ความเครียดกับการเป็นนักบิน

สำหรับคนที่ติดตามอ่านเรื่องที่ผมเขียนตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา 

ก็คงจะพอรับรู้ได้บ้างว่าการเป็นนักบินนั้นมีความเครียดเวลาที่มีสถานการณ์ไม่ปกติ แต่

“ความเครียดกับการเป็นนักบินไม่ใช่ของที่ควรอยู่คู่กัน”

ก่อนอื่นผมขอนิยาม คำว่า 

“ความกลัว ความกังวล ความเครียด”

ตามแนวความคิดของผมแบบนี้ครับ

ความกลัวเกิดจาก ความไม่รู้ หรือไม่สามารถประเมินได้ว่า จะมีอันตรายหรือรุนแรงแค่ไหน หรือจะเป็นความกลัวที่เกิดจากการคาดคะเนด้วยมโนภาพหรือจินตนาการไปต่าง ๆ นานา แบบกลัวผี โดยที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง หรือ ตรรกะตามข้อเท็จจริงใด ๆ เลยก็ได้

ความกังวลเกิดจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์ ไม่สามารถคาดเดาผลลัพธ์ หรือไม่มีข้อมูลเพียงพอให้เชื่อมั่น หรือยังยืนยันไม่ได้ ไม่เห็นด้วยตาตัวเองประมาณนี้เป็นต้น

ความเครียด อาจเป็นการสะสมรวมกันของความกังวลและความกลัว โดยที่ไม่สามารถหาเหตุผลมาหักล้างหรือสนับสนุนให้เกิดความเชื่อมั่น โดยอาจมีเรื่องของเวลาเข้ามาเป็นตัวตีกรอบหรือเป็นสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลาย ๆ เรื่องรวม ๆ กัน

นักบินก็เป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความกลัว ความกังวล หรือความเครียดนั้นย่อมเกิดขึ้นได้

แต่นักบินต้องมีวิธีบริหารจัดการมันให้ได้ในเวลาที่มีจำกัด โดยเฉพาะเมื่ออยู่บนเครื่องบิน

นักบินต้องบริหารจัดการทั้งความกลัว ความกังวล และความเครียดได้

เอาทีละเรื่องเลยครับ

“ความกลัว เกิดจากความไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง”

หนังสือ A Pilot Book ทั้ง 5 เล่ม ราคา 1999 บาท ค่าส่ง 70 บาท
สั่งทาง Shopee
มีบริการเก็บเงินปลายทาง
ราคาหนังสือแต่ละเล่ม (รวมค่าส่งแล้ว)
A Pilot เล่มแรก ปกดำ ราคา 479 ฿
A Pilot Part II ราคา 349 ฿
A Pilot Part III ราคา 379 ฿
Aviation A-Z ราคา 429 ฿
20000 Hours 549 ฿

ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบิน การแก้ปัญหาเรื่องความกลัวในการบิน ก็ต้องแก้ด้วยการศึกษาและฝึกฝนตนเองให้รู้อย่างถ่องแท้ตามลำดับขั้นตอนที่จำเป็นต้องรู้ อาทิเช่น

ก่อนขึ้นบินครั้งแรก โรงเรียนการบินเค้าสอนอะไร นั่นแหละคือสิ่งที่ต้องรู้ ก่อนนั่งในเก้าอี้นักบิน เรียนให้รู้และเข้าใจ ground school ก่อนการขึ้นบินครั้งแรกคือ สิ่งจำเป็นสำหรับการขับเครื่องบิน แม้ว่าจะขึ้นบินกับครูก็ตามที

ก่อนปล่อย solo ก็ต้องเรียนรู้ทฏษฎีและกฏระเบียบด้านการบินมาหมดแล้ว วงจรการบินเป็นอย่างไร downwind ห่างเท่าไหร่ เมื่อไหร่ต้อง turnbase ดูอย่างไรเพื่อเลี้ยวเข้า final

สรุปการกำจัดความกลัวด้านการบิน คือ การมีความรู้ที่เหมาะสม ความกลัวไม่ควรมีอยู่ในตัวนักบินเมื่อทำการบิน ถ้ามีความกลัวแสดงว่า “ยังไม่พร้อม”

ความกังวลล่ะทำอย่างไร ความกังวลนี้อาจเป็นอีกขั้นหนึ่งที่เกิดจากสิ่งที่อาจจะจับต้องไม่ได้ อาจเกิดจากตัวเองก็ได้ที่กังวลไปเอง แต่ความกังวลไม่ใช่สิ่งเลวร้ายเสมอไป ความกังวลในบางครั้งอาจเป็นประโยชน์ เพราะทำให้มีตั้งใจที่จะระมัดระวังมากขึ้นแต่จะต้องไม่มีความกังวลมากเกินไปตลอดเวลา จนกลายเป็นหวาดระแวงและไม่เชื่อใจใครเลย 

