The Road in The Sky

เรื่องไม่ลับอาชีพนักบินกับสาระเบาๆเพื่อนักเดินทาง

Takeoff หรือ Landing

Takeoff หรือ Landing  อันไหนยากง่ายกว่ากัน  และอันไหนมีความเสี่ยงสูงกว่า คนส่วนใหญ่มักรู้สึกว่าการร่อนลงจอด (Landing) มีความเสี่ยงสูง แต่ในทางทฏษฏีและสถิติด้านการบินแล้วการวิ่งขึ้นจากสนามบิน(Takeoff) นั้นมีความเสี่ยงมากกว่าค่อนข้างมาก การ Landing นั้นจริงอยู่ว่าสำหรับนักบินแล้วยากกว่าการ Takeoff  เพราะการ Landing นักบินต้องบังคับเครื่องบินจากอากาศลงสู่พื้น คิดแบบเชิงเปรียบเทียบคือ จากพื้นที่กว้างๆบนฟ้าลงมาสู่พื้นดินแคบๆ เพียง 40-60 เมตรแต่การ takeoff คือบังคับเครื่องบินจากพื้น Runway ขึ้นสู่ท้องฟ้าที่กว้างใหญ่ มันเป็นความรู้สึกเชิงเปรียบเทียบเท่านั้น จริงอยู่ที่การ Landing ต้องใช้ทักษะในการบังคับเครื่องบิน (Flying skill) มากกว่าตอน takeoff และต้องทำงานหลายอย่างพร้อมๆกัน (Multi-Tasking skill) เพื่อให้เครื่องบินลงสู่พื้นและหยุดอย่างปลอดภัยบน runway ปัจจัยเรื่องฝน ฟ้า อากาศและลมที่พัดแรงล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้นักบินทำงานยากขึ้น แต่ปัจจัยต่างๆนั้น ก็ถูกกำหนด หรือจำกัด (Limitation) กำกับเอาไว้ เพื่อให้การ Landing สามารถทำได้อย่างปลอดภัยด้วยสมรรถนะความสามารถของเครื่องบินและนักบินที่จะทำการบินได้ (Performance and Capability) ตัวอย่างเช่น ความแรงของลมที่ขวางสนาม ไม่เกิน 30 หรือ 40 knots แต่ก็มีเรื่องสัมประสิทธิแรงเสียดทานของยางที่กระทำกับผิวของ runway (Braking co-efficient) ประมาณว่า ถ้าพื้น runway ลื่นมากก็จะมี limit x-wind landing ต่ำลง (เครื่องบินแต่ละแบบมี limit x-wind […]

ปีกกระดก-Aileron

ปีกกระดก-Aileron   ส่วนสำคัญในการบังคับการเอียงซ้าย-ขวา ของเครื่องบิน คือ Aileron ไม่รู้จะเรียกภาษาไทยว่าอะไรดีให้จำง่าย ๆ ก็เรียกทับศัพท์กันไปล่ะกันครับ (เครื่องบินบางประเภทจะเรียกว่า Flaperon ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Flaps เรายังไม่พูดเรื่อง flaps เอาเป็นว่าอย่าเพิ่งลงลึกขนาดนั้นเดี๋ยวจะงง) ระหว่างเขียน มีคำเรียก aileron ขึ้นมาในใจว่า “ปีกกระดก”  เรื่องภาษาเรียกของผม อย่าเอาไปเป็นบรรทัดฐานสากลนะครับ ผมพยายามเรียกขานเพื่อให้มองเห็นภาพ และเพื่อความเข้าใจพื้นฐาน Aileron จะมีอยู่เหนือปีกทั้งสองข้างผมเคยเขียนเรื่อง Lift ไปแล้ว ว่ามันคือการสร้างแรงยกตัวของ airfoil แต่ aileron นั้นจะเป็นการทำให้ airfoil สูญเสีย Lift หรือในทางกลับกันคือเป็นการสร้าง lift กลับด้าน aileron ถูกติดตั้งไว้เหนือปีก มันจะยกตัวกระพือขึ้นเพื่อเปลี่ยน vector ของลมแล้วทำให้เกิดแรงยกที่ปีกด้านนั้นลดลง ในขณะที่ปีกอีกข้าง aileron จะไม่ยกตัวขึ้นมา (หรือปรับมุมลงล่างสวนทางไปเลย แล้วแต่การดีไซน์ปีก) เมื่อปีกสองข้างมี Lift ไม่เท่ากัน เครื่องบินก็จะเอียงไปทางปีกที่ aileron ยกตัวขึ้น เช่น aileron ด้านซ้ายยกตัวขึ้น ก็จะทำให้เครื่องบินเอียงซ้าย aileron ด้านขวายกตัวขึ้น ก็จะทำให้เครื่องบินเอียงขวา อย่างนี้เป็นต้น ภายในห้องบังคับเครื่องบินที่นักบินนั่งอยู่นั้นจะมีอุปกรณ์บังคับเลี้ยวบนอากาศ เรียกว่า Control Column  ถ้าเครื่อง Airbus รุ่นใหม่ ๆ จะเป็น Control Stick […]

