อยากเป็นนักบินต้องทำอย่างไร

ปัจจุบันอาชีพนักบินเปิดกว้างมากขึ้น สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัย หรือคณะที่ไม่ได้มีหลักสูตรการบิน สามารถเป็นนักบินพาณิชย์ได้ โดยการสมัครเป็นนักบินฝึกหัดกับสายการบินต่าง ๆ ที่จะมีการประกาศรับสมัครอยู่เรื่อย ๆ เราเรียกการรับสมัครนักบินในกลุ่มนี้ว่า “Student Pilot”

กลุ่ม Student Pilot นั้น หากผ่านการคัดเลือก บริษัทก็จะส่งตัวไปเข้ารับการฝึกเพื่อเป็นนักบินกับโรงเรียนการบินต่างๆ ที่มีข้อตกลงไว้กับบริษัท การฝึกก็จะเป็นไปตามลำดับขั้นตอนเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรีหลังจากนั้นจึงจะบรรจุเข้าเป็นพนักงานของสายการบินและเข้ารับการฝึกตามมาตรฐานของแต่ละสายการบินต่อไป ส่วนข้อกำหนดในการรับเข้าทำงานนั้นก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละสายการบิน รวมทั้งข้อผูกมัดหลังจากฝึกบินเสร็จแล้วก็แตกต่างกันไป เช่น หากฝึกเสร็จแล้ว ต้องทำการบินกับบริษัทฯ ไม่น้อยกว่า กี่ปี หรือหากลาออกก่อนกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ในสัญญาผูกพันจะต้องชดใช้ค่าเล่าเรียนที่บริษัทฯออกให้ก่อนเป็นเงินเท่าไหร่ เป็นต้น หรือบางสายการบินอาจใช้วิธีหักเงินเดือนเพื่อคืนค่าเล่าเรียนที่บริษัทออกให้ 

ปัจจุบันมีหลายมหาวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรต่าง ๆ เกี่ยวกับนักบินพาณิชย์พร้อมกับปริญญาบัตรวิชาชีพไม่ว่าจะเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือ คณะวิทยาศาสตร์ โดยนักศึกษาที่จบหลักสูตรนักบินพาณิชย์จะต้องผ่านการฝึกบินโดยโรงเรียนการบินที่ทำพันธสัญญาร่วมกับมหาวิทยาลัย ซึ่งโรงเรียนการบินเหล่านั้นก็ต้องได้รับรองจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยด้วย ดูรายชื่อโรงเรียนการบินที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานการการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

https://www.caat.or.th/th/archives/24859

รายชื่อโรงเรียนการบินที่ได้รับใบรับรอง

List of CAAT Approved Flying Training Organisation (FTO)

รายชื่อสถาบันฝึกอบรมด้านการบินที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

