15 วินาทีมีโอกาสตาย

ปกติคนหรือสิ่งมีชีวิตจะสามารถหายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้เมื่อมีความดันอากาศจากภายนอก(ร่างกาย) ดันอากาศเข้าสู่ปอด และการหายใจจะมีประสิทธิภาพน้อยลงเมื่อความดันอากาศภายนอกต่ำลง เช่น ตอนเราอยู่บนภูเขาสูงๆ อากาศจะดันเข้าสู่ปอดได้ยากขึ้นกว่าตอนอยู่ในพื้นที่ต่ำ

ที่ความสูงๆ กว่า 10,000 ฟุต ร่างกายของคนทั่วๆไปจะเริ่มถูกลดประสิทธิภาพในการหายใจเอาอากาศเข้าสู่ร่างกาย

อากาศจะเข้าสู่ร่างกายได้น้อยลงๆ เมื่อความสูงมากขึ้นๆ จนไม่สามารถหายใจนำออกซิเจนเข้าสู่ปอดได้ ก็จะเริ่มหมดสติและเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเหมาะสม

เครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ที่จะทำการบินที่ความสูง 30,000-45,000 ฟุต สิ่งมีชีวิตแบบคนเราจะไม่สามารถหายใจได้เพราะความดันอากาศที่ความสูงขนาดนั้นไม่มากพอที่จะอัดออกซิเจนเข้าสู่ปอด ผู้ผลิตเครื่องบินจึงสร้างระบบความดันอากาศเพื่ออัดอากาศเอาไว้ภายในห้องโดยสารโดยมีการถ่ายเทและหมุนเวียนอากาศตามสัดส่วนที่เหมาะสมด้วยระบบอัตโนมัติเพื่อรักษาระดับความกดอากาศให้อยู่ในระดับเทียบเท่ากับความสูงที่ประมาณ 6,000-8,000 ฟุตเหนือพื้นดินเราเรียกมันว่า Cabin Altitude 

เครดิตภาพ aircraft systems tech

การปรับความดันนี้จะปรับทั้งภายในห้องโดยสารและห้องเก็บสัมภาระ ที่ต้องปรับในห้องเก็บสัมภาระด้วยนั้นเป็นเพราะว่า การขนถ่ายสินค้า เรื่องบรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นการป้องกันความเสียหายของตัวสินค้า และอุปกรณ์ที่ถูกขนส่ง หากความกดอากาศเปลี่ยนแปลง ก็อาจจะเกิดความเสียหายได้เช่นกัน

ยกตัวอย่างง่ายๆ ถุงขนมหรือถุงมันฝรั่งที่เราพกขึ้นไปบนเครื่องบิน ตอนที่บินสูงขึ้นๆถุงจะพอง ถ้าไม่มีระบบความดันอากาศถุงต้องแตกแน่นอน

ดูตารางด้านล่างนี้ครับ หากเครื่องบินบินที่ความสูง 40,000 ฟุตและเกิดสูญเสียการควบคุมความดันอากาศ (decompression) เรามีเวลาเพียง 9-15 วินาทีเท่านั้นก่อนที่จะหมดสติ (ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของแต่ละคนด้วย)
ตั้งแต่ความสูง 35,000 ฟุต ขึ้นไปคนเรานั้นมีเวลาไม่ถึง 1 นาทีเท่านั้น

Time of Useful Consciousness

อีกตัวอย่างหนึ่งคือการขนส่งสิ่งมีชีวิตหรือสัตว์ต่างๆ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย สามารถนำขึ้นเครื่องบินขนส่งสินค้าได้ (ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่มีและขนาดของลำตัวเครื่องบิน) สัตว์ขนาดใหญ่จะมีกรงและการบรรทุกพิเศษ บางกรณีสำหรับสัตว์บางชนิดอาจฉีดยาให้นอนหลับสลึมสลือ เพื่อให้สามารถขนย้ายไปได้สะดวก

ระบบความดันอากาศภายในห้องสัมภาระหรือ Cargo Compartment จึงต้องควบคุมความดันด้วยเช่นกันนะครับ

