Category: เรียนบิน อยากเป็นนักบิน

House of Airmanship

จะเป็นนักบินที่ดีต้องมี Airmanship เรื่อง airmanship นั้นผมเคยเขียนไปแล้วสั้น ๆ ในหนังสือ A Pilot เล่มแรก วันนี้จะมาเขียนอีกครั้งแบบเต็ม ๆ ว่า Airmanship นั้นมันคือ อะไร ยังไง เรื่องการบินนั้น แน่นอนต้องมีเครื่องบินกับนักบิน แต่การบินพาณิชย์นั้นไม่ได้บินคนเดียว ลำเดียว การบินพาณิชย์มีเครื่องบินอยู่บริเวณเดียวกันหลาย ๆ ลำ Airmanship สำหรับการบินพาณิชย์จึงมีองค์ประกอบของการมีมารยาทที่จะบินด้วยกันบนน่านฟ้าด้วย เรื่องนี้นักบินด้วยกันรู้ดีว่า การเอาเปรียบกันบนน่านฟ้าแบบไหน ที่เรียกว่า นักบินขาด airmanship เกริ่น ๆ ไว้เท่านี้ครับ พูดถึงเรื่อง airmanship ตามทฤษฏีกันดีกว่า airmanship นั้นหมายถึง การที่นักบินมีการตัดสินใจที่ดีต่อการปฏิบัติการบินในสถานการณ์ใด ๆ หรือตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ในการบิน บางทีผมอยากแปลว่า มารยาทในการบินเข้าไปด้วย ผมแปลจากความเข้าใจและประสบการณ์นะครับ ไม่ได้อ้างอิงตำรับ ตำราที่ไหน จะเข้าเป้าตามหลักวิชาการขั้นปริญญาเอกหรือเปล่าไม่ทราบ เอาเป็นว่า airmanship แบบผม เป็นแบบนี้ องค์ประกอบของการที่นักบินคนหนึ่ง จะมีความสามารถที่จะตัดสินใจอะไร ๆ ระหว่างการบินได้อย่างถูกต้องนั้นมีหลายองค์ประกอบร่วม ตาม House of Airmanship ของ Kern ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนพื้นฐาน หรือ Bedrock Principles ส่วนของความรู้ หรือ Pillars of Knowledge และส่วนที่เป็นผลลัพธ์จาก […]

Airmanship

จากบทความเรื่อง “Airmanship ฉบับโสภณ” หนังสือ A Pilot Book by Captain Sopon Phikanesuan (ซื้อหนังสือได้ที่ shopee และ facebook page (ลาซาด้าไม่ได้วางจำหน่าย) คำว่า Airmanship แปลตามพจนานุกรม หมายถึง ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ และวิธีการทำงานที่ทำให้การควบคุมเครื่องบินมีความปลอดภัย อันนี้ผมพยายามแปลตรง ๆ ดู ตามหนังสือเขาว่าไว้ว่า Airmanship ประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ ทักษะในการทำงานและรวมถึงความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบิน (Skill) ความเชี่ยวชาญหรือประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงความสามารถในการนำความรู้ไปใช้งาน (Proficiency) และความมีระเบียบวินัยในการปฏิบัติงาน (Discipline) ผมว่าเขียนตามหลักวิชามันน่าเบื่อ เหมือนเอาหนังสือมาแปลให้อ่าน เขียนตามความเข้าใจและที่อยากให้คนอ่านเข้าใจดีกว่า (ว่าแล้วก็ปิดตำรา และมาต่อกันที่ความเข้าใจส่วนตัวละกันครับ) ถ้าจะให้อธิบายความหมายจากความรู้สึกส่วนตัวจริง ๆ ไม่อิงตำราหรือหนังสือที่ไหน Airmanship ผมขอแปลว่า  “กึ๋น” ครับ สั้น ๆ เลย Airmanship มันคือ กึ๋นในการทำงานของนักบิน มันเป็นตัวบอกว่า นักบินคนนั้น เป็นนักบินที่ดีหรือไม่ มีการทำงานที่มีช่องโหว่แห่งอุบัติเหตุหรือไม่ จริง ๆ การบินเป็นอะไรที่ง่ายและไม่ซับซ้อน ถ้ารู้และเข้าใจ รวมทั้งรู้ศักยภาพของตัวเองด้วย (อันสุดท้ายนี่สำคัญมาก) การบินเพื่อให้ทุก ๆ เวลามีความเสี่ยงภัยน้อยที่สุด หรือลดดีกรีความรุนแรงของปัญหาให้เร็วที่สุดและมากที่สุด การบินเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย และมีความซับซ้อนมากที่สุดเช่นกัน โดยเฉพาะกับนักบินที่ยังขาด Airmanship ที่ดี และอีกพวกคือพวกที่มีความมั่นใจไร้สติ (Overconfidence) พวกนี้มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุมากที่สุด เพราะอาจจะทำอะไรที่เป็นการแหกกฏ […]

เป็นนักบินไทยที่มองโกเลีย

คุณ Arpakorn เล่าประสบการณ์บินที่ไปบินที่มองโกเลีย เป็นประโยชน์ครับ เรียนบินจากอเมริกาแล้วไปเป็นนักบินของมองโกเลี่ยนแอร์ไลน์ Wet lease ไปบินที่ Armenia บินไปในยุโรป รวมถึงรัสเซียที่เป็นพื้นที่สงคราม เล่าและคุยกันหลายๆเรื่อง ลองฟังดูครับ #เป็นนักบินต่างประเทศ #บินเยอรมันฟังยาก #ผมว่าฝรั่งเศสยากกว่า