ที่(No.)บริษัท/สถาบัน/โรงเรียน (Organisation Name)Certificate No.หลักสูตรที่ได้รับการรับรอง(Approved Courses)วันที่ออก(Date Issued)วันหมดอายุ(Expire Date)
1.สถาบันการบินพลเรือน 
Civil Aviation Training Center (CATC)Address:66/96 Huahin Subdistrict, Huahin, Prachuap Kirikhan For Certificate >Click Here< 
CATC-FTO-No.01 1. Private Pilot – Airplane/Helicopter Course2. Instrument Rating Course3. Commercial Pilot – Airplane/Helicopter Course4. Instructor Pilot – Airplane/Helicopter Course5. Multi – Engine Course6. Airline Transport Pilot Course (Theory)7. Robinson R44 Transition Course8. Robinson R44 Refresher Course9. Flight Operation Officer / Flight Dispatcher Course10. Supplemental Course for Pilot Requalification11. Recurrent – Airplane Course12. Flight Operation Officer Refresher Course 8 May 2021 7 May 2024 
2. บริษัท ไทย เจนเนอรัลเอวิเอชั่น เทคโนโลยี จำกัดThai General Aviation Technology School (TGAT)Address:  1/742 Floor 2-4, Garden Home Shopping Plaza Paholyothin Rd.Km.26 KuKot Lamlookka PatumtaneeFor Certificate >Click Here< TGAT-FTO-No.021. Private Pilot License Ground Training Course2. Commercial Pilot License Ground Training Course3. Instrument Rating Ground Training Course4. Flight Instructor Rating Ground Training Course5. Multi – Engine Rating Ground Training Course12 September 202011 September 2023
3. วิทยาลัยการบินนานาชาติ มหาวิทยาลัยนครพนม International Aviation College Nakhon Phanom University (IAC)(Inactive)Address: 129 Moo 6 Ban NaThanBin Photak  Muang Nakhon Phanom 48000For Certificate >Click Here< IAC-FTO-No.31. Private Pilot – Airplane Course2. Commercial Pilot – Airplane Course3. Instrument Rating Course4. Instructor Pilot Course5. Multi Engine Rating Course6. Refresher / Requalification Training Course 14 January 202013 January 2023
4. บริษัท บางกอก เอวิเอชั่นเซ็นเตอร์ จำกัดBangkok Aviation Center Public Co.,LTD (BAC) Address:88/117 Soi Vibhavadi Rangsit 72, Sanambin Subdistrict, Donmuang District, Bangkok 10210For Certificate >Click Here< BAC-FTO-No.04 1. Private Pilot-Airplane Course2. Instrument Rating Course3. Multi – Engine Rating4. Commercial Pilot – Airplane Course5. Instructor Pilot Course6. Airline Transport Pilot – Airplane Course (Theory)7. Core Flying Skill for MPL8. Multi Crew Co-operation (Theory)9. Requalification for License/Rating Revocation Course10. Multi – Engine Conversion Course31 October 201930 October 2022
5.บริษัท ไทยไฟลท์เทรนนิ่ง จำกัดThai Flight Training Co., Ltd. (TFT)Address:89 Vibhavadi Rangsit Rd. Bangkok 10900For Certificate >Click Here<  TFT-FTO-No.08 1. Airline Transition Training Course2. Multi Crew Co-Operation Course (Airline Pilot Standard)3. Train Trainer Course4. Type Rating Training Course : A300-600, Airbus A320, Airbus A330, Airbus A340, Boeing 737-400, Boeing 737-800, Boeing 747-400, Boeing 7775. Airline Transport Pilot Knowledge Course6. Upset Prevention and Recovery Training7. Examiner Standardisation 25 April 202024 April 2023
6.บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่นแอนด์ เทคโนโลยี จำกัดAsia Aviation And Technology Co., Ltd. (AAT) Address:423 Rungsaeng Bldg.,4th floor Bangna-Trad Km 2.5 Bangna Bangkok 10260Certificate Link >Click Here<FTO-0006 1. Private Pilot-Airplane Course 2. Commercial Pilot-Airplane Course 3. Instrument Rating Course4. Instructor Pilot Course5. Multi-Engine Rating Course  30 June 202129 June 2024
7. บริษัท ดี-0507 ไฟลท์ เทรนนิ่ง จำกัดD-0507 Flight Training Co.,Ltd. (D-0507)Address:9 Nasang Road Nakhon Pathom Sub-District Mueang Nakhon Pathom 73000For Certificate >Click Here< FTO-00071. Private Pilot – Airplane Course Flight Rating (Ground and Flight Training)2. Commercial Pilot – Airplane Course3. Instrument Rating Course4. Instructor Pilot Course 5. Recurrent Training Course26 August 202125 August 2024
8. บริษัท ไทย อินเตอร์ ไฟลอิ้ง จำกัดThai Inter Flying Co., Ltd. (TIF) Address :10/11 Vibhawadee 64, Vibhawadee-Rangsit, Talad Bangkhen, Laksi Bangkok 10210For Certificate >Click Here< 
FTO-0009 1. Private Pilot – Airplane Course2. Commercial Pilot – Airplane Course3. Additional Commercial Pilot – Airplane Course4. Instrument Rating Course5. Multi-Engine Rating Course6. Instructor Pilot Rating Course7. Refresher or Requalification Training Course8. Recurrent Training Course9. Airline Transport Pilot – Airplane Course (Theory)10. Supplemental Course for Pilot Requalification 01 November 202031 October 2023 
9. บริษัท พรีเมี่ยมแอร์ไลน์ จำกัดPremium Airlines Co.,Ltd. (PRE)Address : 222 Air Agent Building1, Don Mueang International Airport, VibhavadiRangsit RD., Sanambin Sub-district, Don Mueang District, Bangkok 1021For Certificate >Click Here< PRE-FTO-No.111. Private Pilot – Airplane Course2. Instrument Rating Course3. Multi Engine Rating Course4. Commercial Pilot – Airplane Course5. Instructor Pilot Rating Course  15 December 202014 December 2023
10.บริษัท เอเอฟเอ แอโรนอตติคอล จำกัดAFA Aeronautical Co.,Ltd. (AFA)(Inactive)Address:88/7 Moo 3, Bangtalad, Pakkred, Nonthaburi 11120For Certificate >Click Here< F03/2018 1. Private Pilot License (Single Engine Ground and Flight Training)2. Commercial Pilot License (Single Engine Ground & Flight Training)3. Additional Commercial Pilot License (Single Engine Ground & Flight Training-Aeroplane)4. Instrument Rating (Ground & Flight Training-Aeroplane)5. Multi-Engine Rating (Ground Training-Aeroplane)6. Flight Instructor Rating (Ground & Flight Training-Aeroplane) 12 September 201811 September 2021
11.บริษัท ไทย เอวิเอชั่น จำกัดThai Aviation Co.,Ltd. (TAA)Address:90 CW Tower B, 28 Floor B2804, Ratchadaphisek Rd, Huai Khwang, Bangkok 10310For Certificate >Click Here<  FTO-0013 1. Private Pilot License – Airplane Course2. Commercial Pilot – Airplane Course3. Instrument Rating Course4. Multi-Engine Rating Course5. Instructor Pilot Course6. Refresher or Requalification Training Course7. Recurrent Airplane Course8. Airline Transport Pilot – Airplane Course  11 December 202110 December 2024
12. บริษัท ไทย แอโรนอตติคอล เซ็นเตอร์ จำกัดThai Aeronautical Center Co.,Ltd. (TAC)Address:62/258 Soi.Prasertmanukit 27 Prasertmanukit Rd, Jorrakaebua , Lat-Prao, Bangkok 10230For Certificate >Click Here<TAC-FTO-No.141. Private Pilot License – Airplane Course2. Commercial Pilot License – Airplane Course3. Additional Commercial Pilot License – Airplane Course4. Instrument Rating Course5. Instructor Pilot Course6. Refresher Training Course18 November 201917 November 2022
13. บริษัท บางกอกแอร์ เอวิเอชั่น เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัดBangkokair Aviation Training Center Co.,Ltd. (BATC) Address:6th Floor 99 Mu 14 Vibhavadi Rangsitm, Road Chomphon Chatuchak Bangkok 10900For Certificate >Click Here< BATC-FTO-No.151. Private Pilot – Airplane Course2. Instrument Rating Course3. Commercial Pilot – Airplane Course4. Instructor Pilot Course5. Refresher or Requalification Training Course6. Airline Transport Pilot – Airplane Course (Theory)7. ATR72 Type Rating and Refresher Training Course8. Airbus A320 Type Rating and Refresher TrainingCourse9. Supplemental Course for Pilot Requalification19 May202018 May 2023
14. สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศDefense Technology Institute Unmanned Aircraft System Training Center (DTI) Address:47/433 Changwattana Road, Pak Kret District, Nonthaburi 11120For Certificate >Click Here< DTI-FTO-No.161. Remote Pilot Visual Line of Sight Certificate2. Instructor Remote Pilot License Course (IRPL) 8 September 20207 September 2023
15. บริษัท ไฟลท์ เทรนนิ่ง (ไทยแลนด์) จำกัดFlight Training (Thailand) Co., Ltd. (FTT)Address:88 Moo 8, T. Bangsaothong, A. Bangsaothong, Samutprakarn 10570For Certificate >Click Here< FTT-FTO-No.171. Boeing 737-800 Type Rating Initial, Transition, Upgrade and Recurrent Training (Ground and Simulator Training)27 September 202126 September 2024
ข้อมูล ณ วันที่ 15 กันยายน 2565– กองมาตรฐานสถาบันและหลักสูตรฝึกอบรม ฝ่ายมาตรฐานสถาบันฝึกอบรมและผู้ประจำหน้าที่ –Training Organisation Division (TO) Personnel Licensing Department (PEL) สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT)

สำหรับกลุ่มนักศึกษาที่จบหลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรีจากมหาวิทยาลัยหรือสถารบันการบินเหล่านี้ สามารถสมัครเข้าคัดเลือกเพื่อเป็นนักบินกับสายการบินได้ เราเรียกนักบินกลุ่มนี้เรียกว่า “Qualified Pilot” 

Qualified pilot หมายถึงคนที่มีประสบการณ์การบินมาแล้วระดับหนึ่ง มีใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี จากการเรียนกับมหาวิทยาลัยหรือจ่ายเงินเรียนกับโรงเรียนการบินเองค่อย ๆ เก็บสะสมชั่วโมงบินและการสอบวัดศักย์ต่าง ๆ ครบถ้วนจนได้ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี หรือ CPL:Commercial Pilot License 

