Author: Capt.Sopon P.

Wet Wet Wet

Wet Wet Wet พื้นเปียก ก็ลื่นเป็นเรื่องธรรมดา เรามักได้ยินคำว่า  Slippery when wet กันบ่อย ๆ  สนามบินเปียก เรียกว่า Wet Runway พื้นสนามบินเปียกนั้น จึงมีผลทำให้ระบบเบรคมีประสิทธิภาพลดลง บางสนามบินจึงทำพื้น runway ให้เป็นร่องเพื่อรีดน้ำออกได้เร็วขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการเบรคไปด้วยพร้อมกัน เราเรียกพื้นสนามบินแบบนั้นว่า grooved runway (pavement) แต่ก็มีบางกรณีที่ทำให้ระบบเบรคทำงานได้ไม่มีประสิทธภาพเลย พูดง่าย ๆ เบรคจนล้อล๊อคเครื่องบินก็ไม่ลดความเร็ว  ค่อย ๆ อ่านตามไปเรื่อย ๆ ครับ เครื่องบินจะมีระบบป้องกันล้อล๊อค เรียกว่า Anti-Skid System นอกจากช่วยป้องกันล้อล๊อคแล้ว ยังป้องกันการลดความเร็วไม่เท่ากันของล้อที่อยู่คู่กันและทุกล้อที่อยู่ในชุดเดียวกัน (Skidding) ล้อเครื่องบินนั้น เป็นพวงรวมกัน 2-6 ล้อ ต่อหนึ่ง Landing Gear อย่าง B747 จะมี Landing Gear ทั้งหมด 5 พวง 1 ที่ส่วนหน้า (Nose Gear) 4 ที่บริเวณลำตัว (2 Body & 2 Wing Gear) ล้อหน้า Nose Gear มักมี 2 ล้อ และเล็กกว่าล้อที่ช่วงลำตัว ล้อที่ช่วงลำตัวต้องรับน้ำหนักและแรงกระแทกมากจึงมีขนาดใหญ่กว่าและมีจำนวนยางมากกว่า […]

Air Turn Back

Air Turn Back คำว่า Air Turn Back เป็นศัพท์เฉพาะทางการบิน หมายถึง การที่เครื่องบินบินขึ้นไปได้สักพักแล้วมีเหตุจำเป็นต้องกลับมาลงที่สนามบินต้นทางที่วิ่งขึ้น แล้วสาเหตุอะไรบ้างล่ะที่นักบินคิดว่า สมควรกลับไปลงที่สนามบินต้นทางที่เราบินขึ้นมา สาเหตุของ Air Turn Back นั้น ไม่ใช่ว่าจะต้องเป็นเหตุการฉุกเฉินที่มีอันตรายเสมอไปครับ บางครั้ง (ส่วนใหญ่) เป็นเหตุการณ์ที่มีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นกับระบบใดระบบหนึ่งของเครื่องบินที่นักบินวินิจฉัยแล้วว่า การทำการบินไปต่ออาจก่อความยุ่งยากและลำบากในการควบคุมมากขึ้น หรือ ไม่สามารถเดินทางไปถึงจุดหมายได้ โดยเฉพาะเมื่อความผิดปกตินั้นมีความเกี่ยวข้องกับการสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้นในระหว่างทำการบิน หรือทำให้เกิดความขัดข้องของระบบควมคุมอื่นๆ ที่จะทำให้การบริหารจัดการมีความยุ่งยากหรืออาจจะควบคุมไม่ได้ในเวลาต่อมา การ continue flight หรือ discontinue flight นั้นจึงมีปัจจัยที่นักบินต้องคำนึงถึงหลายประการครับ การวิเคราะห์ปัญหาว่า เป็นปัญหาที่มีความฉุกเฉินหรือไม่ ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่นักบินต้องทำการวินิจฉัย และหาข้อสรุปภายในเวลาสั้น ๆ เพื่อทำการตัดสินใจในการแก้ปัญหา ประสบการณ์การบินจึงมีความสำคัญเช่นเดียวกันกับความรู้เกี่ยวกับระบบต่าง ๆ ของเครื่องบินที่เราบินอยู่ การที่เที่ยวบินใดเที่ยวบินหนึ่ง ต้องกลับมาลงที่สนามบินต้นทาง (Air Turn Back) นั้นอย่างที่เขียนไปข้างต้นแล้วว่า อาจจะไม่ใช่เหตุฉุกเฉินเสมอไป แต่เป็นเรื่องการไม่สามารถทำการบินต่อไปถึงที่หมายได้ แต่แน่นอนที่สุดถ้าเป็นเรื่องฉุกเฉิน (Emergency) หลังจากที่เพิ่งวิ่งขึ้นจากสนามบินนั้น ก็อาจจะต้องหาสนามบินลงอย่างเร็วที่สุด ซึ่งอาจจะไม่ใช่สนามบินที่เพิ่งวิ่งขึ้นก็ได้ การที่นักบินจะตัดสินใจว่า ความผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้น เป็น emergency หรือไม่ เป็นเรื่องที่นักบิน ใหม่ ๆ อาจจะตัดสินใจไม่ถูก หรือ คิดไม่ทัน แต่เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น จะเข้าใจเองว่า ถ้าเมื่อเครื่องบินลอยสู่อากาศแล้วนั้น ให้พิจารณาโดยยึดหลัก Airworthiness เป็นสำคัญ คำนี้มีความหมายที่ลึกซึ้ง   […]

