การค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย SAR

ก่อนอื่นเรามาดูความหมายของคำว่า ประสบภัย กันก่อนครับ
ประสบภัย หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Distress หมายความว่า ภาวะที่กาลังใกล้จะประสบอันตรายและอันตรายนั้น เป็นอันตรายที่ร้ายแรง ซึ่งต้องการความช่วยเหลือโดยทันที

ผู้ประสบภัยหมายถึง

ผู้รอดชีวิต หรือ Survivor หมายความว่า ผู้รอดชีวิตจากอากาศยานที่ประสบอุบัติเหตุประสบภัย

SAR คือ อะไร

คำว่า SAR ย่อมาจาก Search and Rescue ซึ่งแปลเป็นไทยว่า การค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย (Search and Rescue หรือ SAR) หมายความว่า การรวบรวมกำลังเจ้าหน้าที่และเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่บุคคล และทรัพย์สินที่กำลังตกอยู่ในอันตรายจากอากาศยานประสบภัย และให้หมายความรวมถึง การค้นหา และช่วยชีวิต ผู้ที่ประสบภัยจากอากาศยานด้วย

การซ้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัย SAREX 2022

ทีมงานหรือคณะฯ ที่จะต้องมีส่วนร่วมในการทำการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยประกอบด้วย

ผู้ประสานงานด้านการค้นหาและช่วยเหลือ (Search and Rescue Coordinator หรือ SC) หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการบริหารจัดการงานด้านการค้นหาและช่วยเหลือ อากาศยานประสบภัย

คณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ หรือ กชย. (National Search and Rescue Committee หรือ NSARC) หมายความว่า คณะบุคคล จากหน่วยที่เกี่ยวข้อง ตามพระราชบัญญัติ การเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 มาตรา 64/21 เรียกโดยย่อว่า “กชย.” ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้บัญชาการทหาร สูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการ ให้ผู้อำนวยการ กชย. ทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ปลัดกระทรวงคมนาคม โดยข้อเสนอของผู้อานวยการ กชย. แต่งตั้งข้าราชการในสำนักงาน กชย. จำนวนไม่เกินสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

สำนักงาน กชย. หรือ สกชย. (Office of the Search and Rescue Commission) หมายถึง สำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย หมายความว่า หน่วยงานที่ ทาหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางของรัฐ ในการดำเนินการเกี่ยวกับการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยของประเทศ และประสานงาน ในการบูรณาการกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลืออากาศยานที่อยู่ในภาวะอันตราย หรือ อากาศยาน ที่สูญหาย หรือขาดการติดต่อ และต้องการการค้นหาและช่วยชีวิตผู้ที่ประสบภัยจากอากาศยานได้อย่าง ทันท่วงที

สกชย. มีหน้าที่ ดังนี้

(1) จัดทำแผนการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติเสนอให้ กชย. เห็นชอบ
(2) กำกับดูแลการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยให้เป็นไปตามมาตรการที่ กชย. กำหนด
(3) ศึกษาวิจัยเพื่อหามาตรการในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยให้มีประสิทธิภาพ
(4) ปฏิบัติการ ประสานการปฏิบัติ ให้การสนับสนุน และช่วยเหลือหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคเอกชน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยาน ประสบภัย และให้การสงเคราะห์เบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย ผู้ได้รับภยันตราย หรือผู้ได้รับความเสียหาย
(5) แนะนำ ให้คำปรึกษา และอบรมเกี่ยวกับการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแก่หน่วยงาน ของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคเอกชน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(6) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดาเนินการตามแผนการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย แห่งชาติ
(7) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นหรือตามที่ กชย. หรือคณะรัฐมนตรี มอบหมาย

ศูนย์ประสานงานค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย (Aeronautical Rescue Coordination Centre หรือ ARCC) หมายความว่า หน่วยงานที่ได้จัดตั้งขึ้นให้เป็นหน่วยงานกลางภายในเขตความรับผิดชอบ ในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยของประเทศไทย เพื่อทาหน้าที่ในการวางแผนและประสานงาน ให้การค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยดาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง

ศูนย์ประสานงานค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยย่อย (Aeronautical Rescue Sub-Centre หรือ ARSC) หมายความว่า หน่วยงานที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพิ่มเติมจากศูนย์ประสานงานค้นหา และช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย (ARCC) และมีหน้าที่เช่นเดียวกับศูนย์ประสานงานฯ เพื่อให้การวางแผน และประสานงานการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

หน้าที่ของศูนย์ประสานงานค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย และศูนย์ประสานงานค้นหา และช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยย่อย