คนขนกระเป๋าล่าฝันการเป็นนักบินจนสำเร็จ

เริ่มจากการเป็นพนักงานขนถ่ายสัมภาระที่ทำงานใต้ท้องเครื่องบิน จัสติน มูตาวัสสิม เป็นนักบินผิวสีแอฟริกันอเมริกันที่อายุ 27 ปีที่ Delta Air Lines และบันทึกความฝันในวัยเด็กว่าต้องการเป็นนักบินที่เดียวกับสายการบินนั้นที่เคยทำงานเป็นพนักงานช่วยโหลดกระเป๋าตู้บนเครื่องบิน (ramp agent) เมื่ออายุ 5 ปี ความสนใจของมูตาวัสสิมในการบินเริ่มต้นจากครั้งแรกที่เขาได้ขึ้นเครื่องบินและได้เข้าไปสำรวจห้องคอกพิท (cockpit) บนเครื่องบิน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเขาต้องการเป็นนักบินเสมอ อย่างไรก็ตาม เส้นทางที่นำไปสู่เป้าหมายของเขาเริ่มมีความไม่ชัดเจนขึ้นในบางช่วง เมื่อครูประถมของเขาที่เป็นทหารอากาศสหรัฐ (US Air Force) ให้ข้อมูลที่ผิดพลาดว่าต้องมีสายตาสมบูรณ์เป็นเงื่อนไขหนึ่งในการเป็นนักบิน จึงทำให้มูตาวัสสิมที่ต้องสวมแว่นในช่วงเวลานั้นเขาแทบล้มเลิกความฝันที่จะอยากเป็นนักบิน ดังนั้นหลังจบการศึกษาในระดับมัธยมปลาย มูตาวัสสิมเลือกจะไปเริ่มต้นอาชีพในด้านการกระจายข่าวสารทางสื่อ และได้มีงานทำเป็นบางอย่าง เขามีความสุขกับงานนั้น แต่ก็ยังคงนึกถึงงานที่เกี่ยวข้องกับการบิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความฝันที่จะเป็นนักบินของเขา งานเกี่ยวกับการบินคงจะช่วยเติมเต็มความสุขในชีวิตให้กับเขาได้มากขึ้น แม้ว่าจะไม่ได้เป็นนักบินก็ตาม หลังจากผ่านไปปีหนึ่ง Mutawassim ตัดสินใจเลิกการศึกษาที่มหาวิทยาลัยและเข้าทำงานเป็นพนักงาน Ramp Agent ในการโหลดและขนส่งกระเป๋าเดินทางที่ Delta Air Lines เมื่อปี 2014 ความสนใจของเขาในการบินกลับคืบหน้ามากขึ้น เขาได้ทำงานและเลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็วและได้กลายเป็นผู้ดูแลและผู้สอนให้แก่พนักงานที่ทำงานเกี่ยวกับภาคพื้น แต่เขายังไม่ล้มเลิกในการตามความฝันของเขาที่จะกลายเป็นนักบินในเวลานั้น ชีวิตของ Mutawassim เริ่มเปลี่ยนแปลงในปี 2016 เมื่อเขารู้จัก Ivor Martin ซึ่งเป็นนักบินที่เป็นผู้มีสีผิวดำเช่นเดียวกับเขา มาร์ตินได้เสนอที่จะเป็นที่ปรึกษาให้กับเขาเมื่อเขาได้แชร์เรื่องความฝันอันยาวนานของเขาว่าเขาอยากที่จะเป็นนักบิน ด้วยความสนับสนุนจากมาร์ติน Mutawassim สามารถทำใบอนุญาตขับขี่เครื่องบินได้ในเวลาน้อยกว่าหนึ่งปี (เก่งมาก เร็วมาก) ในปี 2018 เขาเริ่มงานเป็นนักบินสำหรับการบินภูมิภาคและการบินระดับเริ่มต้น ในปี 2022 เขาได้รับโอกาสในการสมัครเป็นนักบินที่ Delta หลังจากทราบว่าบริษัทไม่ต้องการให้นักบินจะต้องเป็นผู้ที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีอีกต่อไป หลังจากเรียนอบรมเพียงไม่กี่เดือน เขาจึงได้กลายเป็นนักบินของ Delta อย่างเป็นทางการ […]

นักบินหญิงในอินเดีย

8 ตุลาคม 2565 รู้หรือไม่ อินเดียมีนักบินผู้หญิงเป็นสัดส่วนมากที่สุดในโลกเลยทีเดียว อินเดียมีนักบินเป็นผู้หญิงถึง 12.4% ซึ่งนับว่ามากกว่าอัตราเฉลี่ยของทั่วโลกถึงสองเท่า ตัวอย่างเช่น แอร์ฟรานซ์มีนักบินหญิงอยู่ประมาณ 7% Lufthasa และ KLM มีเพียง 6%เท่านั้น ของไทยมีเท่าไหร่ไม่ทราบนะครับ ต้องลองถามทาง CAAT ดู สำนักข่าวยูโรนิวส์ออกวิดีโอสัมภาษณ์กัปตัน Zoya กัปตันหญิงของสายการบินแอร์อินเดีย เผื่อจะเป็น inspirations ให้กับน้องๆที่อยากเป็นนักบินลองไปดูกันครับ

1 2 3 12
0
0