FAA ประกาศลดระดับเครดิตความปลอดภัยการบินของมาเลเซีย

FAA ประกาศลดระดับความปลอดภัยการบินของมาเลเซีย

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา FAA (Federal Aviation Administration) หรือ สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศการลดระดับความน่าเชื่อถือด้านมาตรฐานความปลอดภัยของ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศมาเลเซีย หรือ CAAM (Civil Aviation Authority of Malaysia) ให้อยู่ในระดับ Catefory 2

Category 2, Does Not Comply with ICAO Standards: The Federal Aviation Administration assessed this country’s civil aviation authority (CAA) and determined that it does not provide safety oversight of its air carrier operators in accordance with the minimum safety oversight standards established by the International Civil Aviation Organization (ICAO).

สืบเนื่องจาก FAA-IASA program เมื่อเดือนเมษายน 2562

Category 2 ตามการตรวจสอบของโครงการ IASA  

นั้นหมายความว่า มีการตรวจพบข้อบกพร่องในการกำกับดูแลด้านความปลอดภัย อาทิเช่น technical expertise, trained personnel, การเก็บประวัติการฝึกอบรมและการทำการประเมินและตรวจสอบผู้ตรวจ เป็นต้น

ทั้งนี้ สายการบินต่าง ๆ ของมาเลยเซียยังคงสามารถทำการบินไปยังสหรัฐอเมริกาได้ แต่ไม่อนุญาตให้เพิ่มเส้นทางบินใหม่หรือทำ code-sharing กับสายการบินอเมริกัน และยังต้องเข้ารับการตรวจสอบเพิ่มขึ้นตามสนามบินต่าง ๆ ภายในสหรัฐ (Ramp Inspection)

ย้อนกลับมาดูประเทศไทยของเราก็ยังติด IASA Category 2 อยู่นะครับ
ตามตารางรายชื่อประเทศที่เป็น Category 2 ซึ่งลงวันที่ 13May19 นั้นมีทั้งหมด

5 ประเทศ ได้แก่ บังคลาเทศ, คอสตาริก้า, Curacao, กานา แล้วก็ประเทศไทยแลนด์

ตอนนี้ก็ต้องต้อนรับ มาเลเซีย เป็นประเทศที่ 6 ในรายการ Category 2 ที่คงจะอัพเดตในเวบไซต์ของ FAA เร็ว ๆ นี้

Press Release – FAA Announces Results of International Aviation Safety Assessment (IASA) for the Civil Aviation Authority of Malaysia
https://www.faa.gov/news/press_releases/news_story.cfm?newsId=24354


#captainsopon #กัปตันโสภณ #apilotclub

อ่านเรื่องเก่าเกี่ยวกับ FAA-IASA (โพสต์เมื่อ กุมภาพันธ์ 2562)
https://www.facebook.com/aPilotBook/posts/2242640139089628?__tn__=K-R-R-R

FAA ย่อมาจาก Federal Aviation Administration เป็นสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา มีศักดิ์ศรี (ตามระบบ) เท่าเทียมหรือเทียบเท่ากันกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

แล้วทำไมจึงต้องใส่ใจกับการมาของ FAA หรือสนใจว่าผลการตรวจสอบจะออกมาอย่างไร

เรื่องนี้เล่ายาว ๆ ไปเลยนะครับ (ถ้ายังไงอ่านดูจากลิ้งค์ที่เคยเขียนเมื่อปี 2015, 2017 และ 2018 ดูนะครับ)

ว่ากันตั้งแต่เมื่อตอนที่ธงแดงเคยถูกปักไว้หน้าชื่อของประเทศไทยครั้งเมื่อ ICAO มาตรวจสอบมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการการบินพลเรือนของประเทศไทยเมื่อปี 2015

