่อสอบนักบินนะครับ การติวเพื่อที่จะสอบนักบินเป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งไม่อยู่ในแนวทางและไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการเขียนหนังสือเล่มนี้และ A Pilot Book ทั้งสองเล่มที่ผ่านมาครับ ปัจจุบันมีคนเปิดติวเพื่อสอบเป็นนักบินกันมากอยู่ครับ เรื่องนี้แล้วแต่ความชอบเลยครับ ส่วนตัวไม่ได้สนับสนุนหรือจะต่อต้านครับ สำหรับผม เชื่อว่าการได้รู้และเข้าใจที่มาที่ไปและมองเห็นวัตถุประสงค์ในการสอบแต่ละประเภท จะเป็นคำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับการเข้าใจจุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง และมันจะติดตัวเราไปตลอดอีกทั้งสามารถที่จะต่อยอดไปใช้กับการทำงานอื่น ๆ ได้อีกด้วย การทดสอบระหว่างสัมภาษณ์ ในการสัมภาษณ์นักบินนั้น ผู้สัมภาษณ์อาจทำการทดสอบปฏิกิริยาต่าง ๆ ของผู้ถูกสัมภาษณ์ เพื่อค้นหาว่า ผู้ถูกสัมภาษณ์นั้น มีจุดอ่อนหรือจุดแข็งตามคะแนนที่กรรมการเห็นอยู่ในมือหรือไม่ แน่นอนครับ ก่อนจะเรียกเข้ามาสัมภาษณ์ กรรมการสอบจะคุยกันสั้น ๆ จากผลคะแนนของการสอบข้อเขียนในรอบที่ผ่านมา และดูประวัติส่วนบุคคล ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน (ถ้ามี) คะแนนเรียนในแต่ละเทอม หรือ คะแนนสอบวัดระดับต่าง ๆ ที่มี เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเริ่มสัมภาษณ์ การแต่งกายการวางตัว การควบคุมอารมณ์ การควบคุมความตื่นเต้น ฯลฯ เรื่องเทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้ผมเขียนไว้แล้วในสองเล่มแรก ลองอ่านซ้ำดูนะครับ การสอบสัมภาษณ์จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการพูดคุย แต่อาจจะถูกสอดแทรกด้วยการทดสอบบางอย่างด้วย โดยการทดสอบระหว่างสัมภาษณ์นั้น อาจจะเป็นการทดสอบง่าย ๆ สั้น ๆ เพื่อสนับสนุนหรือทำให้กรรมการเกิดความมั่นใจว่า ผู้ถูกสัมภาษณ์นั้นได้คะแนนจากการสอบข้อเขียนด้านนี้มาด้วยความสามารถ ไม่ได้ฟลุ๊คตอบถูก […]

อยากเป็นนักบินต้องทำอย่างไร

To become a pilot อยากเป็นนักบินต้องทำอย่างไร ปัจจุบันอาชีพนักบินเปิดกว้างมากขึ้น สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัย หรือคณะที่ไม่ได้มีหลักสูตรการบิน สามารถเป็นนักบินพาณิชย์ได้ โดยการสมัครเป็นนักบินฝึกหัดกับสายการบินต่าง ๆ ที่จะมีการประกาศรับสมัครนักบิน อยู่เรื่อย ๆ เราเรียกการรับสมัครนักบินในกลุ่มนี้ว่า “Student Pilot” กลุ่ม Student Pilot นั้น หากผ่านการคัดเลือก บริษัทก็จะส่งตัวไปเข้ารับการฝึกเพื่อเป็นนักบินกับโรงเรียนการบินต่างๆ ที่มีข้อตกลงไว้กับบริษัท การฝึกก็จะเป็นไปตามลำดับขั้นตอนเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรีหลังจากนั้นจึงจะบรรจุเข้าเป็นพนักงานของสายการบินและเข้ารับการฝึกตามมาตรฐานของแต่ละสายการบินต่อไป ส่วนข้อกำหนดในการรับเข้าทำงานนั้นก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละสายการบิน รวมทั้งข้อผูกมัดหลังจากฝึกบินเสร็จแล้วก็แตกต่างกันไป เช่น หากฝึกเสร็จแล้ว ต้องทำการบินกับบริษัทฯ ไม่น้อยกว่า กี่ปี หรือหากลาออกก่อนกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ในสัญญาผูกพันจะต้องชดใช้ค่าเล่าเรียนที่บริษัทฯออกให้ก่อนเป็นเงินเท่าไหร่ เป็นต้น หรือบางสายการบินอาจใช้วิธีหักเงินเดือนเพื่อคืนค่าเล่าเรียนที่บริษัทออกให้  ปัจจุบันมีหลายมหาวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรต่าง ๆ เกี่ยวกับนักบินพาณิชย์พร้อมกับปริญญาบัตรวิชาชีพไม่ว่าจะเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือ คณะวิทยาศาสตร์ โดยนักศึกษาที่จบหลักสูตรนักบินพาณิชย์จะต้องผ่านการฝึกบินโดยโรงเรียนการบินที่ทำพันธสัญญาร่วมกับมหาวิทยาลัย ซึ่งโรงเรียนการบินเหล่านั้นก็ต้องได้รับรองจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยด้วย ดูรายชื่อโรงเรียนการบินที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานการการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้ที่นี่ https://www.caat.or.th/th/archives/24859 กลุ่มนักศึกษาที่จบหลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรีเหล่านี้ สามารถสมัครเข้าคัดเลือกเพื่อเป็นนักบินกับสายการบินได้ เราเรียกนักบินกลุ่มนี้เรียกว่า “Qualified Pilot”  Qualified pilot หมายถึงคนที่มีประสบการณ์การบินมาแล้วระดับหนึ่ง มีใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี จากการเรียนกับมหาวิทยาลัยหรือจ่ายเงินเรียนกับโรงเรียนการบินเองค่อย ๆ เก็บสะสมชั่วโมงบินและการสอบวัดศักย์ต่าง ๆ ครบถ้วนจนได้ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี หรือ CPL:Commercial Pilot License  ในแต่ละปีสายการบินต่าง ๆ จะประกาศรับนักบินที่ผ่านการสะสมชั่วโมงและผ่านการฝึกจนได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรีแล้วแบบนี้ประมาณปีละหนึ่งครั้ง (ระยะหลัง ๆ ประกาศรับมากกว่า หนึ่งครั้งต่อปี) มีศัพท์เฉพาะเพื่อความเข้าใจอีกประเภทเกี่ยวกับการสมัครนักบินประเภท qualified pilot คือ “type rating” […]

0
0