ในแต่ละปีสายการบินต่าง ๆ จะประกาศรับนักบินที่ผ่านการสะสมชั่วโมงและผ่านการฝึกจนได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรีแล้วแบบนี้ประมาณปีละหนึ่งครั้ง (ระยะหลัง ๆ ประกาศรับมากกว่า หนึ่งครั้งต่อปี) มีศัพท์เฉพาะเพื่อความเข้าใจอีกประเภทเกี่ยวกับการสมัครนักบินประเภท qualified pilot คือ “type rating” และ “non type rating” การรับสมัครนักบินแบบนี้ เป็นลักษณะของการย้ายสายการบิน กล่าวคือ กลุ่มนักบินที่มีประสบการณ์กับสายการบินมาก่อนแล้ว

on type rating หมายความว่า มีประสบการณ์การบินของเครื่องบินแบบที่สายการบินต้องการนำไปใช้งาน หรือมีการฝึกให้ได้ศักย์การบินเฉพาะแบบมาแล้ว ซึ่งกรณีหลังนี้จะต้องเข้ารับการฝึกหลังในเครื่องฝึกบินจำลองของเครื่องบินแบบนั้น ๆ ให้ครบหลักสูตรจึงจะได้รับการรับรอง Type Rating

อย่างไรก็ตาม Qualify pilot เมื่อเข้าบริษัท ก็ต้องฝึกตามมาตรฐานการฝึกบินของสายการบินใหม่อีกครั้ง ไม่ใช่ว่าเข้าไปแล้วบินได้เลย ตัวอย่างเช่น นักบินจากสายการบิน A บินเครื่องบินแบบ Airbus A320 อยู่แล้ว แต่จะไปสมัครสายการบิน B ซึ่งใช้เครื่องบินแบบ A320 เหมือนกัน ไม่ใช่ว่า ย้ายบริษัทแล้วจะทำการบินได้ในทันที ต้องไปผ่านการฝึกอบรมจากสายการบิน B อีกครั้ง แต่อาจจะใช้เวลาสั้นกว่าคนที่ไม่เคยบินเครื่องบิน A320 มาก่อน เป็นต้น

แต่ถ้านักบินจากสายการบิน A ที่บินเครื่องบิน B747 แล้วจะย้ายไปบินกับสายการบิน B ซึ่งมีแต่เครื่องบินแบบ A320 ก็สามารถทำได้ โดยผ่านการฝึกบินกับสายการบิน B ใหม่อีกครั้งซึ่งอาจใช้เวลาหรือขั้นตอนการฝึกยาวหน่อย กรณีแบบนี้เรียก non type rating 

ทั้ง type และ non type จะมีข้อกำหนดเรื่องประสบการณ์การบินกับเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่อื่นๆเพิ่มขึ้น เช่น ชั่วโมงบินขั้นต่ำ 3000 หรือ 5000 ชม. มีใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก (ATPL: Airline Transport Pilot License)

ใบสำคัญแพทย์ ด้านเวชศาสตร์การบิน ระดับหนึ่ง (Class one Medical Document) ใบรับรองความสามารถทางภาษาอังกฤษ ระดับ 4 (English language proficiency level 4 or above) และ อื่น ๆ แล้วแต่ทางสายการบินจะกำหนด

ประมาณ เกือบ ๆ 10 ปีมานี้ มีการย้ายบริษัทของนักบินสูงมาก โดยเฉพาะช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมาสายการบินแห่งชาติส่งออกนักบิน ทั้ง type rating และ non type rating ไปบินกับสายการบินแถวตะวันออกกลาง ยิ่งในระยะหลัง ๆ นี้ก็มีออกจากสายการบินหนึ่ง ไปสายการบินหนึ่ง ภายในประเทศไทยเอง เรื่องแบบนี้ จะยังคงเกิดขึ้นอยู่อีกเรื่อย ๆ เพราะการผลิตนักบินยังไม่เพียงพอกับความต้องการของสายการบิน ตลาดต่างประเทศรอบ ๆ บ้านเรา ทั้งจีน เกาหลี ไต้หวัน เวียดนาม พม่า อินโดนีเซีย ฯลฯ

สำหรับ Qualify Pilot นั้น อาจมากจากการเป็นนักบินของหน่วยราชการต่างๆได้ด้วย เช่น กองบินตำรวจ กรมฝนหลวง กองบินทหารเรือ ทหารบก และทหารอากาศ เพราะฉะนั้นเส้นทางการเข้าเป็นนักบินพาณิชย์นั้นอาจเริ่มต้นจากการเป็นนักบินที่สังกัดอยู่ในหน่วยราชการต่างๆแล้วลาออกมาสมัครเข้าเป็นนักบินของสายการบิน

ในอีกหนึ่งหนทางก็คือ การไปเรียนบินมาจากสถาบันการบินที่อยู่ต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ฯลฯ แบบนี้ก็จะต้องกลับมาแปลงใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรีของประเทศไทยอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะเข้าเป็นนักบินของสายการบินในประเทศไทย

จริงๆแล้วการไปจบการบินจากต่างประเทศก็มีข้อได้เปรียบครับ เช่น หากเรียนจบ CPL จากอเมริกา หมายความว่า ได้รับใบอนุญาตที่เป็น FAA licence ก็สามารถเข้าหรือสมัครเข้าทำงานกับสายการบินที่อยู่ในอเมริกาหรือกำหนดว่าต้องการนักบินที่ถือใบอนุญาตนักบินของ FAA ถ้าเป็นยุโรปก็จะเป็น EASA licence ซึ่งจะมีความเฉพาะตัวของแต่ละค่าย แต่สำหรับประเทศไทยและรอบๆบ้านเราในเอเซียจะเป็น ICAO ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าประเทศนั้นๆจะกำหนดว่าต้องผ่านกฏเกณฑ์เพิ่มเติมอะไรหรือไม่ เช่น ประเทศจีนอาจยังไม่ยอมรับ license จากประเทศไทย ICAO-CPL หรือ สายการบินในยุโรปก็บังคับว่าจะต้องสอบให้ได้มาตรฐาน EASA license เป็นต้น