หางตั้ง (Vertical Fin)

หางตั้ง (Vertical Fin) รูปร่างสามเหลี่ยมเกือบมุมฉาก วางแนวตั้งที่ด้านท้ายเครื่องบิน หน้าตาคล้ายหางปลา ส่วนที่แทบทุกสายการบินใช้แปะโลโก้ เราเรียกส่วนนี้ว่า Vertical Fin หรือ Vertical Stabilizer  Vertical Stabilizer หน้าตาจะคล้ายกับครึ่งเดียวของ Horizontal Stabilizer จับวางในแนวตั้ง เครื่องบินบางแบบใส่เครื่องยนต์ที่ 3 ไว้ที่บริเวณนี้ด้วย ในอดีตมีการผลิตเครื่องบิน 3 engines ค่อนข้างมาก เพื่อแทรกกลางพิสัยการบินของ 2 กับ 4 เครื่องยนต์ และลบข้อจำกัดของการบินด้วย 2 engines ที่ห้ามออกทะเลไกลๆ หรือห่างจากสนามบินที่สามารถนำเครื่องลงจอดได้เกินกว่า 1 ชม. ก็เลยใส่เครื่องยนต์ที่สามเพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องข้อจำกัดนี้ รุ่นที่นิยมมากคือ DC10 และ MD11 แต่ปัจจุบันข้อกำหนดนี้ถูกกำกับด้วยมาตรฐานอื่นๆไปแล้ว  สำหรับ 2 engines aircraft ตัวอย่างเช่น การเพิ่มวิธีปฏิบัติและแนวทางในการซ่อมบำรุงที่เพิ่มขึ้น ทำให้เครื่องบินที่มี 2 เครื่องยนต์สามารถบินข้ามน้ำข้ามทะเลได้ไกลถึง 240 นาที กลับมาที่ vertical stabilizer ครับ หน้าที่หลักเป็นเรื่องการสร้างสมดุลย์ของเครื่องบินระหว่างอยู่บนอากาศ ตั้งลำอยู่ได้ในท่าทางที่ต้องการ ไม่หมุนควงสว่าน ใน vertical stabilizer มีพื้นที่ส่วนหนึ่งที่ขยับซ้าย-ขวาได้ ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในการบังคับเลี้ยว เราเรียกตรงส่วนนั้นว่า Rudder ที่เรียก rudder ว่าเป็นตัวช่วยในการบังคับเลี้ยว เพราะว่าถ้าใช้ rudder อย่างเดียวเครื่องไม่เลี้ยวครับ […]