Go Around

การที่นักบินตัดสินใจนำเครื่องขึ้นใหม่ทั้งๆที่ในบางครั้งเครื่องบินกำลังจะแตะพื้นหรือแตะพื้นไปแล้วด้วยซ้ำแต่กลับเร่งเครื่องยนต์และเชิดหัวขึ้นใหม่ ภาษาการบินเราเรียกว่า Go-Around  การ Go-Around คือ การที่นักบินพิจารณาดูแล้วว่าหากนำเครื่องบินร่อนลงสนามต่อไป อาจมีความไม่ปลอดภัย ซึ่งปัจจัยต่าง ๆที่ต้องพิจารณามีหลายสาเหตุครับ ทั้งเรื่องของทัศนวิสัยที่ลดลง ความรุนแรงของลมที่กระโชกพัดผ่านเส้นทางที่จะลงสนาม ปัญหาด้านเทคนิคของสนามบินและเครื่องบิน ฯลฯ ซึ่งนักบินจะพิจารณาจาก เครื่องวัดประกอบการบินต่าง ๆการรายงานสภาพอากาศจากหอบังคับการบิน เป็นต้น โดยรวม ๆ ภาษานักบินเราเรียกว่า เกิดสภาพการบินที่มีความไม่แน่นอน (non-stabilize Approach) หรืออาจจะมองไม่เห็นสนามบินเมื่อถึงความสูงต่ำสุดที่สามารถลงไปได้ (Minimum Descend Altitude/Height หรือ Decision Altitude/Height แล้วแต่ชนิดของการลงสนาม) จึงต้องทำการตัดสินใจนำเครื่องบินขึ้นอีกครั้งเพื่อเริ่มต้นใหม่จึงเป็นทางออกที่ดีกว่า เพื่อความมั่นใจว่าทุกคนบนเครื่องบินปลอดภัยครับ ทุก ๆ Landing คือ การเตรียม Go-Around เรื่องการบินเป็นเรื่องของการคิดถึง worst case scenario มีหลักและกฏเกณฑ์ที่เป็นตัวชี้วัดต่าง ๆ ว่า ณ เวลานั้น ๆ เครื่องบินมีความเสี่ยงที่ทำให้ความปลอดภัยถูกลดลงไปหรือไม่ ตัวอย่างเช่น เวลาร่อนลงสนาม Approach to Land ช่วงของการลงสนามถือเป็นช่วงที่นักบินมี high workload สูงที่สุดเมื่อเทียบกับเฟสอื่น ๆ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดเพราะตัวคน ก็ย่อมมีมากไปด้วย การลงสนามก็ต้องใช้ทักษะ ความสามารถในการบังคับเครื่องบินมากกว่าช่วงอื่น ๆ ด้วย หากมีตัวแปรอื่น ๆ เข้ามาร่วมด้วย เช่น ฝนตก มีกระแสลมแรง การบังคับเครื่องบินก็จะยิ่งมีความยากเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ดังนั้น […]

“หยุดหรือไป ดีกว่ากัน”