O-o-O

การเข้ารับการสอบสัมภาษณ์นักบิน


การสอบนักบิน มีขั้นตอนต่าง ๆ คร่าว ๆ ประมาณนี้ครับ

ขั้นแรก คือ การสอบข้อเขียนซึ่งมักจะสอบวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษ
ขั้นที่สอง คือ การตรวจสุขภาพ โดยปกติจะให้ตรวจกับสถาบันเวชศาสตร์การบิน กรมแพทย์ทหารอากาศ อยู่ใกล้ ๆ กับรพ.ภูมิพล ปัจจุบันสามารถรับการตรวจที่รพ.เอกชนต่างๆได้หลายแห่ง ทั้ง รพ.สมิตเวช รพ.กรุงเทพ
ขั้นที่สาม คือ การสอบสัมภาษณ์ ซึ่งแล้วแต่ว่าแต่ละสายการบินจะจัดให้มีการสอบอย่างไร ของการบินไทยจะมีกัปตันของบริษัทฯ จำนวน 2-3 ท่านเป็นผู้สัมภาษณ์ ขั้นตอนนี้ผมจะแนะนำอีกที
ขั้นที่สี่ คือ การสอบ Aptitude แต่ละสายการบินก็คงมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป การบินไทยจะใช้นักจิตวิทยาชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นผู้ชำนาญเกี่ยวกับการคัดเลือกนักบิน

หากสอบผ่านทุกขั้นตอนก็จะได้ทุนนักบินฝึกหัดและถูกส่งไปเรียนด้านการบินกับโรงเรียนการบินที่แต่ละบริษัทมีข้อตกลงไว้ เมื่อจบจากโรงเรียนการบินแล้ว (ปกติใช้เวลาไม่เกิน 1 ปี) จึงจะเข้ามาบรรจุเป็นพนักงานของสายการบินนั้น การได้ทุนเรียนนั้น อย่างการบินไทย ส่งเรียนฟรี (มีอยู่ช่วงหนึ่งไม่ฟรี) บางสายการบินจะใช้วิธีเก็บเงินย้อนหลัง โดยการหักเงินเดือน แต่ละสายการบินจะมีการทำสัญญา เพื่อกำหนดว่า หลังจากเป็นนักบินแล้วต้องทำงานให้ไม่น้อยกว่าจำนวนปีตามสัญญา ซึ่งต้องหารายละเอียดในแต่ละบริษัทดูครับ เพราะเขียนไปแล้วถ้ามันเปลี่ยนแปลงจะกลายเป็นข้อมูลไม่ถูกต้อง ผมแนะนำว่า ถ้าสนใจจริง ๆ ให้ ลอง search ใน google ด้วยคำว่า “สมัครนักบิน สายการบิน…” อ่านข้อมูลของแต่ละสายการบินดูครับเพราะรายละเอียดในการสมัครจะแตกต่างกันเล็กน้อย

เรื่องคุณสมบัติในการสมัครหลักทั่ว ๆ ไปจะเป็นเรื่องความสามารถทางภาษาอังกฤษ ซึ่งต้องการ TOEIC 650 ขึ้นไป 
จบปริญญาตรี (ประเทศอื่นๆอาจกำหนดแค่ ปวช. ปวส. อนุปริญญา)
มีสัญชาติไทย
เพศชายต้องพ้นภาระทางทหาร
ความสูง บางสายการบินก็กำหนดว่าต้องเกิน 165 เซนติเมตร
สายตาสั้น/ยาว ไม่เกิน 300 หากทำ LASIK ต้องผ่านมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งปี
ไม่มีประวัติอาชญากรรม
(อาจเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขของแต่ละสายการบิน)

สมัยที่ผมเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์นักบิน ผมผ่านการอบรมด้านการสัมภาษณ์จาก ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติ กลุ่มเดียวกับที่สอบ aptitude test นั่นแหละครับ และผมเผอิญพบ short note ที่ผมเก็บไว้ตั้งแต่ปี 2010 มีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับการสัมภาษณ์ ดังนี้

การค้นหาลักษณะเฉพาะที่บ่งบอกเกี่ยวกับผู้ถูกสัมภาษณ์ 4 ด้าน
ด้านส่วนตัวหรือลักษณะเฉพาะตัว (Personal)
ด้านสังคม (Social)
ด้านความสามารถ (Ability)
ด้านความรู้ (Knowledge)

ด้าน Personal 

มีคำภาษาอังกฤษหลายคำที่เขียนไว้ในกระดาษโน้ต อาทิเช่น 

Motivation แปลตามพจนานุกรมว่า  a reason or reasons for acting or behaving in a particular way: desire or willingness to do something; enthusiasm

Attitude  แปลตามพจนานุกรมว่า a settled way of thinking or feeling about something

Appearance  แปลตามพจนานุกรมว่า the way that someone or something looks หรือ an act of performing or participating in a public event

Judgment แปลตามพจนานุกรมว่า  the ability to make considered decisions or come to sensible conclusions

Self-knowledge แปลตามพจนานุกรมว่า understanding of oneself or one’s own motives or character

ทั้งหมดมีหลักเกณฑ์ในการให้คะแนนผู้ที่เข้ารับการสัมภาษณ์ ไม่ได้พิจารณาจากความหมายตามพจนานุกรม 

O-o-O

อะไรบ้างที่ผู้สัมภาษณ์ต้องการ

ในตอนที่แล้วผมข้ามขั้นตอนไปนิดหนึ่ง ความจริงควรเกริ่นปูทางเล็กน้อยเกี่ยวกับการสอบสัมภาษณ์นักบิน การสอบนักบิน (ของการบินไทย) จะพิเศษตรงที่ขั้นตอนสุดท้าย เป็นการวัดความเหมาะสมของตัวผู้สมัครว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเป็นนักบินได้ดี เป็นกัปตันได้ทุกคน ซึ่งขั้นตอนนี้นั้นจะทำการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีความเฉพาะทางด้านจิตวิทยาการบิน การบินไทยจะใช้ผู้เชี่ยวชาญจาก สแกนดิเนเวียซึ่งได้รับการยอมรับจากทั่วโลกและอยู่ในแวดวงการประเมินนี้เป็นเวลานาน เราเรียกขั้นสุดท้ายกันติดปากว่า สอบกับ professor

เนื่องจากผู้สมัครมีจำนวนมากในแต่ละปี การที่จะให้ทุกคนผ่านไปสอบกับ professor เลย หลังจากตรวจสุขภาพผ่านนั้นเสียค่าใช้จ่ายต่อหัวผู้สมัคร ซึ่งเป็นเงินมหาศาล ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องมีกระบวนการ “คัดออก” เน้นว่า “คัดออก” ครับ ผู้สมัครที่เห็นว่า มีโอกาสที่จะผ่านเกณฑ์ได้น้อยมากจะถูกคัดออกไป ตรงนี้เองที่เป็นที่มาของขั้นตอนของการสอบสัมภาษณ์โดย กัปตันของการบินไทย เพราะกัปตันการบินไทยไม่ใช่นักจิตวิทยา หรือผู้ที่มีความชำนาญในการคัดเลือกหรือพิจารณาคุณสมบัติของคน

