ในวันที่เครื่องบินไม่ได้อยู่บนฟ้า

การคิดหรือพิจารณาค่าใช้จ่ายของสายการบินนั้นมีวิธีคิดหรือแบ่งกลุ่มค่าใช้จ่ายได้หลายแบบหลายวิธีแล้วแต่หลักเกณฑ์หรือเป้าหมายของการพิจารณางบการเงินว่าต้องการให้สะท้อนถึงประสิทธิภาพตามที่เราตั้งเป้าหมายอย่างไร

จริงๆแล้วจะมีวิธี grouping ค่าใช้จ่ายหลายแบบครับ
ผมขอยกตัวอย่างการคิดค่าใช้จ่ายของสายการบินโดยการแบ่งกลุ่มค่าใช้จ่ายตาม ฟังก์ชั่นเพื่อให้เกิดความเข้าใจภาพของกิจกรรมต่างๆของสายการบินกันก่อน

Aircraft operating costs – หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวกับการที่เครื่องบินทำการบิน ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าซ่อมบำรุง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับนักบินและช่าง

Aircraft servicing costs – หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวกับการบริการที่ทำให้เครื่องบินขึ้นบินเช่น aircraft ground handling ทั้งหมด รวมถึง landing fees ด้วย

Traffic service costs – อันนี้คือ ค่าใช้จ่ายต่างๆในการจัดการเกี่ยวกับผู้โดยสาร ซึ่งรวมถึงสัมภาระและการขนส่งสินค้าทางอากาศด้วย

Passenger service costs – จะรวมถึง ค่าอาหารและบริการต่างๆบนเครื่องบินและอาจรวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับลูกเรือด้วย

Reservation and Sales costs – อันนี้ก็ตรงๆตัวไปตามความหมายเลย แต่อาจจะรวมค่าคอมมิชชั่นที่จะต้องจ่ายให้กับเอเจนซี่
Airline reservations and ticket offices, travel agency commissions 

Other costs, including – ค่าใช้จ่ายอื่นๆและรวมถึงค่าโฆษณา
Advertising and publicity expense – General and administrative expense

ทีนี้เรามาจัดกลุ่มให้เหลือน้อยลงอีกเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นโดย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ตามนี้ครับ

Flight, Ground และ Service

FLIGHT (DIRECT) OPERATING COSTS (DOC) 
• All costs related to aircraft flying operations
• Include pilots, fuel, maintenance, and aircraft ownership

GROUND OPERATING COSTS
 Servicing of passengers and aircraft at airport stations
• Includes aircraft landing fees and reservations/sales charges

SYSTEM OPERATING COSTS
• Marketing, administrative and general overhead items
• Includes in-flight services and ground equipment ownership

การแบ่งกลุ่มแบบหลังนี้จะทำให้เห็นภาพชัดๆมากขึ้นว่าธุรกิจสายการบินค่าใช้จ่ายหลักๆ อยู่ตรงไหนอย่างไรและสัดส่วนของค่าใช้จ่ายของสายการบินโดยสถิติ (ของอเมริกา) นั้นอยู่ที่

พฤติกรรมที่ทำร้ายตับ ตับแข็ง มะเร็งตับ

ครึ่งหนึ่ง คือ 50% เป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของ Flight Operating Cost เช่น

ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าซ่อมบำรุงเครื่องบิน ค่าเช่าเครื่องบิน ค่าจ้างนักบิน

อีก 30% อยู่ที่ GROUND OPERATING COSTS 

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานภาคพื้น ค่าบริการผู้โดยสาร รวมถึงพนักงานภาคพื้น

และส่วนที่เหลือเป็น SYSTEM OPERATING COSTS ที่ 20% 

ออฟฟิศ มาร์เก็ตติ้ง เกี่ยวกับอุปกรณ์ค่าเช่าใช้บริการต่างๆ

จากที่เขียนอธิบายมาทั้งหมด เรามาดูข้อมูลที่มีคนทำไว้ในการสัมมนาขององค์การการบินระหว่างประเทศ หรือ ICAO