“หยุดหรือไป ดีกว่ากัน” พูดถึงการ takeoff จาก runway มีหลายกรณีที่นักบินเห็นว่า การนำเครื่องบินขึ้นบินไปบนฟ้าจะทำให้เกิดสถานการณ์ที่มีความยากลำบากมากขึ้น ถ้าฝืน เครื่องบินอาจจะลอยบนอากาศไม่ได้หรือ การจะพามาลงสนามได้ก็ต้องพามาอย่างทุลักทุเล จึงสมควรยกเลิกการวิ่งขึ้นดีกว่า ถ้าฝืนวิ่งขึ้นต่อไปอาจจะเป็นอันตราย ศัพท์ทางการบินเรียกการตัดสินใจยกเลิกการวิ่งขึ้นจากทางวิ่งว่าการ “Abort Takeoff” เนื่องจากเครื่องบินมีการเคลื่อนตัวไปข้างหน้าแล้ว มีความเร็วมากขึ้นแล้ว เมื่อตัดสินใจ Abort Takeoff สิ่งที่เกิดขึ้นคือ นักบินจะต้องรีบทำการลดความเร็วของเครื่องบินให้อยู่ในช่วงที่มีความปลอดภัยให้เร็วที่สุด และระบบ Autobrake (ซึ่งจะต้อง ARMED ไว้ทุก ๆ การวิ่งขึ้น) จะทำงานเต็มที่ (MAX AUTOBRAKE) ภาษาแบบรถยนต์คือ กระทืบเบรคมิด Note: ARMED หมายถึง การเตรียมพร้อมเข้าทำงานเมื่อมีสัญญาณบอกให้ทำเพราะว่าความเร็วสูง ระยะทางที่เหลือของ runway ย่อมเหลือน้อย จึงต้องรีบลดความเร็วของเครื่องบินอย่างเร็วที่สุดเพื่อให้เครื่องบินหยุดนิ่งอยู่บนพื้นทางวิ่งด้วยระยะเบรคน้อยที่สุด ดังนั้นสิ่งที่ตามมาก็คือ การกระชาก เนื่องจากการลดความเร็วแบบกระทันหัน อันตรายอาจเกิดขึ้นได้ง่ายในช่วงนี้นักบินมีวิธีคิดครับว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนั้นควรหยุดหรือควรไปต่อ โดยอาศัยค่าความเร็วค่าหนึ่งที่เรียกว่า Critical Speed หรือ Decision Speed มีชื่อย่อว่า V1 ถ้าขณะที่เกิดเหตุการณ์ผิดปกติเครื่องบินมีความเร็วต่ำกว่า V1 นักบินจะตัดสินใจยกเลิกการวิ่งขึ้น (Abort Takeoff) แต่ถ้าความเร็วขณะนั้น เกินค่า V1 ไปแล้ว นักบินจะนำเครื่องบินให้เพิ่มความเร็วต่อไป (Continue Takeoff) จนมีความเร็วที่จะสามารถลอยขึ้นไปบนอากาศได้จึงจะเชิดหัวเครื่องบินขึ้น เราเรียกความเร็วนั้นว่า Vr หรือ Rotation Speed ถามว่าเมื่อเครื่องบินมีความผิดปกติเกิดขึ้นระหว่างที่กำลังวิ่งขึ้น […]

Takeoff vs. landing (อีกที)

Takeoff vs. landing (อีกที) ผมเขียนคร่าวๆ ในตอนแรกไปแล้วเกี่ยวกับการ Landing ในทางเทคนิคการ takeoff ง่ายกว่าการ Landing มาก โดยเฉพาะตอนที่อากาศดี ๆ เครื่องบินทำงานสมบูรณ์ไม่บกพร่อง แต่ทางกลับกันช่วง Takeoff กลับมีความเสี่ยงสูงกว่าช่วง Landing มาก เอ๊ะมันยังไง ลองอ่านกันดูครับ การ Takeoff ที่ว่ามีความเสี่ยงสูงกว่า หมายถึงอัตราเสี่ยงกรณีที่เกิดความผิดปกติระหว่างทำการบิน มีโอกาสเกิดปัญหาและมีความรุนแรงของปัญหามากกว่า ด้วยปัจจัยหลายประการ ดังนี้ 1. น้ำหนักเครื่องบินมาก เพราะบรรทุกน้ำมันเต็มพิกัดสำหรับการบินเดินทางไปจุดหมาย ตัวอย่างเช่น B747 จากกรุงเทพฯ ไป ลอนดอน ตอนวิ่งขึ้นน้ำหนักรวมถึง 380 ตัน เมื่อถึงที่ลอนดอนน้ำมันถูกใช้ไป 130 ตัน เหลือน้ำหนักรวมเพียง 240-250 ตัน เป็นต้น 2. เครื่องยนต์ของเครื่องบินทำงานเกือบหรือเต็มอัตรากำลังที่มีอยู่เพื่อนำเครื่องบินทะยานขึ้นไปบนอากาศ ทำให้โอกาสที่เครื่องยนต์จะพังในช่วงนี้ก็มีมากขึ้น (ด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เครื่องยนต์ Jet Engine มีผลกระทบน้อยกว่า เครื่องยนต์ Turbo Prop หรือ เครื่องยนต์แบบลูกสูบธรรมดา ในช่วงที่รันเต็มกำลัง) 3. ความเร็วของเครื่องบินสูงกว่าตอนร่อนลงจอดมาก เพราะเครื่องบินมีน้ำหนักมากการทะยานขึ้นฟ้าต้องใช้แรงยกตัวมาก จึงต้องการความเร็วสูงเพื่อสร้างแรงยกมากตามไปด้วย ช่วงร่อนลงจะมีความเร็วต่ำกว่าช่วงขึ้นเพราะมีการเพิ่มพื้นที่ผิวของปีกเพื่อเพิ่มแรงยกให้เครื่องบิน บินที่ความเร็วต่ำได้ แต่พื้นที่ปีกนี้จะไม่ใช้สำหรับช่วงวิ่งขึ้น เพราะมันเป็นการเพิ่มแรงเสียดทานหรือลดประสิทธิภาพในการเพิ่มความเร็ว ทางเทคนิค เรียกว่า Drag 4. นักบินมีเวลาน้อยในการแก้ไขปัญหา  ช่วงของการเพิ่มความเร็ว […]

0
0