แต่ก็ไม่ใช่ไม่มีความสามารถที่จะคัดเลือก ดังนั้นเขาจึงให้กัปตันการบินไทยมาช่วยคัดออก แต่ก็อีกนั่นแหละ การที่คนที่ถูกคัดออก เขาอาจจะมีความสามารถก็ได้ แต่กัปตันอาจจะมองไม่ออกเองว่า เขาเหมาะสมที่จะเป็นนักบินหรือวันนั้นผู้ถูกสัมภาษณ์อาจจะฟอร์มตกทะเลาะกับแฟนมา

ใครที่ตกรอบนี้เขาจึงอนุญาตให้มาสอบใหม่ได้ การถูกคัดออกรอบนี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นไม่ได้ เพียงแต่วันนั้นคุณดูไม่เข้าตากรรมการ

  นั่นคือที่มาของการจัดอบรมให้กับกัปตันผู้ที่จะเป็นผู้สัมภาษณ์ผู้สมัครครับ สิ่งที่ professor สอนผมไว้ใน short note ที่เพิ่งเจอ ผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังบ้าง บอกกันเพื่อเป็นวิทยาทานให้รับรู้กันบ้างว่าในขั้นตอนสัมภาษณ์กับกัปตันไทยนั้น “คุณต้องแสดงตัวตนออกมาให้เขาเห็นบ้างว่า คุณมีดีพอ”เพราะกัปตันเขาไม่ใช่นักจิตวิทยา เขาไม่สามารถจะขุดคุ้ยคุณได้ว่าคุณมีความสามารถมากน้อยแค่ไหน ผมอยากให้ระลึกไว้ว่า การแสดงตัวตนออกมา ไม่ใช่ให้เสแสร้ง หรือหลอกกันว่า ตัวเราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นหรือทำไม่ได้จริง เพราะในรอบสุดท้ายตัวคุณที่แท้จริง จะเผยออกมาอยู่ดีตอนสอบกับ professor ขอยกตัวอย่างสักเล็กน้อยครับ

สมมุติถูกถามว่า เล่นดนตรีอะไรเป็นบ้าง 

ถ้าเราบอกว่ากีตาร์ (ทั้ง ๆ ที่เล่นไม่เป็น)

คุณอาจจะแปลกใจ ถ้ากีตาร์โผล่ออกมาจากหลังโต๊ะผู้สัมภาษณ์แล้วให้คุณลองเล่นบางคนอาจจะคิดว่า งั้นตอบว่าตีกลอง รับรองกลองชุดจะไม่ออกมาจากใต้โต๊ะแน่ ๆ แต่คุณกำลังทำร้ายตัวเองอย่างแรง ถ้าตอบว่าตีกลองเป็น แต่คุณไม่สามารถแยกประสาทสัมผัสของมือซ้าย มือขวา เท้าซ้าย เท้าขวา ได้ดีเท่ากับคนตีกลองเป็น

เพราะด่านต่อไปคือการทดสอบความสามารถของคุณและมีผลกระทบในการประเมินความสามารถในการทำแบบทดสอบต่าง ๆ ต่อไปทั้งนั้นครับ ผมจึงอยากบอกว่า ให้สื่อสารเฉพาะเรื่องที่เป็นตัวเราจริง ๆ เพราะมันคือสิ่งที่เป็นตัวเราและเขาจะประเมินจากสิ่งที่เราเป็น

การโกหก หรือการหลอกลวงว่าทำได้ หรือทำไม่ได้ เป็นการทำร้ายตัวเองอย่างมหันต์ที่สุด

การที่เราเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมสำหรับอาชีพนี้ อยากให้เป็นโดยธรรมชาติมากกว่า เพราะถ้าเราไม่เหมาะกับอาชีพนี้ เวลาทำงานจะเหนื่อยมาก เหนื่อยทั้งกาย เหนื่อยทั้งใจ แล้วก็จะหดหู่สิ้นหวัง เวลาที่เห็นคนอื่นประสบความสุข บินได้ บินง่ายจัง แต่ทำไมเราบินไม่ได้ง่ายแบบเขานะ อย่างนี้ เป็นต้น

การตัดสินว่าเหมาะหรือไม่เหมาะที่จะมีอาชีพเป็นนักบินเป็นหน้าที่ของ professor ไม่ใช่กัปตันการบินไทย เพราะฉะนั้นการสอบนักบินไม่มีการฝาก เพราะนักบินคือชีวิตของผู้โดยสารและทรัพย์สินของบริษัท

คนที่สอบไม่ได้ ไม่ใช่ว่าไม่เก่ง แต่ professor เขามองว่า คุณอาจจะไม่เหมาะกับอาชีพนี้ 

“คุณอาจจะเหมาะกับอาชีพอื่นมากกว่าและสามารถทำอาชีพนั้นได้ดีกว่าการเป็นนักบินหลายเท่าก็ได้นะครับ”

O-o-O

Motivation

อย่างที่เคยเขียนไปในตอนที่แล้ว ครับว่า การสอบสัมภาษณ์กับกัปตันไทยนั้น เป็นการ “คัดออก” ดังนั้น Professor จะสอนให้ดูว่า ผู้ถูกสัมภาษณ์ประเภทไหนที่น่าจะถูกตัดออก ในการสัมภาษณ์จะมีหัวข้อที่กรรมการต้องให้คะแนนเอาไว้ 4 หัวข้อ คือ

Motivation
Attitude/Appearance
Judgement
Self-Knowledge

ผมพยายามเรียบเรียงและประมวลการเขียนดูแล้วพบว่า เขียนอธิบายยากพอสมควรแต่จะพยายามลองอธิบายดูครับ

Motivation แปลตามพจนานุกรมว่า  a reason or reasons for acting or behaving in a particular way: desire or willingness to do something; enthusiasm

Motivation หรือ Energy, Drive, Curiosity to win ให้แปลแบบไทย ๆ สไตล์ผม มันหมายถึงแรงกระตุ้นหรือแรงจูงใจเพื่อให้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ประสบผลสำเร็จ หรือการมีความอยากที่จะเอาชนะ ดังนั้น ผู้ถูกสัมภาษณ์ประเภทที่ เรื่อย ๆ เฉี่อย ๆ ขาดความกระตือรือร้น ไม่กระฉับกระเฉงย่อมเสียเปรียบ และมีโอกาสถูกคัดออกได้ง่าย โดยเฉพาะ ถ้าคะแนนด้านอื่น ๆ drop ไปด้วย ยกตัวอย่างคำถาม

