ESAD

ESAD vs. Ground distance and wind

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจคำว่า ESAD กันก่อน

ESAD ย่อมาจาก equivalent still air distance 

ฝรั่งจะอธิบายคำนี้ว่า 

“Nautical air distance flown, accounting for headwind or tailwinds”

ผมแปลเป็นไทยให้คร่าวๆแบบนี้ครับ

ESAD เป็นระยะทาง (ไมล์ทะเล) บนอากาศที่นับรวมความเร็วลมต้านหรือลมส่งท้าย

จริงๆถ้าแปลแบบตามความหมายของคำศัพท์ก็น่าจะทำให้เข้าใจได้ไม่ยากเช่นกันครับ

Equivalent still air distance ระยะทาง (เป็นไมล์ทะเล) ที่เปรียบเสมือนหรือเทียบเท่ากับการบินโดยไม่มีลมต้าน (headwind) หรือลมส่งท้าย (tailwind)

แปลแบบนี้มาจะทำให้เห็นภาพขึ้นไหม หรืองงกว่าเดิมครับ

ESAD นั้นจะมากกว่าระยะทางจริง(บนพื้น)เมื่อบินทวนลม (headwind)

และแน่นอนในทางกลับกัน ESAD นั้นจะมีค่าน้อยกว่าระยะทางจริงเมื่อบินตามลม

ดู chart ด้านล่างกัน

ตั้งต้นจากเมื่อเรารู้ค่าความเร็วลม สมมติว่าเป็นลมส่งท้าย tailwind 40 knots

และระยะทางที่เราจะบินคือ 2100 NM 

ลากเส้นสองเส้นนี้เข้าหากัน ที่จุดตัดคือ ค่า ESAD ที่ได้

จากตัวอย่างอ่านค่า ESAD ได้เท่ากับ เท่าไหร่ครับ

ลองอ่านค่าดูก่อนอ่านเฉลยข้างล่างนะ

คำตอบคือ ประมาณ 2025 NM

ค่าที่ได้นั้นอาจจะไม่ละเอียดมากนัก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการมีกราฟลักษณะนี้เป็นการทำให้เกิดความเข้าใจในความหมายของการบินมากขึ้น

ค่า ESAD ใช้ทำอะไร สำคัญแค่ไหน

คำตอบที่สองก่อนครับ

ค่า ESAD สำคัญมาก เพราะเป็นตัวที่จะบอกให้นักบินรู้ว่า ต้องใช้เวลาในการบินนานเท่าไหร่จึงจะไปถึงจุดหมาย พาไปต่อที่ต้องใช้น้ำมันมากแค่ไหนจึงจะไปได้ แล้วจะเหลือน้ำหนักบรรทุกให้ไว้ขนส่งผู้โดยสารและสัมภาระได้กี่คน กี่ตัน

เวลาบินไกลมากๆ และบินโดยมีลมต้านแรงๆเป็นเวลานาน ระยะเวลาในการบินจะนานกว่าปกติได้เป็นชั่วโมงๆ และในบางกรณีหากน้ำหนักตัวของเครื่องบินที่รวมการบรรทุกน้ำมันที่ต้องใช้แล้วอาจจะจำเป็นต้องลดจำนวนผู้โดยสารลงเพราะเครื่องบินจะไม่สามารถบินขึ้นได้เเนื่องจากเกิน MTOW เป็นต้น (อ่าน MTOW จากให้หนังสือ Aviation A-Z ครับ)

ลองดูเส้นสีน้ำเงินในรูปครับ สมมติว่าวันนี้บินโดยมีลมต้านโดยเฉลี่ย 90 NM

ค่า ESAD เท่ากับ 2600 NM ซึ่งมากกว่าระยะทางจริงถึง 500 NM

เครื่องบินต้องใช้เวลาในการฝ่าลมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งชั่วโมงกว่าๆ (ปกติเครื่องบินโดยสารบินได้ประมาณ 400+ NM ต่อชั่วโมง)

มาดูสูตรการคำนวณ ESAD กันหน่อย

ESAD = (TAS*Ground mileage) + (TAS + WV)

TAS ย่อมาจากคำว่า True Air Speed

WV = wind velocity ความแรงของลม

เขียนมายาวเหยียดนี้ นักบินไม่ต้องคำนวณค่า ESAD เองหรอกนะครับ

ระบบ flight planning system ที่แต่ละสายการบินใช้งานอยู่นั้นจะทำการคำนวณค่า ESAD และทำการหารกับค่าความเร็วของเครื่องบินโดยการใส่ข้อมูลความเร็วลมในแต่ละระยะสูงที่จะบินเพื่อเปลี่ยนเป็นเวลาบินที่ต้องใช้ทำการบินจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งจนกระทั่งถึงปลายทาง 

รายละเอียดพวกนี้เป็นอีกวิชาหนึ่งกันเลยครับ และมีพนักงานอีกส่วนหนึ่งที่รู้เรื่องนี้ดีไม่น้อยไปกว่านักบิน ก็คือ Dispatcher หรือ พนักงานอำนวยการบิน นั่นเอง

จบล่ะ ยิ่งเขียนยิ่งยาวไปเรื่อย

#ความรู้การบิน #apilotclub

#นักบินพาณิชย์

ซื้อหนังสือได้ทางอินบ๊อกซ์และ shopee
https://shopee.co.th/product/138504903/7619482665?smtt=0.0.9

หรือจะสั่งอีบุ๊คก็ไปที่ ookbee ครับ

https://bit.ly/2PbkUNk

Tags:

Comments are closed
0
0