ความกังวลนั้นจะลดลงไป 

เมื่อมีประสบการณ์การบินมากขึ้น

แต่นักบินไม่ควรกำจัดความกังวลออกไปทั้งหมด ผมคิดว่าควรเหลือไว้นิด ๆ และให้เปลี่ยนมันเป็น ความระมัดระวัง หรือ awareness  

เพราะคนจำพวกที่ไม่ระมัดระวังอะไรเลย เป็นพวกย่ามใจ เข้าข่ายประมาทเลินเล่อ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า complacency

หากเราเพิ่มพูนทักษะทั้งด้านความรู้และประสบการณ์แล้ว ความกลัวและความกังวล จะสามารถบริหารจัดการได้ในขณะที่ทำการบิน

แล้วความเครียดนั้นบริหารอย่างไร

ถ้าคนเป็นโรคเครียด ต้องหาหมอครับและไม่ควรมาเป็นนักบิน ถ้าบริหารความเครียดไม่ได้

การที่เราจะบินเครื่องบิน เราจึงต้องมีความมั่นใจกำจัดความกลัวด้วยความรู้ และต้องสามารถจัดการกับวิธีการหรือเข้าใจขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดี ถ้ากลัวและกังวลอยู่ แสดงว่า เรายังจัดการตัวเราเองได้ไม่ดีพอ 

บริหารความเครียดยังไง 

ก่อนอื่นต้องแยกแยะเสียก่อนว่า เป็นความเครียดที่เกิดจากความกลัวและความกังวลในการบิน ถ้ากรณีนี้ต้องศึกษาเพิ่มเติมให้มากที่สุด ปรับความรู้และความเข้าใจเพื่อสร้างความเขื่อมั่นว่าเราจะจัดการปัญหาต่าง ๆ ในการบินได้ด้วยความรู้ 

แต่ถ้าเป็นความเครียดเนื่องจากสาเหตุอื่นๆ โดยเฉพาะเรื่องส่วนตัวทุก ๆ เรื่อง ให้ใช้วิธีนี้ครับ

“ลืมทุกสิ่งก่อนขึ้นบิน”

ประโยคนี้เป็นคำสอนของกัปตันอาวุโสท่านหนึ่ง ท่านเคยพูดกับผมในวันแรก ๆ ของการเป็นนักบินพาณิชย์เป็นประโยคที่ผมยึดปฏิบัติมาตลอดยี่สิบกว่าปีแล้ว

ไม่ว่าก่อนบินจะมีปัญหาอะไรมากมายในชีวิตที่ต้องเคลียร์ต้องสะสาง แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องเริ่มงานในหน้าที่นักบิน

“เรื่องส่วนตัวต้องตัดทิ้งให้หมด และเตรียมตัวสำหรับการทำหน้าที่นักบินให้ดีที่สุดในเที่ยวบินนี้”

ความกังวลในเรื่องส่วนตัวเป็นการบั่นทอนประสิทธิภาพในการทำงานอย่างมาก เพราะจะทำให้นักบินมีโอกาส skip หรือมองข้ามบางเรื่องไป เพราะขาดสมาธิที่จะจดจ่อกับงาน

ขาดความละเอียดในการทำงาน เรื่องการบินมีรายละเอียดเยอะอยู่แล้ว การป้องกันอุบัติเหตุมีขั้นตอนปฏิบัติมากมาย การเสียสมาธิและลืมทำอะไรบางอย่างไป อาจทำให้เกิดผลเสียจนกลายเป็นอุบัติเหตุได้

ตามตำราจึงกำหนดไว้ว่า นักบินสามารถปฏิเสธที่จะไม่ขึ้นบินได้ หากคิดว่าตนเองไม่พร้อมเนื่องจากปัญหาส่วนตัว หรือมีความเครียดและความกังวลที่มากเกินกว่าที่จะกำจัดออกไปได้ก่อนทำการบิน

กลุ่มคนที่ไม่เหมาะจะเป็นนักบินคือ กลุ่มคนที่

เครียดกับทุก ๆ เรื่อง

เครียดกับทุก ๆ คน 

เครียดแบบไม่รู้เวลา

เครียดจนไม่รู้หน้าที่

เครียดโดยไม่สนใจสิ่งที่อยู่ตรงหน้า

เครียดโดยไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด

เครียด……ฯลฯ

ที่สำคัญคือไม่สามารถแยกแยะปัญหาส่วนตัวออกจากการบินได้

“อยู่บนเครื่องบินให้ลืมทุกสิ่งบนพื้นโลก 

เท้าแตะพื้นแล้วค่อยว่ากันใหม่นะ”

https://www.youtube.com/c/SoponPhikanesuan

มาเรีย โอซาว่า

Demo Slot Here