ธงแดงของ ICAO ที่ปักอยู่หน้ารายชื่อประเทศสมาขิกนั้น หมายถึง ประเทศนั้นถูกตรวจตามโครงการ USOAP CMA (Universal Safety Oversight Audit Program, Continuous Monitoring Approach) แล้วพบข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัยของการบินพลเรือน ขยายความอีกหน่อยก็คือ ผู้กำกับดูแลกิจการการบินพลเรือนของประเทศนั้นถูกพบว่ามีความบกพร่อง หละหลวม ไม่ชัดเจน ไม่เข้มงวด ไม่ควบคุม ไม่กำกับ ไม่มีเกณฑ์ในการชี้วัด ฯลฯ เป็นเหตุให้เชื่อว่า สายการบินหรือกิจการการบินทั้งหลายในประเทศนั้น มีปัญหาด้านคุณภาพความปลอดภัย

การตรวจของ ICAO นั้นเรียกว่า USOAP CMA ย่อมาจาก (Universal Safety Oversight Audit Program) ซึ่งจะทำการตรวจสอบใน 8 area สำคัญ ๆ ได้แก่ 

LEG: Primary Aviation Legislation and civil aviation regulations, 

ORG: Civil Aviation Organization, 

PEL: Personnel licensing and training, 

OPS: Aircraft Operations, 

AIR: Airworthiness of Aircraft, 

AIG: Aircraft accident and incident investigation, 

ANS: Air Navigation Services, 

AGA: Aerodrome and Ground Aids

ทั้ง 8 area นั้น มีคำถามรวมกันทั้งสิ้น 1016 ข้อ ที่ครอบคลุมรายละเอียดของ Annex ทั้ง 18 Annexes ที่เป็นตัวขยายความจาก Chicago Convention (อ่านเรื่อง annex จาก หนัฃสือ A Pilot Book) USOAP จะยกเว้น Annex 17 ซึ่งเป็นเรื่องของ Aviation Security โดยจะแยกออกมาจาก USOAP เป็นอีกหนึ่งโครงการต่างหากที่เรียกว่า USAP (Universal Security Audit Program) 

เมื่อปี 2015 ตาม Protocol Questions (PQ) 1016 ข้อ

ประเทศไทยถูกตรวจแล้วพบว่ามีความบกพร่องด้านต่าง ๆ กว่า 500 PQs และเป็น PQ ที่เป็น SSC (Significant Safety Concerns) ถึง 33 PQs การตรวจของ ICAO นั้นส่งสัญญาณให้เห็นความบกพร่องในการกำกับดูแลสายการบินต่าง ๆ 

จึงนำมาซึ่งการตามมาตรวจสอบจากทาง FAA (Federal Aviation Administration) ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2015 

FAA มาตรวจสอบประเทศไทยด้วยโครงการ IASA (International Aviation Safety Assessment) หลังจากที่ ICAO มาตรวจ และผลลัพธ์ก็คือ ให้ประเทศไทยอยู่ใน Category II ซึ่งหมายถึง ถูกลดชั้น ลงไปเป็นประเทศที่ไม่อยู่ในมาตรฐานการบิน

หลังจากที่ ICAO ขึ้นธงแดงหน้าชื่อประเทศไทย และ FAA ประกาศลดชั้น 

ประเทศสมาชิก ICAO หลายประเทศ ทั้ง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ฯลฯ ก็ได้เริ่มกำหนดข้อจำกัดต่อสายการบินที่จดทะเบียนในประเทศไทย อาทิเช่น การห้ามเพิ่มเที่ยวบิน ห้ามเพิ่มจุดบินหรือสนามบิน ห้ามเปลี่ยนแบบเครื่องบินในการทำบิน เป็นต้น 

CAA แต่ละประเทศก็มีการดำเนินการเพิ่มความถี่ในตรวจสอบสายการบินที่ทำการบินเข้าไปยังประเทศของเค้าอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น การทำ Ramp Inspection หรือ ทางยุโรปเรียกว่า SAFA: Safety Audit of Foriegn Aircraft เป็นต้น