1 มีความพร้อมและปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง

2 จัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษ และได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดี ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ ตรวจสอบมาตรฐานด้านการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย (SAR Inspector Staff), เจ้าหน้าที่ เขียนแผนที่ (Plotter), เจ้าหน้าที่ติดต่อ (Liaison Officer), เจ้าหน้าที่สื่อสาร (Communication Officer), เจ้าหน้าที่บันทึก (Recorder), เจ้าหน้าที่บรรยายสรุป (Briefing Officer) ฯลฯ

3 รับ–ส่งข่าวอากาศยานประสบภัยให้หน่วยที่เกี่ยวข้องทราบ รวมทั้งจัดเตรียมข้อมูลให้กับ กชย. ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการแถลงข่าวและประชาสัมพันธ์ให้กับสื่อมวลชน ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งญาติผู้ประสบภัย

4 พิจารณาการจัดตั้งระดับของการประสานงานการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ (1) ระดับผู้ประสานงาน (SAR Coordinator) (2) ระดับผู้ประสานภารกิจ (SAR Mission Coordinator) และ (3) ระดับผู้อำนวยการ/ผู้บัญชาการเหตุการณ์ (On Scene Coordinator) เพื่อนาเสนอคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติในการแต่งตั้งผู้ทาหน้าที่ต่าง ๆ ตามแผนฯ

5 หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยา (ได้แก่ เวลาดวงอาทิตย์ขึ้น-ตก ทิศทางและความเร็วลม อุณหภูมิ ฯลฯ) และข้อมูลอุทกศาสตร์ ในกรณีที่อากาศยานประสบภัยทางทะเลซึ่งต้องทราบข่าวลักษณะ อากาศ คลื่นลมและกระแสน้าในทะเลด้วย

6 หาตาแหน่งของเรือหรืออากาศยาน ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุและร้องขอให้เรือ หรืออากาศยานนั้น ๆ เตรียมพร้อมในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย หรือเฝ้าดู เฝ้าฟังวิทยุ เพื่อตดิตามอากาศยานประสบภัยนั้น

7 กำหนด และ/หรือประสานพื้นที่ที่จะทาการค้นหาและพิจารณาเลือกใช้เครื่องอานวยความสะดวก ในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย ตลอดจนวิธีการค้นหา

8 ประสานงานกับหน่วยงานในระบบค้นหาและช่วยเหลือของประเทศไทย และศูนย์ประสานงาน ค้นหาและช่วยเหลือของประเทศข้างเคียง

แผนการค้นหาและช่วยเหลือ

9 ให้คำแนะนาเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแก่เจ้าหน้าที่ ของหน่วยค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยก่อนที่จะออกปฏิบัติการค้นหา และรับฟังรายงาน จากเจ้าหน้าที่ของหน่วยค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยนั้น

10 ประเมินค่ารายงานทั้งหมดที่ได้รับจากหน่วยและแหล่งข่าวต่าง ๆ เพื่อนามาวิเคราะห์ปรับปรุง แผนการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย

11 ร้องขอให้หน่วยงานค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยจัดการนาเครื่องยังชีพไปทิ้ง ให้ผู้รอรับการช่วยเหลือจากอากาศยานประสบภัย

12 บันทึกการปฏิบัติงานค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยตั้งแต่เริ่มการค้นหาจนกระทั่ง เลิกการค้นหา

13 จัดทำบัญชีและสารวจตรวจสอบระบบต่าง ๆ สาหรับติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้อยู่ใน สภาพใช้งานได้ และมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

14 วางแผนการค้นหาและช่วยเหลือกรณีอากาศยานประสบภัย รวมทั้งจัดให้มีการฝึกซ้อมร่วม และการประชุมปรึกษาหารือปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ให้ดีขึ้น

15 แจ้งยกเลิกหรือพักการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ

16 กำกับดูแลศูนย์ประสานงานค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยย่อย

ศูนย์ควบคุมภารกิจการค้นหาด้วยดาวเทียม (Mission Control Centre หรือ MCC) หมายความว่า หน่วยงานที่ถูกจัดตั้งขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งของระบบค้นหาด้วยดาวเทียม COSPAS-SARSAT ที่รับสัญญาณหรือข้อความเตือนภัย จากสถานีรับสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดิน และจากศูนย์ควบคุมภารกิจ ค้นหาด้วยดาวเทียมอื่น ๆ เพื่อส่งสัญญาณไปยังศูนย์ประสานงานค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย หรือช่องทางการติดต่อสื่อสารของหน่วยค้นหาและช่วยเหลือ