เราเจาะไปที่ FOC หรือ Flight Operating Cost ของเครื่องบินแต่ละแบบกันดูครับ
ข้อมูลสองปีกว่าแล้ว และเป็นข้อมูลของสายการบินในสหรัฐอเมริกา ปี 2017 ไม่ใช่ข้อมูลของประเทศไทยนะครับ เอามาให้ดูเป็นไอเดียเพื่อให้เข้าใจภาพรวมๆ และขอเอาตัวอย่างเครื่องบินเพียงสองแบบ คือ A320 และ B747-400

https://www.wongnai.com/restaurants/simplebistro

Airbus A320 จำนวน 148 ที่นั่ง
FOC ต่อ block-hr คือ 2270 USD ถ้าเฉลี่ยเป็นต่อหนึ่งที่นั่งก็ 15.33 USD โดยมีอัตราการใช้งานเครื่องบินต่อวันอยู่ที่ 11.7 ชั่วโมงต่อวัน
จากค่านี้ หากเพิ่มจำนวนที่นั่งเข้าไป ต้นทุน FOC ต่อ block-hr ที่เท่าเดิม (จริงเท่าเดิมไม่ได้ แต่เพิ่มขึ้นนิดหน่อย) แต่เมื่อหารด้วยตัวเลขที่มากขึ้น ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อที่นั่งก็จะต่ำลง เช่น เครื่องบิน A320 นั้นน่าจะจัดที่นั่งได้ถึง 180 ที่นั่ง


Boeing 747-400 จำนวน 375 ที่นั่ง
FOC ต่อ block-hr คือ 6455 USD ถ้าเฉลี่ยเป็นต่อหนึ่งที่นั่งก็ 17.21 USD โดยมีอัตราการใช้งานเครื่องบินต่อวันอยู่ที่ 12.4 ชั่วโมงต่อวัน

การคำนวณตัวเลขออกมาให้เห็นภาพแบบนี้ ก็จะทำให้เราสามารถประเมินเรื่องของความคุ้มค่าต่อการวางหรือกำหนดเส้นทางบินและอัตราการขนส่งที่มีโอกาสทำให้เกิดความคุ้มทุนในการปฏิบัติการบินได้

https://www.facebook.com/aPilotBook

แล้วหากเครื่องบินไม่ได้ขึ้นบินล่ะ 

การคิดตัวเลขค่าใช้จ่ายนั้นจะเห็นเรื่องที่ต้องจ่ายออกมาได้ง่ายๆหลายประเด็น เช่น  
ค่าเช่าเครื่องบิน เช่ามาเพื่อใช้บิน แต่เอาขึ้นไปทำเงินไม่ได้ หรือขึ้นได้แต่ไม่มีผู้โดยสาร รายได้ไม่คุ้มค่าน้ำมัน รวมถึงค่าเช่าอะไหล่ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องบิน ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นเงินค่อนข้างสูง ตามสัญญาเช่าที่ถืออยู่และก็ต้องแล้วแต่ลักษณะสัญญาที่ได้ตกลงทำกันไว้ด้วย เพราะสัญญาเช่าก็มีหลายแบบ

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเช่าอุปกรณ์อื่นๆทุกประเภท
ทุกอย่างต้องจ่าย ตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของสัญญาเช่าอีกเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นการเช่าและจ่ายเมื่อใช้ในของบางประเภท หากไม่ใช่ก็ไม่ต้องจ่าย เช่น การใช้รถบัสขนส่งคน การใช้รถดันเครื่องบิน คือ ส่วนนี้ถ้าเป็นการจ้าง subcontract มาให้บริการ ภาระเรื่องค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์และเงินเดือนพนักงานก็จะไปตกอยู่กับบริษัทที่รับดำเนินการต่อ สายการบินก็ปวดหัวน้อยลง แต่ภาระคือพวกรับช่วง

ค่าเช่าออฟฟิศ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าระบบต่างๆ ค่าจ้างพนักงาน ค่าประกันภัย ฯลฯ

สายการบินจะยืนระยะอยู่ได้นานเท่าไหร่หากเครื่องบินไม่ได้ขึ้นบิน
ขาดรายได้ ได้นานกี่เดือน ตรงนี้ขึ้นอยู่กับโมเดลและความสามารถของผู้บริหารธุรกิจแล้วครับ และสิ่งสำคัญที่สุดคือการทำ business continuity management ของธุรกิจแอร์ไลน์ ก็คือ คน

ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของธุรกิจการบิน คือ คน

เมื่อไหร่ก็ตามที่คนในองค์กรช่วยกันทำให้บริษัทอยู่รอด 
บริษัทก็จะอยู่รอด มันสำคัญตรงที่ว่า

ทำยังไงล่ะ เท่านั้นเองครับ

เราลองเฝ้าจับตาดู การกลับมาของ สายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิก กันครับ
ผมเชื่อว่า เค้าจะกลับมาได้ในทันทีที่ปัญหาภายในประเทศและปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ลดลง

อ่านคาเธ่ย์ขอให้พนักงาน 27000 คนลางานโดยไม่จ่ายเงินเดือน จาก Brand inside

ขอบคุณข้อมูลจาก: ICAO airline operating cost, SCMP, Brand inside

https://www.youtube.com/c/SoponPhikanesuan

มาเรีย โอซาว่า

Demo Slot Here

Tags:

Comments are closed
0
0