หลังถูกปักธงและถูกลดชั้น ประเทศไทยเราก็ได้มีความพยายามอย่างเต็มที่ที่จะฟื้นฟูมาตรฐานการกำกับดูแลด้านกิจการการบินพลเรือนใหม่ เรียกว่า ยกเครื่องระบบการทำงานและแนวทางการบริหารงานใหม่หมด

รวมทั้งพัฒนาด้านบุคคลากรในส่วนที่ต้องทำหน้าที่ในการกำกับดูแล ให้มีคุณภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการกำกับดูแลกิจการการบินพลเรือน กรมการบินพลเรือนถูกแยกออกเป็น 4 ส่วน คือ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หรือ CAAT

กรมท่าอากาศยาน (ทอ.) หรือ DOA สำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน (สสอ.) หรือ AAIC สำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย (สคอ.) หรือ SAR

มีการทำกระบวนการตรวจสอบและรับรองใบอนุญาตในการเดินอากาศกันใหม่หมด (Re-certification of AOC) เพิ่มการกำกับดูแลมาตรฐานการบินและการซ่อมบำรุง ควบคุมการออกใบอนุญาตต่าง ๆ ฯลฯ

จนมาเมื่อปี 2018 ที่ผ่านมาทาง CAAT ก็ร้องขอให้ ICAO ก็กลับมาตรวจสอบใหม่ และได้ผลเป็นที่น่ายินดีคือการปลดธงแดงออกจากหน้าชื่อของประเทศไทยออกไป ซึ่งเป็นการปลดแอกธุรกิจการบินของประเทศไทยไปได้ส่วนหนึ่ง ประเทศสมาชิกหลายประเทศจึงมีการผ่อนปรนข้อบังคับ อาทิเช่น ญี่ปุ่น ที่เปิดโอกาสให้สายการบินของไทยบินเข้าประเทศญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้น (เดิมตอนติดธงแดง จะให้บินได้เท่าที่บินอยู่ สายการบินที่ไม่เคยบินเข้าไปจะไม่อนุญาตให้ขอเพิ่ม)

กลับมาที่ FAA ซึ่งถือเป็น authority ขาใหญ่ เป็นมหาอำนาจจะว่ายังงั้นก็ได้ จริง ๆ ศักดิ์ศรีของ FAA นั้นต้องถือว่าระดับเท่า ๆ กับสำนักงานการบินพลเรือนของไทย  เพราะมีฐานะเป็นประเทศสมาชิก ICAO เหมือนกัน เนื่องจาก FAA มาตรวจไว้รอบที่แล้ว การที่จะปลดแอก เลื่อนชั้นกลับไปโดยอัตโนมัตินั้นทำไม่ได้ ทาง FAA ก็ต้องมาตรวจใหม่ด้วยเช่นกัน 

ฉะนั้นตอนนี้ สายการบินของไทยที่ต้องการบินเข้าสหรัฐอเมริกา จึงยังไม่สามารถเปิดเส้นทางบินเข้าไปได้ จะต้องรอจนกว่า FAA จะประเมินและประกาศเลื่อนชั้นให้ประเทศไทยกลับไปอยู่ที่ Category 1 ใหม่อีกครั้ง รวมถึงประเทศสมาชิก ICAO อีกหลายประเทศก็รอผลของ FAA ด้วยเช่นกัน อาทิเช่น เกาหลีใต้ ที่กฏหมายการบินของเค้าอาจจะเขียนหรือมีการกำหนดเอาไว้ว่า ประเทศไหนถูกแบนโดย ICAO หรือประเทศสมาชิก (หรือ FAA) ก็จะถือว่าโดนแบนไปด้วยอัตโนมัติ อะไรทำนองนั้น สำหรับสายการบินที่บินอยู่แล้วก็บินต่อไปได้ แค่ไม่อนุมัติเพิ่มเติม