ผู้ประสานภารกิจค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย (Search and Rescue Mission Coordinator หรือ SMC) หมายความว่า เจ้าหน้าที่ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในภารกิจค้นหาและช่วยเหลือ อากาศยานประสบภัย และได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย แห่งชาติ ให้ปฏิบัติหน้าที่ ในการอานวยการปฏิบัติภารกิจค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย หรืออาจได้รับมอบภารกิจเพื่อให้คาแนะนา และ/หรือสนับสนุนเจ้าหน้าที่และเครื่องมือให้กับ/ผู้บัญชาการ เหตุการณ์ (OSC) ในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย (ในทีนี้ให้หมายถึง ผู้อานวยการ กชย. หรือ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจาก กชย.)

ผู้บัญชาการเหตุการณ์ (On Scene Coordinator/Commander หรือ OSC) หมายความว่า บุคคล ซึ่งได้รับมอบหมายให้ควบคุมการปฏิบัติภารกิจค้นหาและช่วยเหลือ (ในแผนนี้ให้หมายรวมถึง ผู้ว่าราชการ จังหวัดในพื้นที่เกิดเหตุ หรือ ผู้ที่รัฐมนตรีกาหนด) เพื่อควบคุม อานวยการ และกากับการค้นหา และช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยให้เป็นไปตามแผนการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ ทั้งนี้ ในกรณีมีเหตุอื่นที่จาเป็น รัฐมนตรีอาจพิจารณาแต่งตั้งบุคคลอื่นหรือเปลี่ยนแปลงผู้บัญชาการเหตุการณ์ ได้ตามความเหมาะสม

ผู้สั่งการ ณ ที่เกิดเหตุ (Scene of Action Commander หรือ SAC) หมายความว่า ผู้บังคับบัญชา ของหน่วยกาลังของเจ้าหน้าที่รัฐตามหน่วยค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย ในแผนฯ ที่อยู่ ในที่เกิดเหตุเป็นหน่วยงานแรก ทาหน้าที่อานวยการ และประสานงานต่อหน่วยกาลังของรัฐและเอกชน ที่เข้ามาสมทบ โดยจะปฏิบัติหน้าที่จนกว่าผู้บัญชาการเหตุการณ์ (On Scene Coordinator/Commander หรือ OSC) จะเข้ามารับมอบหน้าที่

ผู้ประสานอากาศยาน (Aircraft Coordinator หรือ ACO) หมายความว่า บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เข้าไปช่วยปฏิบัติภารกิจค้นหาและช่วยเหลือด้วยอากาศยาน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ประสาน ภารกิจค้นหาและช่วยเหลือ และผู้บัญชาการเหตุการณ์

ชุดผู้ประสานภารกิจค้นหาและช่วยเหลือ (Search and Rescue Mission Coordinator Team หรือ SMC Team) หมายความว่า หน่วยซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ ยานพาหนะ (รถกู้ภัย) เครื่องมือสื่อสาร และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สาหรับการคานวณ การวางแผน และอานวยการภารกิจของผู้ประสานภารกิจค้นหา และช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยที่ได้รับมอบหมายให้ไปสนับสนุนผู้บัญชาการเหตุการณ์ในพื้นที่ด้วยก็ได้

หน่วยค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย (Search and Rescue Unit หรือ SRU) หมายความว่า หน่วยงานซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับการฝึกอบรมและผ่านการฝึกซ้อม และมีบริภัณฑ์ อันเหมาะสม ในอันที่จะปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว ทั้งนี้การค้นหาและช่วยเหลือฯ ต้องไม่กระทบต่อการปฏิบัติภารกิจของทางราชการ/ทางทหาร และภารกิจของหน่วยนั้น ๆ ด้วย

หน่วยระวังภัย (Alerting Post) หมายความว่า หน่วยงานซึ่งเป็นหน่วยกลางในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างบุคคล ซึ่งรายงานข่าวเกี่ยวกับอากาศยานในระหว่างประสบภัยกับศูนย์ประสานงานค้นหา และช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย

กองอำนวยการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย/ศูนย์หรือกองบัญชาการเหตุการณ์ (Search and Rescue Directing Unit) หมายความว่า กองอานวยการที่ศูนย์ประสานงานฯ ทาการจัดตั้ง เฉพาะเหตุการณ์เมื่อเกิดเหตุอากาศยานประสบภัย โดยให้ศูนย์ประสานงานค้นหาและช่วยเหลืออากาศยาน ประสบภัยให้การสนับสนุนและช่วยเหลือการดาเนินการของผู้บัญชาการเหตุการณ์ด้วย