ทำไมถึงอยากเป็นนักบิน

คุณรู้จักเครื่องบินรุ่นไหนบ้าง

เครื่องบิน บินได้อย่างไรรู้ไหม

คุณเตรียมตัวอย่างไรบ้างเพื่อมาสอบนักบิน

งานอดิเรกของคุณคืออะไร

อะไรที่คุณสนใจเป็นพิเศษ เพราะอะไร

คำถามประเภทนี้ เป็นคำถาม basic เพื่อเปิดประเด็นในการพูดคุยแต่ทุกคำตอบของผู้ถูกสัมภาษณ์มีความหมายทั้งสิ้นครับ
เพราะการถามคำถามประเภทนี้ผู้สัมภาษณ์จะดูแนวความคิด การเรียบเรียงความคิด การประมวลความคิด และอาจจะต้องการต้อนเข้ามุมอับเพื่อลองให้ผู้ถูกสัมภาษณ์แก้ปัญหาดู บางทีอาจดูเหมือนการพยายามจับโกหกและอาจเป็นการพยายามสร้างสถานการณ์เพื่อบีบคั้นผู้ถูกสัมภาษณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาตัวตนของผู้ถูกสัมภาษณ์ในประเด็นด้านอื่น ๆ ต่อไปด้วย

ผู้ถูกสัมภาษณ์ประเภทที่ดูแล้วไม่มีแรงผลักดันในตัวเองหรือด้วยตัวเองเลยก็จะได้คะแนนในส่วนนี้น้อย ดังนั้น motivation จึงไม่ใช่แค่ความอยากเป็นนักบิน เพราะความอยากเป็นนักบิน ใคร ๆ ก็อยากเป็นได้ ตามความเห็นส่วนตัวของผม ความน่าสนใจในตัวผู้ถูกสัมภาษณ์คือ ปัจจัยหลักของการได้คะแนนในหัวข้อนี้ครับ
 

O-o-O

Attitude/Appearance

ก่อนอื่นผมขอบอกก่อนว่า ผมไม่ใช่นักจิตวิทยา เพราะฉะนั้น เรื่องที่ผมเขียนผมเอาสิ่งที่ผมเคยรับรู้ และประสบการณ์ที่ผมสัมผัสมาถ่ายทอดให้ฟัง ไม่ได้อ้างอิงจากตำราที่ไหน ตอนที่ professor สอนผม เค้าพ่วงคำว่า Appearance มาด้วย

Attitude: a settled way of thinking or 

feeling about something

Appearance:  the way that someone or something looks

Attitude เป็นสิ่งที่อยู่ภายใน เป็นเรื่องของความคิดเห็น และกรอบในการคิดเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เรื่องเดียวกันคนสองคนอาจมี attitude กับสิ่งเหล่านั้นเหมือนกัน คล้ายกัน หรือ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมที่แต่ละคนเป็นอยู่ และข้อมูลหรือความรู้ที่ได้รับมาอย่างเช่น คุณคิดว่า กทม.น่าอยู่แค่ไหน คำตอบ ย่อมขึ้นกับประสบการณ์ที่เขามีหรือได้รับในระหว่างที่สัมผัสกรุงเทพฯ อยู่กรุงเทพฯ หรือเพิ่งเคยเข้ากรุงเทพฯ สิ่งที่เขาจะตอบก็คือสิ่งที่เขาคิดและมีทัศนคติอย่างไรจากประสบการณ์ที่ผ่านมา แต่ Appearance เป็นสิ่งที่เราเห็นและเราสัมผัสได้จากภายนอก เป็นกายภาพ เราอาจรับรู้ appearance ได้ด้วยลักษณะที่เป็นการแสดงออก การเดิน การพูด การคิด หรือแม้แต่การนั่งอยู่เฉย ๆ ล้วนเป็นลักษณะของเขาที่แสดงออกมาทางกายภาพ

สองคำนี้จึงต่างกัน อันหนึ่งเป็น inner เป็นความคิด ความรู้สึกที่จับต้องไม่ได้ (ถ้าไม่แสดงออกมาให้เห็น) แต่อีกคำหนึ่งเป็นลักษณะภายนอกที่มองเห็นและจับต้องหรือรับรู้ได้ 

ทำไม professor จึงจัดเอาคำว่า Attitude กับ Appearance เอาไว้ด้วยกันในหมวดการให้คะแนนในการสัมภาษณ์ เพราะว่าจริง ๆ แล้วทั้งสองคำมันเชื่อมโยงกันอยู่

Attitude ของผู้ถูกสัมภาษณ์สื่อสารออกมาจากการแสดงออก การพูด การวิเคราะห์เหตุการณ์ การแก้ปัญหาหรือการให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นการแสดงออก (Appearance) ทางวาจา และท่าทาง ระดับผมและกัปตันไทยที่เป็นผู้สัมภาษณ์ เราไม่ใช่นักจิตวิทยา คงไม่สามารถ detect ว่า attitude หรือ ทัศนคติ ต่อเรื่องใด ๆ ของผู้ถูกสัมภาษณ์นั้น เป็นอย่างไรแน่ๆ คือ ฟันธง ไม่ได้หรอกครับ ดังนั้นจึงดู Appearance เป็นหลัก โดยอาศัยองค์ประกอบรวม ๆ มาเป็นตัวตัดสินว่าใครจะโดนคัดออก

นั่นเพราะว่า Appearance คือสิ่งที่มองเห็นและจับต้องได้ มันคือการสื่อสิ่งที่เขาคิด สิ่งที่เขาเป็น และสิ่งที่เขาต้องการจะปฏิบัติออกมา โดยใช้เรื่องของความมั่นอกมั่นใจในการพูด ความมั่นใจในสิ่งที่ตัวเองรู้ และนำเสนอ หรือสื่อสารสิ่งเหล่านั้นออกมาได้อย่างน่าเชื่อหรือไม่ มี keywords อีกบางคำที่เกี่ยวข้องกับ Attitude/Appearance เช่น confidence, calm, alertness, และ attentive ลองหาความหมายดูครับ น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการทำความเข้าใจตัวเองแล้วลองนึกดูสิว่า เราควรจะมีคำเหล่านั้น ในเวลาไหนในระหว่างที่เรากำลังถูกสัมภาษณ์

Attitude และ Appearance บุคลิกลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ที่จะเป็นนักบิน คือ ความกระตือรือร้น มีความอยากหรือพึงพอใจที่จะได้ทำการทดสอบ ไม่ตื่นตระหนกเกินเหตุ ต้องมีความสุขุม มีความมั่นใจ น้ำเสียงการแสดงออกในระหว่างการพูด จึงเป็นตัวบ่งบอกอากัปกิริยาที่จะสื่อออกมาชัดเจน เวลาที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ เกิดความตระหนก และมีความไม่มั่นใจในการตอบคำถาม 