การมาของ FAA ครั้งนี้ เป็นเพียง pre-assessment ยังไม่ใช่ IASA ของจริง ดังนั้นการมี findings ติดอยู่กี่ข้อก็ไม่ได้หมายความว่า จะเลวร้ายลงไปมากกว่าเดิมหรืออย่างไร แต่เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะให้ทาง FAA มาตรวจสอบจริงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหนังสือของ CAAT ที่ออกข่าวประชาสัมพันธ์มานั้นก็เขียนอธิบายไว้ชัดเจนดีแล้วครับ ว่าเป็นกระบวนการหนึ่งในการที่จะเข้าสู่มาตรการที่จะขอปรับระดับกลับเข้าไปอยู่ category 1 หมายความว่า รอบหน้าที่ FAA จะมา หากตรวจจริงแล้วพบข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัยจริง ๆ ประเทศไทยก็จะได้ติดอยู่ในประเทศชั้นที่ 2 ยาว ๆ ไปเลย

มาดูกันว่าตอนนี้ FAA ให้ประเทศไทยเป็น category 2 กันบ้าง

ตอนปี 2015 มี Bangladesh, Babados, Curacao, Ghana, Indonesia, Nicaragua, Sint Maarten, Uruguay และเพิ่มประเทศไทยเข้าไปตอนปลายปี

มาดูปัจจุบันกัน 15Feb19 มีเหลืออยู่เพียง 4 ประเทศที่ยังอยู่ใน category 2 คือ Bangladesh, Curacao, Ghana และ Thailand

มาเอาใจช่วยประเทศไทยและ CAAT กันดีกว่า รอบหน้า FAA มาจริงขอให้ผ่านฉลุย ๆ ครับ

อ่านตามสื่อทั่วไปบอกรอ 2 ปีบ้าง 3 ปีบ้าง ผมไม่เชื่อว่าจะเป็นแบบนั้นครับ ต้องเลื่อนชั้นเร็วกว่านั้นแน่นอน


IASA Results Definitions

International Aviation Safety Assessment (IASA)

The FAA has established two ratings for the status of countries at the time of the assessment: does comply with ICAO standards, and does not comply with ICAO standards.

They are defined as follows:

  • Category 1, Does Comply with ICAO Standards: A country’s civil aviation authority has been assessed by FAA inspectors and has been found to license and oversee air carriers in accordance with ICAO aviation safety standards.
  • Category 2, Does Not Comply with ICAO Standards: The Federal Aviation Administration assessed this country’s civil aviation authority (CAA) and determined that it does not provide safety oversight of its air carrier operators in accordance with the minimum safety oversight standards established by the International Civil Aviation Organization (ICAO).

This rating is applied if one or more of the following deficiencies are identified:

  1. the country lacks laws or regulations necessary to support the certification and oversight of air carriers in accordance with minimum international standards;
  2. the CAA lacks the technical expertise, resources, and organization to license or oversee air carrier operations;
  3. the CAA does not have adequately trained and qualified technical personnel;
  4. the CAA does not provide adequate inspector guidance to ensure enforcement of, and compliance with, minimum international standards;
    AND
  5. the CAA has insufficient documentation and records of certification and inadequate continuing oversight and surveillance of air carrier operations.

This category consists of two groups of countries.

  • One group are countries that have air carriers with existing operations to the United States at the time of the assessment. While in Category 2 status, carriers from these countries will be permitted to continue operations at current levels under heightened FAA surveillance. Expansion or changes in services to the United States by such carriers are not permitted while in category 2, although new services will be permitted if operated using aircraft wet-leased from a duly authorized and properly supervised U.S. carrier or a foreign air carrier from a category 1 country that is authorized to serve the United States using its own aircraft.
  • The second group are countries that do not have air carriers with existing operations to the United States at the time of the assessment. Carriers from these countries will not be permitted to commence service to the United States while in Category 2 status, although they may conduct services if operated using aircraft wet-leased from a duly authorized and properly supervised U.S. carrier or a foreign air carrier from a Category 1 country that is authorized to serve the United States with its own aircraft.

No other difference is made between these two groups of countries while in a category 2 status.

Note — For those countries not serving the U.S. at the time of the assessment, an asterisk “*” will be added to their Category 2 determination.

Source: FAA

Tags:

Comments are closed
0
0