หน่วยส่งต่อทางการแพทย์ (Emergency Medical Unit) หมายความว่า หน่วยงานที่มีบุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถและได้รับการอบรม ฝึกฝน ในการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยจากอากาศยานประสบภัย รวมทั้งมีบริภัณฑ์สนับสนุนให้มีความสามารถช่วยชีวิตผู้ประสบภัยได้

หน่วยประชาสัมพันธ์ (Public Relation Unit) หมายความว่า หน่วยที่จัดตั้ง ณ กองอานวยการ ค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย/ศูนย์หรือกองบัญชาการเหตุการณ์ หมายถึง หน่วยงานที่ทาหน้าที่ รับผิดชอบในการให้ข่าวต่อสาธารณะชน หรือทาหน้าที่อื่นใดที่ต้องประสานกับสื่อมวลชน รวมถึงให้รวบรวม ข้อมูลและนาข้อมูลดังกล่าวให้แก่ผู้ที่มีอานาจในการให้ข่าวแก่สื่อมวลชน

หน่วยการเงินและส่งกำลังบารุง หมายความว่า ที่จัดตั้ง ณ กองอำนวยการค้นหาและช่วยเหลือ อากาศยานประสบภัย/ศูนย์หรือกองบัญชาการเหตุการณ์ หมายถึง หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการ ด้านงบประมาณค่าใช้จ่ายในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย รวมไปถึงการจัดสรรดำเนินการ ด้านค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและสนับสนุนภารกิจการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยาน ประสบภัยในครั้งนั้น

ภาพจากแผนชาติ 2564
ภาพจากแผนการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ 2564

ระบบการแจ้งเตือนตำแหน่งของเครื่องบินประสบภัย

Distress call utilizing emergency beacon อากาศยาน เรือ หรือบุคคลผู้ประสบภัย ส่งสัญญาณขอ ความช่วยเหลือผ่านระบบดาวเทียม COSPAS-SARSAT ด้วยเครื่องส่งสัญญาณแจ้งพิกัดดาวเทียมระบุตาแหน่ง ขอความช่วยเหลือฉุกเฉินของอากาศยาน (Emergency Locator Transmitter หรือ ELT) เครื่องส่งสัญญาณ แจ้งพิกัดดาวเทียมระบุตาแหน่งขอความช่วยเหลือฉุกเฉินของเรือ (Emergency Position – Indicating Radio Beacon หรือ EPIRB) และเครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือส่วนบุคคล (Personal Locator Beacon หรือ PLB)

Search and Rescue Satellite สัญญาณความถี่ฉุกเฉิน 406 MHz จะถูกส่งไปยังระบบดาวเทียม COSPAS-SARSAT

Local User Terminal สัญญาณดาวเทียมในระบบ COSPAS-SARSAT จะถูกส่งไปยังสถานีรับสัญญาณ ดาวเทียมภาคพื้นดิน (Local User Terminal หรือ LUT) ซึ่งจะทาการประมวลผลและส่งข้อมูลไปยัง ศูนย์ควบคุมภารกิจการค้นหาด้วยดาวเทียม (Mission Control Centre: MCC)

Mission Control Centre ศูนย์ควบคุมภารกิจการค้นหาด้วยดาวเทียม (MCC) จะดาเนินการตรวจสอบ ข้อมูลก่อนส่งไปยังศูนย์ประสานงานการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย (Rescue Coordination Centre: RCC)

Rescue Coordination Centre ศูนย์ประสานงานการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ ประสบภัย (RCC) จะดาเนินการตรวจสอบข้อมูล ประเมินค่าข่าว และกาหนดขั้นของภาวะฉุกเฉิน (Emergency Phase) ก่อนที่จะประสานไปยังหน่วยค้นหาและช่วยเหลือที่เหมาะสมและใกล้ที่สุดเพื่อที่จะ ดำเนินการค้นหาและช่วยเหลือต่อไป

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
แผนการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ 2564

หนังสือนักบินมีทั้งหมด 5 เล่ม

สั่งซื้อหนังสือผ่าน shopee https://shopee.co.th/apilotbook

https://youtu.be/hHQwYTxaN_A

ติดตาม A Pilot Club ได้ทาง
ยูทูปช่อง Captain Sopon https://www.youtube.com/c/SoponPhikanesuan
เฟสบุ๊ค https://wwwfacebook.com/apilotbook
เว็บไซต์ http://www.apilotclub.com/
เป็นเพื่อนกับเราทางไลน์ออฟฟิศเชียล https://lin.ee/BQyGDbK
ซื้อหนังสือ A Pilot Book ได้ที่ https://shopee.co.th/apilotbook

Comments are closed
0
0