O-o-O

Judgement

Judgement:  the ability to make considered decisions or come to sensible conclusions แปลเป็นไทยคือ การตัดสินใจ การคาดคะเน การประเมิน หรือ การพิจารณา 

คำว่า judgement  สำคัญอย่างไรสำหรับนักบิน ความเห็นผม judgement นั้นเป็นคำที่กว้างมาก มันควรแบ่งขอบเขตของความหมายที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีกหน่อย เช่น การตัดสินใจในสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน หรือการตัดสินใจที่มีตัวแปร ต่างกัน เช่น มีเวลาเป็นตัวกำหนด หรือ ไม่ใช่เรื่องของเวลา แต่เป็นเรื่องความเสียหาย หรือความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นตามมาเป็นตัวกำหนด ดังนั้น จริง ๆ แล้ว มันมีเรื่องของ priority และ seriousness เข้ามาเป็นตัวกำหนดความสำคัญในการที่จะต้องตัดสินใจด้วย เหมือนเป็นลำดับความสำคัญของการเลือกที่จะตัดสินใจมากกว่าครับ ในแง่ของคุณสมบัติของนักบิน หรือการ make decision เกี่ยวกับการทำงานระหว่างบินนั้น คำว่า การตัดสินใจ ต้องมีการคิดและไตร่ตรองก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไปเสมอ


“Really think of things before act”

ถ้าเป็นการสอบสัมภาษณ์ ก็ต้องเป็น


“Really think of things before act or speak”


กลับมาที่การสอบสัมภาษณ์เพื่อเป็นนักบินในระหว่างสอบสัมภาษณ์นั้น ไม่ใช่ว่าต้องคิดทุกเรื่องนะครับ บางเรื่องไม่ใช่สิ่งที่ต้องใช้ความคิดอะไรก็ไม่ควรต้องเสียเวลาคิด อย่างเช่น 

ถ้าถูกถามว่า บ้านอยู่ที่ไหน ถ้าต้องนั่งคิดอยู่นาน คนที่สัมภาษณ์เราอยู่เค้าจะคิดว่าอะไร
คำถามบางคำถามจึงไม่จำเป็นต้องเสียเวลาคิด เพราะเป็นการทำให้เราเสียคะแนนในเรื่องอื่นด้วย

แต่คำถามบางประเภท คุณจำเป็นต้องคิด ก่อนที่จะตอบ

จำเป็นต้องคิด (หรือทำท่าคิด) ก่อนที่จะลงมือทำหรือแสดงออกด้วยท่าทางในการตอบคำถาม
(ถ้าคำถามไม่ได้ต้องการคำอธิบาย)

judgement จึงเป็นอะไรที่มากกว่าการใช้ความคิดหรือการวิเคราะห์และพิจารณา แต่เป็นการรู้จักที่จะคิด (หรือไม่คิด) และรู้ว่าควรต้องใช้เวลา(คิด)ให้คุ้มค่า หรือว่าเวลาเป็นสิ่งที่มีค่ากว่า (หมายความว่าต้องคิดเร็วและทำทันที) เพื่อให้ได้ 

“คำตอบที่ถูกต้อง”


ดังนั้น การได้คำตอบที่ถูกต้อง มีสิ่งที่ต้องรู้จักวิเคราะห์ก่อนว่า
คำถามนั้น ควรต้องคิดเร็ว หรือ ช้าคำถามนั้น ควรต้องตอบเร็ว หรือ ช้า สังเกตง่ายว่าคำถามนั้นเป็นคำถามสำคัญหรือไม่
ให้ดูว่าเป็นคำถามที่คำตอบมันมีผลลัพธ์แค่สองทาง คือ
ถูก หรือ ผิด เท่านั้น คำถามประเภทนี้จะเป็นคำถามที่ ต้องใช้ทั้งความคิดมาก ๆ และ ควรใช้เวลาเพื่อคิด ก่อนที่จะตอบคำถามเสมอแต่ก็ต้องคำนึงถึง ความยาก ง่าย ของคำถามด้วย
ถ้าเป็นคำถามที่ยาก การใช้เวลานาน ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นคำถามที่ง่าย แต่ดันคิดนาน อันนี้มันแปลก ๆ เช่น แฟนคุณชื่ออะไร ตอบช้า คิดนานได้ยังไง จริงไหมครับ 

สำหรับคนที่เป็นนักบินอยู่แล้ว Judgement เป็น human factor error เพราะขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคนและองค์ประกอบอื่น ๆ ในเวลานั้น ดังนั้นบริษัท ผู้ผลิตเครื่องบิน และสายการบิน ก็จะพยายามลดปัญหาที่ต้องให้นักบินคิดและเลือกตัดสินใจให้เหลือน้อยที่สุด พยายามให้มีสถานะการณ์ที่ต้องตัดสินใจเองโดยนักบินทั้งสองให้น้อยที่สุด

โดยการกำกับดูแลปัญหาด้านเทคนิคต่าง ๆ ของเครื่องบินด้วยขั้นตอนที่กำหนดตายตัว อย่างการใช้ malfunction checklist เพื่อเป็นการลดความผิดพลาดจาก judgement ของนักบินเวลาระบบมีปัญหา แต่ไม่ว่า จะสร้าง procedures หรือ checklists มากมายเท่าไหร่ก็ตาม ก็ไม่สามารถที่จะ cover scenario ทั้งหมดได้อยู่ดี นักบินจึงมีความจำเป็นสำหรับเครื่องบินโดยสารด้วยประการทั้งปวง

“Judgement”

“คิด วิเคราะห์ แยกแยะ” ก่อน “ตัดสินใจ”

O-o-O

Self-Knowledge

Self-knowledge แปลตามพจนานุกรมว่า understanding of oneself or one’s own motives or character  ข้อนี้ยากสำหรับการอธิบาย คำว่า understanding of oneself หมายถึง การที่เราเข้าใจข้อจำกัดของตัวเอง และยอมรับในข้อจำกัดนั้น เช่น ไม่เก่งชีววิทยา เพราะไม่ชอบท่องจำ

เก่งคณิตศาสาตร์ เพราะชอบตัวเลข

ไม่ชอบเถียงใคร ใครอยากทำอะไรยังไงก็ได้ แต่ห้ามทำให้เราเดือดร้อน ไม่ชอบยุ่งเรื่องของคนอื่น เพราะ…. ชอบยุ่งเรื่องของคนอื่น เพราะ…ชอบทำกิจกรรม และการเข้าสังคม ชอบปาร์ตี้สังสรรค์ โดยรวม ๆ น่าจะเป็นการพยายามหาคำตอบเกี่ยวกับตัวผู้ถูกสัมภาษณ์ว่า รู้จักตัวเองดีแค่ไหน ตรวจสอบดูข้อบกพร่องของตัวเองดูบ้างหรือเปล่า มีความมั่นใจในตัวเองหรือไม่มั่นใจในตัวเอง หรือ Over Confidence หรือไม่

คุณคิดว่าคุณเป็นคนอย่างไร

How well do you know yourself?

