โรคติดต่อกับการบิน

เวลาที่มีข่าวการระบาดของโรคติดต่อร้ายแรงเกิดขึ้น ทำให้ผมนึกถึงคำว่า

“Suspected Communicable Disease”

คำว่า suspected communicable disease นั้นใช้ในทางการบินเพื่อพูดถึงการควบคุมโรคติดต่อ ที่มีโอกาสแพร่กระจายในระหว่างการเดินทางทางอากาศ อย่างเช่นกรณีของ โคโรนาไวรัส อู่ฮั่น ที่เป็นข่าวอยู่ในขณะนี้

ขอไม่พูดถึงกระบวนการต่างๆในการควบคุมโรคที่จะมีหน่วยเกี่ยวข้องดูแลอยู่แล้ว อย่างเช่น กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข และองค์การอนามัยโลก WHO ที่แต่ละหน่วยมีบทบาทหน้าที่ในการทำงานเพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายของโรค
มาพูดถึงบนเครื่องบินกันดีกว่า

หากพบว่ามีผู้โดยสารที่มีอาการป่วยที่เข้าข่ายเป็น suspected communicable disease จะต้องทำอย่างไร

ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีโอกาสที่จะเป็นคนที่สังเกตเห็นว่า
ผู้โดยสารคนไหนมีโอกาสเป็นหรือเข้าข่ายที่จะเป็นผู้ติดเชื้อ คือ ลูกเรือ (Cabin Crew)

ดังนั้นลูกเรือจึงเป็นผู้ที่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย หรือวิธีสังเกตอาการของผู้ป่วย เพื่อที่จะประเมินว่าผู้โดยสารที่มีอาการแปลก ๆ ตรงตามอาการของผู้ป่วย เข้าข่ายที่จะเป็นโรคติดต่อที่กำลังมีการแพร่ระบาดอยู่หรือไม่

ขอเน้นย้ำว่า เป็นแค่การประเมินเบื้องต้นว่ามีโอกาสเป็น ไม่ใช่การสรุปว่าผู้โดยสารคนนั้นเป็นผู้ป่วย

ทางการบินจึงใช้คำว่า “suspected communicable disease”
เพราะว่าผู้โดยสารอาจไม่ได้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่เรากำลังกังวล แต่อาการของผู้โดยสารอาจคล้ายกันกับอาการป่วยของโรค จึงถือว่าเป็นผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงเป็นโรคหรือได้รับเชื้อโรคมาเท่านั้น การวินิจฉัยโรคจะต้องทำโดยแพทย์

เมื่อมีโรคติดต่อที่มีโอกาสแพร่ระบาด นักบินและลูกเรือรวมถึงพนักงานสายการบินทุกคนจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้เฝ้าระวังโรคไปด้วยอีกหน้าที่หนึ่ง ดังนั้นจึงควรที่จะ
-ศึกษาและทำความเข้าใจโรคที่กำลังแพร่ระบาดอยู่นั้น เช่น พื้นที่การแพร่ระบาด วิธีการแพร่ระบาด การป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ
-ให้ข้อมูลมาตรการป้องกันการติดเชื้อให้กับพนักงานและผู้โดยสาร (ขึ้นอยู่กับลักษณะของการแพร่เชื้อ) ส่วนของนักบินก็จะมีการออก NOTAM อาจเป็น company INFO ใน publication information bulletin ก่อนที่จะมี official NOTAM ก็ได้ สำหรับพนักงานส่วนอื่น ๆ นั้นก็ควรได้รับข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสม อาทิเช่น safety bulletin เป็นต้น
-ทำการตรวจตราผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ทั้งการเช็คอินและบนเครื่องบิน โดยเฉพาะผู้โดยสารที่เดินทางบนเที่ยวบินไปกลับในพื้นที่เสี่ยง
-หากพบ suspected ก็จะต้องรายงานให้กับหน่วยงานของสนามบินรับทราบ เพื่อที่หน่วยงานกักกันโรคจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป (Quarantine)

อ่านข้อมูลจากคุณหมอ Yong Poovorawan ครับ เจ้า โคโรน่าไวรัส อู่ฮั่น นี้
อาจจะมีการแพร่ระบาดมากขึ้น แต่ก็ดีที่ว่ามันไม่ได้มีความรุนแรงแบบ SARS หรือ MERS ก็ทำให้เบาใจลงไปนิดหน่อยครับ

ต่อจากนี้ไป มาตรการต่าง ๆ ในการควบคุม โคโรน่าไวรัส อู่ฮั่น จะไหลออกมาจากทุกหน่วยงาน ผมเอาตัวอย่างเอกสารเล็ก ๆ น้อย ๆ มาให้ดูกันครับ

ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยเรื่อง ข้อแนะนำในการเฝ้าระวังป้องกันโรคปอดอักเสบรุนแรงจากเมืองอู่ฮ้่นสาธารณรัฐประชาชนจีน
ตัวอย่างการประกาศบนเครื่องบิน ref: IATA
ตัวอย่างแบบฟอร์มในการกรอกข้อมูลผู้โดยสาร ref: IATA

Ref: CAAT: ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยเรื่อง ข้อแนะนำในการเฝ้าระวังป้องกันโรคปอดอักเสบรุนแรงจากเมืองอู่ฮ้่นสาธารณรัฐประชาชนจีน
ICAO, UK CAA: SOP inbound case of “Suspected Communicable Disease” (Click to Download pdf)
IATA, health-guidelines-cabin-announcement-scripts
IATA, Cabin Operations Safety Best Practice Guide edition 3 (Click to Download)
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข,
เฟสบุ๊ค คุณหมอยง ภู่วรวรรณ

Comments are closed
0
0