สัมภาระที่เป็นสิ่งมีชีวิตเราเรียกตามภาษาการบินว่า “AVI”  ซึ่งเป็น code ในการโหลดสัมภาระใต้ท้องเครื่องบิน ที่หมายถึง “Live Animal” หมาและแมวก็จัดอยู่ในหมวดของ AVI ที่สามารถบรรทุกไปใต้ท้องเครื่องบินโดยมีระบบปรับความกดอากาศร่วมกันกับห้องโดยสารของคนครับ 

Pilot T-Shirt
สนับสนุนเวบ Pilot T-Shirt Limited Edition

โครงสร้างที่ต้องแข็งแรงนั้น ต้องทนกับแรงกระแทกและการรับน้ำหนักบรรทุกและตัวของเครื่องบินเองอีกด้วย อย่างเช่น 

ความแข็งแรงตลอดความยาวลำตัวของเครื่องบิน

ความแข็งแรงของช่วงรอยต่อของปีกกับลำตัว
(เครื่องบิน B737NG มีปัญหาบริเวณส่วนยึดที่เรียกว่า Pickle Folk ซึ่งโดยหลักการแล้วมันควรมีอายุใช้งานเท่ากับอายุเครื่องบินหรือมากกว่า 90,000 cycles จนโบอิ้งต้องออกคำแนะนำให้ทำการตรวจสอบเครื่องบิน B737NG ทั้งหมดที่อยู่ในเงื่อนไขที่กำหนด)

ความแข็งแรงของตัวปีกเองที่ต้องรับน้ำหนัก

พื้นที่บริเวณห้องโดยสารและบริเวณที่เป็นที่เก็บสัมภาระและการโหลดสินค้านั้นเป็นบริเวณที่เป็น pressurization area ทั้งหมด 

ส่วนของ pressurization area นั้นมีความสำคัญมากที่จะต้องมีความแข็งแรง เพราะต้องทนกับแรงอัดอากาศที่ต่างกันระหว่างภายนอกภายในห้องโดยสารประมาณ 8-9 psi ในเวลาที่เครื่องบินต้องบินสูง ๆ พื้นที่ลำตัวของเครื่องบินเกือบทั้งหมดเป็น pressurization area ครับ ยกเว้น

บริเวณส่วนห้วที่เรียกว่า nose radome (จมูกเครื่องบิน) คำว่า RADOME มาจากการผสมคำของ  Radar กับ Dome (รูปโค้งแบบระฆังคว่ำ)

ภาพ NASA

Nose radome นั้นเป็นที่ติดตั้ง เรดาห์ตรวจอากาศ (Weather Radar) ซึ่งจะไม่เป็นบริเวณที่เป็น pressurized area เพราะหากทำให้เป็น pressurised area จะต้องใช้วัสดุที่แข็งแรงมากคือ เป็นโลหะ แต่การใช้โลหะเป็นการบดบังสัญญาณเรดาห์ ไม่สามารถทำงานได้ บริเวณจมูกของเครื่องบินจึง ใช้วัสดุอีกประเภทหนึ่ง เป็นวัสดุไฟเบอร์ที่มีความแข็งแรงในระดับที่สามารถทนกับการบินด้วยความเร็วสูงได้และไม่บดบังการส่งและรับสัญญาณของเรดาห์ตรวจอากาศ จะเรียกได้ว่า ส่วนของ nose radome เป็นบริเวณที่แข็งแรงน้อยที่สุดบนเครื่องบินก็น่าจะได้ครับ

เราจึงเห็นรูปบริเวณนี้ มีการฉีกขาด หรือบุบบู้บี้ อยู่บ่อยครั้งเวลาที่ชนเข้ากับนกการชนนกด้วยความเร็วสูง ๆ อันตรายครับ แรงประทะเพิ่มเป็น 20 เท่าของน้ำหนักตัวนก การบินชนนก ภาษาการบินเรียกว่า Bird Strike

กลับหน้าแรก
ติดตามเฟสบุ๊ค A Pilot Club ที่นี่ www.facebook.com/apilotbook

Comments are closed
0
0