Are you scare of anything?

Tell me the event in the past that most good impression—->Why?

เคยกลัวหรือเสียใจหรือประทับใจเรื่องใดมากที่สุดในชีวิต

อะไรที่คุณคิดว่าเป็นจุดอ่อนของคุณ

ไม่อยากมีอาชีพอะไรมากที่สุด (อาชีพที่เป็นลักษณะเฉพาะทาง) เช่น หมอ หมอฟัน เภสัช วิศวกร ทนาย บัญชี ……ฯลฯ

“Open-minded into oneself, 

strengths & weak points, limitations”

มันคือความชอบและไม่ชอบ การชอบและไม่ชอบ น่าจะเป็นคำตอบการรู้ว่าชอบอะไร และไม่ชอบอะไร หรือการรู้ว่าอยากทำอะไร และไม่อยากทำอะไร การชอบ กับความอยากมันมีความหมายที่แตกต่างกัน  ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสียของการ ชอบ-ไม่ชอบ หรือ อยาก-ไม่อยาก แล้วอะไรหล่ะคือสิ่งที่ดี สำหรับการเป็นนักบิน ผมว่า มันไม่มีคำตอบที่ตายตัวว่า อะไรดีหรือไม่ดีครับ ทุกคนล้วนมีข้อดีและข้อเสีย นักบินก็เช่นเดียวกัน มีทั้งนิสัยดีและนิสัยเสีย การที่เราเป็นตัวของตัวเองพอสมควร ไม่ดื้อรั้น ดันทุรังในเรื่องที่ไม่เหมาะ น่าจะเป็นเกณฑ์การพิจารณาได้ระดับหนึ่ง

อย่าหลอกตัวเอง อย่าโกหกเวลาตอบคำถามสัมภาษณ์ พยายามเป็นตัวของตัวเองให้มากที่สุด การเป็นตัวของตัวเองคือ คิดอย่างไร ให้ทำไปอย่างนั้น อยากพูดอย่างไร ให้พูดอย่างนั้น เพราะมันเป็นตัวเรา และเรามีเหตุผลรองรับความคิดของเราอยู่เสมอ ชอบที่ตัวเราเป็นแบบนี้ก็พอแล้วครับ

O-o-O

Co-operative attitude

Co-operative: involving mutual assistance in working towards a common goal

Attitude: a settled way of thinking or feeling about something

ผมลองยกตัวอย่างคำถามที่ผู้สัมภาษณ์จะเปิดประเด็นที่เกี่ยวข้องกับด้าน co-operative attitude ดูครับ ตามนี้


“เวลาว่างคุณทำอะไร”
“ไปเที่ยวกับเพื่อนบ้างไหม”
“ทำอะไรเวลาไปกับเพื่อนกลุ่มใหญ่”
“กิจกรรมประเภทไหนที่ชอบทำ”
“คุณมีเพื่อนสนิทกี่คน” “สนิทขนาดไหน” 
Did you take part in any social activities during study? 

เรื่องของ co-operative attitude เป็นเรื่องของบุคลิกลักษณะและทัศนคติต่อสังคมหรือในสิ่งแวดล้อมที่ตนเองอยู่การทำกิจกรรมทั้งในระหว่างที่เรียนมัธยมและมหาวิทยาลัย น่าจะเป็นลักษณะนิสัยและความชอบส่วนบุคคล เป็นความอยากที่จะทำในกิจกรรมนั้น ๆ ร่วมกันกับเพื่อน กับรุ่นพี่ รุ่นน้อง การมีลักษณะนิสัยที่ชอบทำงานร่วมกันกับเพื่อน ๆ ได้พบปะพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนอื่น ที่เติบโตมาจากสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ กันทางครอบครัวซึ่งเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ของชีวิต การเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมที่มีคนมาก ๆ ทำกิจกรรมด้วยกัน (หรืออาจจะทีละน้อย ๆ แต่ต้องควบคุมคนจำนวนมาก) กิจกรรมที่ทำระหว่างเรียนเป็นการเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีคุณค่าต่อการทำงาน ในแทบทุก ๆ อาชีพ

จากคำถามข้างบนที่ว่า “คุณทำกิจกรรมอะไรบ้าง ตอนเรียนมัธยมหรือมหาวิทยาลัย” เป็นเพียงคำถามเปิดประเด็นเท่านั้นครับ สิ่งที่ผู้สัมภาษณ์ต้องการคือ คำตอบจากคำถามที่เขาจะถามหลังจากที่คุณตอบคำตอบข้างบนครับ

(อ่านแล้วงงดี)

เช่น ถ้าคุณตอบว่า “ตอนเรียนมัธยมเป็นประธานชมรมถ่ายภาพ
คำถามที่คนสัมภาษณ์จะถามต่อไปก็จะประมาณว่า “แล้วคุณทำอะไรบ้างตอนอยู่ชมรมฯ หรือเป็นประธานชมรมมีหน้าที่ทำอะไร ลองเล่าให้ฟังหน่อย” คำถามบางประเภท จึงเป็นการล้วงข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคมครับ

O-o-O
สนใจอ่านฉบับเต็ม สั่งซื้อหนังสือ A Pilot Book ทั้ง 5 เล่มได้ทาง Shopee เท่านั้นครับ >ในลาซาด้ามีคนเอาไปขายต่อ ชุดละแปดเก้าพัน อันนั้นไม่ใช่จาก A Pilot Club ครับ ของแท้จำหน่ายทาง Shopee ชุดละ 1999 บาท https://shopee.co.th/apilotbook

หนังสือนักบินมีทั้งหมด 5 เล่ม

สั่งซื้อหนังสือผ่าน shopee https://shopee.co.th/apilotbook

https://youtu.be/hHQwYTxaN_A

ติดตาม A Pilot Club ได้ทาง
ยูทูปช่อง Captain Sopon https://www.youtube.com/c/SoponPhikanesuan
เฟสบุ๊ค https://wwwfacebook.com/apilotbook
เว็บไซต์ http://www.apilotclub.com/
เป็นเพื่อนกับเราทางไลน์ออฟฟิศเชียล https://lin.ee/BQyGDbK
ซื้อหนังสือ A Pilot Book ได้ที่ https://shopee.co.th/apilotbook

Comments are closed
0
0