Inflight Relight

Inflight Relight chart

เป็นนักบินต้องอ่าน charts อ่านกราฟเก่งๆ

การตีความและทำความเข้าใจมีความสำคัญมากต่อการเอาตัวรอด

วันนี้เอากราฟหน้าตาแปลกๆมาให้ดูกันครับ อันนี้ยังไม่ค่อยยุ่งยากนัก มีเยอะกว่านี้อีก 

ดูกันไปก่อนครับ เดี๋ยวจะมาเขียนอธิบายให้อ่านกันคร่าวๆ เกี่ยวกับการสตาร์ทเครื่องยนต์เมื่ออยู่บนฟ้า กรณีเครื่องยนต์เกิดดับกลางอากาศ

แกนแนวตั้งเป็นระยะสูง (altitude) ส่วนแนวนอนเป็นความเร็วของเครื่องบินเมื่อเทียบกับความเร็วเสียงมีหน่วยเป็น mach 

ภายในกราฟจะเห็นเส้นสีดำทึบซึ่งแสดงถึงกรอบหรือขอบ envelope ที่เครื่องยนต์จะสามารถสตาร์ทติดได้ เลยจากกรอบนี้ไปไม่การันตีว่าจะสตาร์ทเครื่องยนต์ได้ อาจจะทำได้ก็ได้นะแต่โอกาสน้อยมาก ถามทิ้งไว้ว่าทำไม????

ทีนี้มาดูต่อที่เส้นประมีตัวเลข 200kt, 250kt, 360kt ถามเล่นๆว่า ทำไมเส้นมันเอียงไปทางขวา??
ถ้าเป็นนักบินหรือเรียนบินแล้วควรจะตอบได้นะครับ ถ้าตอบไม่ได้แสดงว่าเบสิคยังไม่แน่น

แอบไกด์ให้นิดๆ

ลองเอาดินสอจิ้มที่เส้นประเส้นใดเส้นหนึ่ง สมมติว่าจิ้มไปที่จุดตัดของเส้นประ 200 kt กับความสูง 10000 ฟุต

ลากจากตรงนั้นลงมา (เส้นแดงรูปที่สอง) จะได้ค่า 0.36 mach ทีความสูง 20000 ฟุตได้ค่า 0.43

ความเร็วเท่าเดิมแต่ค่า mach เพิ่มขึ้น 

กลับมาที่สาระของกราฟนี้กันครับ

จุดสำคัญคือเส้นทีบบางๆ เส้นที่ลูกศรสีแดงชี้

เส้นนี้คือเส้นแบ่งสองส่วน เลขในวงกลม 1 และ 2

เลข 1 คือ Assisted relight envelope

เลข 2 คือ windmilling relight envelope

มันต่างกันอย่างไร

Assisted relight หมายถึง นักบินจะต้องใช้ระบบ engine starter เข้าช่วยในการหมุนใบพัดเครื่องยนต์ ปกติ engine starter จะใช้เฉพาะที่พื้นตอนเริ่มออกเดินทาง

ส่วนคำว่า windmilling relight หมายถึง การที่เครื่องยนต์มีรอบการหมุนมากอยู่แล้วสามารถเริ่มกระบวนการสันดาบเชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้ได้เลย

มาถึงตรงนี้น่าจะพอเข้าใจกราฟหรือ chart นี้บ้างพอสมควรแล้วนะครับ
ทีนี้มาดูที่โน้ตที่ผมขีดเส้นใต้สีแดงไว้ครับ

จะเห็นว่า มีการกำหนดค่า N2 ขั้นต่ำเอาไว้ว่าถ้า N2 ต่ำกว่า 10% ต้องใช้ starter เข้าช่วยในการติดเครื่องยนต์
เท่านี้ก่อนครับ ลองวิเคราะห์เพิ่มเติมกันดูจะเห็นว่ากราฟหนึ่งๆนั้นบ่งบอกอะไรหลายอย่าง หากเราพยายามสังเกตุและวิเคราะห์โดยใช้พื้นฐานความรู้ทางวิชาการก็จะทำให้เข้าใจเครื่องบินที่เราบินอยู่ได้มากขึ้น

อ่อ เพิ่มอีกหน่อย N2 หมายถึง ชุดใบพัดส่วนที่สองซึ่งอยู่ภายในเครื่องยนต์ครับ ไม่ใช่ส่วนที่เราเห็นใบใหญ่ๆที่หน้าเครื่องยนต์

เครื่องยนต์สมัยหลังๆจะมีชุดใบพัดถึงสามชุดคือ N1 N2 และ N3

กราฟที่ผมเอามาให้ดูนี้เป็นของเครื่องบิน Airbus A300-600 น่าจะเป็นเครื่องยนต์ Pratts and Whitney

สำหรับเครื่องบินรุ่นหลังๆต่อมานั้น นักบินไม่ต้องคิดเยอะครับ เพราะระบบบนเครื่องบินจะมีการแนะนำให้นักบินว่าถ้าจะติดเครื่องยนต์ใหม่จะต้องทำ assisted relight ด้วยการใช้ starter เข้าช่วยหรือไม่ ระบบคอมพิวเตอร์บนเครื่องบินคิดให้แล้ว เครื่องรุ่นใหม่ๆน่าจะเปิด starter ให้เองเลยด้วยซ้ำ

แต่ไม่ว่าเครื่องบินจะทันสมัยมากขนาดไหน นักบินก็ต้องทำความเข้าใจระบบต่างๆให้ลึกซึ้งเพื่อที่จะแก้ไขสถานการณ์คับขันได้ทันเวลานะครับ 

เอาไว้อธิบายกันใหม่ในกราฟอันถัดๆไปดีกว่า

#ความรู้การบิน #apilotclub

#นักบินพาณิชย์

ซื้อหนังสือได้ทางอินบ๊อกซ์และ shopee
https://shopee.co.th/product/138504903/7619482665?smtt=0.0.9

หรือจะสั่งอีบุ๊คก็ไปที่ ookbee ครับ

https://bit.ly/2PbkUNk

ช่องยูทูปกัปตันโสภณ

สอบสัมภาษณ์ สมัครสอบนักบิน
https://youtu.be/V1ov2HwIEpE

Tags:

Comments are closed
0
0