ปีกเล็ก ๆ ที่อยู่ท้ายเครื่องบิน

ปีกเล็ก ๆ ที่อยู่ท้ายเครื่องบิน มีไว้ทำอะไร   ส่วนท้ายของเครื่องบินที่มีลักษณะคล้ายกับปีกแต่มีขนาดเล็กกว่าปีกมาก เรียกว่า Horizontal Stabilizer แต่มีหน้าที่ไม่เหมือนกับส่วนปีก เพราะไม่ได้ทำหน้าที่สร้างแรงยกตัวหลักเพื่อรับน้ำหนักตัวของเครื่องบินแบบบริเวณปีก แต่ทำหน้าที่ในการสร้างความสมดุลย์ของแรงที่กระทำต่อเครื่องบิน เหมือนเป็นตัว balance และปรับการบังคับให้เครื่องบินบินอยู่ในท่าทางที่ต้องการ เช่น เชิดหัวขึ้น (Pitch Up) หรือ ปรับให้เป็นมุมก้ม (Pitch Down) horizontal stabilizer คือ ตัวบังคับทิศทางในแนวดิ่ง (Vertical) นั่นเอง horizontal stabilizer จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของ Flight Control Systems เป็นชิ้นส่วนที่สามารถปรับมุม (ขึ้น-ลง) เพื่อบังคับเครื่องบินได้ ตัว Horizontal Stabilizer นั้น มี Elevators เป็นองค์ประกอบที่สามารถขยับปรับมุมขึ้นลงได้เช่นกัน แต่เป็นพื้นที่เพียงไม่กี่เปอร์เซนต์ของ horizontal stabilizer ทั้งแผ่น อธิบายง่าย ๆ ให้เห็นภาพชัด ๆ ว่า หากเครื่องบินต้องการเปลี่ยนท่าทาง แค่เพียงชั่วขณะ สามารถใช้ elevators ชิ้นเล็กๆ นี้ ปรับทิศทางของแรงที่กระทำต่อเครื่องบินทั้งลำได้  แต่ถ้าต้องการให้เครื่องบินอยู่ในท่าทางนั้นนาน ๆ ก็ให้ปรับมุมของ horizontal stabilizer เพื่อ balance ให้เครื่องบินอยู่ในท่าทางนั้น ๆ ไปเลย ในการบังคับเครื่องบินจะใช้ทั้ง horizontal stabilizer และ elevator เพื่อปรับมุมก้ม-มุมเงย ควบคู่กันไปตลอดเวลา

ว่าด้วยเรื่องแรงยกตัว Lift

ว่าด้วยเรื่องแรงยกตัว Lift  Lift หรือ แรงยกในทางการบิน ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดในการทำให้เครื่องบินลอยขึ้นไปในอากาศ รวมถึงการบังคับทิศทางของเครื่องบินในขณะอยู่บนอากาศด้วย ถ้าพูดถึงเครื่องบิน เราจะนึกถึง ปีก (wings) แรงยกที่ปีก ทำให้เครื่องบินลอยสู่อากาศโดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับความดัน (pressure) ปีกเครื่องบินด้านบนจะถูกทำให้เป็นรูปร่างโค้ง ผิวปีกด้านล่างจะเป็นแบบเรียบ ส่วนสันด้านหน้าจะหนากว่าด้านท้าย เราเรียกลักษณะรูปร่าง ที่ทำเป็นปีกของเครื่องบินด้านบนโค้งด้านล่างตัดตรง ว่า aerofoil (หรือ Airfoil) aerofoil เมื่อวิ่งแหวกอากาศไปนั้น ลมที่ถูกแหวกให้วิ่งผ่านเหนือ aerofoil นั้น จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่า ลมที่ผ่านใต้ aerofoil ด้านบนที่ลมมีความเร็วสูงจะเกิดความดันอากาศน้อยลงและน้อยกว่าด้านล่างใต้ aerofoil (Bernoulli′s Principle) ความดันที่ด้านใต้สูงกว่าความดันที่ด้านบนจึงทำให้เกิดแรงดันขึ้นด้านบน หรือ เกิดแรงยกตัว คือ Lift นั่นเอง ดังนั้นหากต้องการ Lift เยอะ ๆ ก็ทำปีกให้ใหญ่ ให้กว้างและยาวขึ้น เพื่อให้สัมพันธ์กับน้ำหนักของเครื่องบิน เครื่องบินลำใหญ่จึงต้องสร้างปีกใหญ่ๆ และบริเวณแพนหางขนาดที่ใหญ่ตามไปด้วยเพื่อใช้บังคับทิศทางของเครื่องบิน

0
0